วันพุธ, มกราคม 06, 2559

คดีเกาะเต่ากระพืออีกครั้ง หลังจากเครือข่าย ‘นิรนาม’ ประกาศชักชวนทั่วโลกบอยคอตประเทศไทย





ถึงอย่างไรก็จบไม่ลง แล้วเขาไม่รอขั้นอุทธรณ์-ฎีกา เสียด้วย

คดีเกาะเต่ากระพืออีกครั้ง หลังจากเครือข่าย ‘นิรนาม’ ประกาศชักชวนทั่วโลกบอยคอตประเทศไทย

วันนี้ หนังสือพิมพ์ซิดนี่ย์มอร์นิ่งเฮรัลด์ รายงานบทความของลินเซย์ เมอร์ด็อค แห่งแฟร์แฟ็กมีเดีย อ้างถึงความเห็นของ เจน ทอปิน นักวิทยาศาสตร์การชันสูตรชาวออสเตรเลีย ผู้ที่เดินทางไปประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมเพื่อเป็นพยานทางนิติเวชวิทยา แต่ศาลไม่เรียกไปให้การ

อย่างไรก็ดี แพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ให้การต่อศาลว่า การเก็บหลักฐานดีเอ็นเอของตำรวจในคดีฆาตกรรมนางสาวแฮนนาห์ วิตเทอริดจ์ กับนายเดวิด มิลเลอร์ สองนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คเกอร์ชาวอังกฤษ เมื่อกลางเดือนกันยายน ๒๕๕๗ นั้น “ไม่ถูกต้องตามหลักการวิทยาศาสตร์ชันสูตร”




นางทอปิน ซึ่งให้คำปรึกษาทางนิติเวชวิทยาแก่ทางการออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ผู้ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นทางด้านนิติเวชหลายรางวัล พิจารณาหลักฐานดีเอ็นเอในคดีเกาะเต่านี้แล้วพบว่า ปราศจากรายงานวิธีการจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย การตรวจสอบ และรักษาตัวอย่างดีเอ็นเอ ยื่นให้แก่ศาลดังระเบียบปฏิบัติที่ทำกันในสหรัฐและสหราชอาณาจักร

“อัยการยื่นเอกสารหน้าเดียวที่เป็นผลการทดสอบดีเอ็นเอ ซึ่งบางส่วนเป็นลายมือเขียน บางส่วนขีดฆ่าและแก้ไข กับมีเอกสารประกอบอีกสี่หน้า” นางทัพปินกล่าวด้วยว่าสำนวนรายงานการทดสอบทางนิติเวชของตำรวจ ควรที่จะแสดงความต่อเนื่องของหลักฐาน และมีความสมเหตุสมผลทางวิทยาศาสตร์

“ปราศจากสิ่งเหล่านี้ ผลการตรวจสอบจะอยู่ในวงจำกัด และไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานได้โดยตัวของมันเอง”

นายแอนดี้ ฮอล นักกิจกรรมเพื่อผู้อพยพซึ่งช่วยให้คำปรึกษาแก่จำเลย ยืนยันว่าไม่มีการยื่นเอกสารแก่ศาลที่อธิบายกรรมวิธีการจัดเก็บดีเอ็นเอแต่อย่างใด แล้วยัง “ไม่มีสถิติความน่าจะเป็นในการเปรียบเทียบดีเอ็นเอ กับทั้งไม่มีเอกสารอธิบายหลักการสนับสนุนข้อสรุปเกี่ยวกับดีเอ็นเอใดๆ”

(http://www.smh.com.au/…/australian-scientist-jane-taupin-qu…)

อาจกล่าวได้ว่าตำรวจใช้ ‘มโน’ ล้วนๆ ในการอ้างผลตรวจสอบเทียบเคียงดีเอ็นเอของผู้ตายกับผู้ต้องหา

ในแถลงการณ์อย่างละเอียดและยืดยาวต่อการตัดสินคดีเกาะเต่าของเครือข่าย Anonymous นอกจากอ้างคดีต่างๆ ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตอย่างปริศนาก่อนหน้าแฮนนาห์และเดวิด อย่างน้อย ๓ คดี ได้แก่

การเสียชีวิตของเชอรี่ แม็คฟาร์เลน กับเคลวิน บอร์ก ชายคนรักของเธอ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ มีลักษณะคล้ายกับคดีเกาะเต่าอย่างยิ่ง

ต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เคิร์สตี้ โจนส์ ถูกข่มขืนและฆ่าที่เชียงใหม่ ซึ่งทางการไทยจับแพะกะเหรี่ยงมาคนหนึ่ง พอหลังจากที่แม่ผู้ตายด้วยความร่วมมือของตำรวจอังกฤษเสนอหลักฐานดีเอ็นเอว่าเป็นของชายไทย กะเหรี่ยงเลยรอดตาย แต่ตำรวจก็ไม่สามารถจับตัวคนร้ายไทยได้เช่นกัน

แถลงการณ์นิรนาม (http://pastebin.com/biJLFVyh) กล่าวว่าคดีเกาะเต่านี้มีผู้ต้องสงสัยแรกเริ่มเป็นชาวไทยสองคน คือน้องชายและลูกชายของผู้ใหญ่บ้านที่มีอิทธิพลบนเกาะ

โดยเฉพาะตัวน้องชายเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุตอนเช้าตรู่ ครั้นเมื่อตำรวจเข้าไปรวบรวมหลักฐาน ปรากฏว่ากระโปรงสีขาวของแฮนนาห์หายไป และมีเสื้อผ้ากับรองเท้าของผู้ตายทั้งสองกองอยู่บนโขดหินอย่างเป็นระเบียบ

อะนอนีมัสยังอ้างถึงคดีอึมครึมที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตในไทยอีกหลายราย รวมทั้งนิค เพียร์สัน วัย ๒๕ ปี ที่ร่างไร้วิญญานของเขาลอยขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๗ ตรงบริเวณหาดที่แฮนนาห์และเดวิดถูกฆ่า

กับคดีของคริสติน่า แอนเนสลี่ย์ สาวแบ็คแพ็กเกอร์วัย ๒๓ ปี นอนตายจมกองเลือดในห้องเช่าบนเกาะเต่าที่น้องชายผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าของเมื่อต้นปี ๕๘ ซึ่งตำรวจไทยอ้างว่า “เสียชีวิตโดยธรรมชาติ”

แล้วยังมีดิมิตริ พ็อฟซี วัย ๒๙ ปีจากฝรั่งเศส ที่ตำรวจรายงานว่าผูกคอตาย แต่ตอนที่ไปพบศพห้อยบนขื่อบังกาโลห้องเช่า มือของเขาถูกมัดไพล่หลัง

นอกเหนือจากนี้อะนอนีมัสยังเอ่ยถึงคำให้สัมภาษณ์ของฌอน แม็คแอนนา เพื่อนชาวอังกฤษของแฮนนาห์และเดวิดที่บอกว่ามาเฟียบนเกาะเต่าพยายามที่จะให้เขาเป็นแพะรับบาป

อีกทั้งข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ทางการไทยละเลยที่ใช้เป็นเบาะแสหาความจริงก็คือ

เมื่อพบร่างเปลือยไร้วิญญานของแฮนน่าห์บนหาดติดน้ำนั้น มือของเธอกำปอยผมสีทองบลอนด์เอาไว้ และบนอกของเธอมีคราบดีเอ็นเอของบุคคลที่สาม

เช่นนี้ไม่ว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนที่ไหนในโลกย่อมต้องสาวไปให้ถึงผู้เป็นเจ้าของผม และดีเอ็นเอที่สามนั้น แต่ทางการไทยกลับไม่สนใจเพราะต้องการที่จะชี้ผิดแก่แพะชาวพม่าผมดำสองคนเป็นสำคัญ

เหล่านี้ทำให้เครือข่ายนิรนามสรุปว่า อย่างเบาะๆ ที่สุดเรียกได้เลยว่าการดำเนินคดีของตำรวจไทยไร้ประสิทธิภาพ และไม่เชื่อว่าสองหม่องที่ศาลไทยตัดสินให้ประหารชีวิตนั้นเป็นผู้กระทำผิดจริง

จึงแนะนำชาวต่างชาติทั้งหลายอย่างได้ตั้งเป้าหมายเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศไทย และสนับสนุนการบอยคอตประเทศไทย จนกว่าทางการตำรวจจะได้เปลี่ยนแปลงการทำคดีที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียใหม่




ล่าสุดอะนอนีมัสเปิดเผยอีเมลต่างๆ ของทางการตำรวจไทย เพื่อให้สมาชิกเครือข่ายระดมส่งจดหมายอีเล็คโทรนิคไปร้องเรียน นอกจากนั้นยังมีการรณรงค์รวบรวมรายชื่อสนับสนุนการประท้วงคำตัดสินคดีเกาะเต่าของไทย ทางchange.org อีกด้วย




ooo


Andrew MacGregor Marshall added 7 new photos — 
at Embassy of Thailand, London.


Protest outside the Thai embassy in London on Monday over the guilty verdict and death penalty for two Myanmar migrant workers wrongly convicted of the murder of British tourists David Miller and Hannah Witheridge on Koh Tao.









Source: Andrew MacGregor Marshall's FB