วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 13, 2567

สิ้นสุดการรับฟังความเห็นที่มีต่อร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ล่าสุด ผลสัดส่วนเสียงที่มีต่อร่างฯ อย่างไม่เป็นทางการ ✅เสียงเห็นด้วย - 34.89% ❌เสียงไม่เห็นด้วย - 65.11% แต่ เว็บไซต์รัฐสภาฯ ในการรับฟังความเห็นร่างฯ นิรโทษกรรมประชาชน มีพิรุจหลายประการ



ผู้เข้าชมการให้ความเห็นร่างฯ - 353,889 ครั้ง
ผู้ให้ความเห็นต่อร่างฯ - 89,393 คน
เป็นเสียงเห็นด้วย - 34.89%
เป็นเสียงไม่เห็นด้วย - 65.11%
.....
รายงานความผิดปกติของเว็บไซต์รัฐสภาฯ ในการรับฟังความเห็นร่างฯ นิรโทษกรรมประชาชน




12/06/2567
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

หลังจากรัฐสภาฯ ได้เปิดรับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 โดยเปิดรับความเห็นเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. – 12 มิ.ย. 2567 ซึ่งวันนี้ดำเนินเข้าสู่วันสุดท้ายแล้ว แต่ประชาชนจำนวนมากได้มีเสียงสะท้อนกลับมาว่าพบปัญหาและข้อน่าสงสัยหลายอย่าง ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไข นั่นทำให้ประชาชนเกิดคำถามถึงความโปร่งใสในการรับฟังความเห็นที่มีต่อร่างกฎหมายครั้งนี้

ปัญหาที่ 1 ประชาชนหลายรายแจ้งว่า กรอกให้ความคิดเห็นครบทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อกดส่งคำตอบกลับเกิดความผิดพลาด ส่งคำตอบไม่สำเร็จ โดยหากส่งคำตอบสำเร็จระบบจะแสดงสัญลักษณ์เช็กถูกสีเขียวและข้อความขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็น

ปัญหานี้แม้ว่าประชาชนจะพยายามให้ความเห็นอีกหลายครั้ง แต่ก็ยังส่งคำตอบไม่สำเร็จอีกเช่นเดียวกัน บางรายต้องส่งคำตอบมากถึง 6-7 ครั้ง จึงจะส่งคำตอบสำเร็จ

คำแนะนำเบื้องต้น ให้ลองเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ให้ความเห็น เช่น เปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คแทน รวมถึงอาจลองเปลี่ยนบราวเซอร์เป็น Chrome หรือ Google Explore
พิมพ์คำตอบของตัวเองไว้ในแอปพลิเคชัน Note หรือ Google Docs ก่อนเพื่อป้องกันคำตอบสูญหายไปกับระบบเว็บไซต์ที่ไม่มีความเสถียร

ปัญหาข้อที่ 2 – ประชาชนหลายรายแจ้งอีกว่า เพียงกดเลือกคำตอบสุดท้ายที่มี 3 ตัวเลือกให้เลือกตอบ คือ เห็นด้วย – ไม่เห็นด้วย – งดออกเสียง เพียงข้อเดียว จากนั้นกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนก็สามารถให้ความเห็นสำเร็จแล้ว โดยไม่ต้องตอบให้ความเห็นทั้งพาร์ทที่ 1 (ข้อมูลทั่วไป) และพาร์ทที่ 2 (ประเด็นรับฟังความเห็น) แต่อย่างใด

ทั้งนี้ ไม่ทราบว่าปัญหาของระบบที่เป็นเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด และอาจกลายเป็นช่องว่างของระบบเว็บไซต์ที่ไม่เสถียร ให้มีผู้นำเลขบัตรประชาชนของบุคคลอื่นมาแสดงความคิดเห็นได้

คำแนะนำเบื้องต้น เบื้องต้นยังไม่ทราบวิธีแก้ไข แต่แนะนำว่า ก่อนกดส่งคำตอบควรจะให้ความเห็นก่อนให้ครบถ้วนทุกข้อ ไม่เลือกตอบเพียงคำถามสุดท้ายและกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนแล้วจึงกดส่งคำตอบ ไม่เช่นนั้นจะทำให้เสียสิทธิในการให้ความเห็นต่อประเด็นสำคัญเกี่ยวกับร่างฯ เนื่องจากเว็บไซต์รัฐสภาฯ สงวนสิทธิ์ให้ผู้มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 1 คน ให้ความเห็นได้เพียง 1 ครั้ง

ข้อน่าสังเกตที่ 1

เว็บไซต์รับฟังความคิดเห็นของรัฐสภาฯ ไม่ได้มีขั้นตอนยืนยันตัวตนแต่อย่างใด เช่น การยืนยันตัวตนผ่าน SMS, การอัปโหลดเอกสารสำคัญเกี่ยวกับตัวตน หรือการยืนยันตัวตนว่าไม่ใช่ Robot ด้วยระบบ CAPTCHA ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการเข้าสู่ระบบดิจิทัลจากระยะไกล

นั่นทำให้ประชาชนบางรายตั้งคำถามและตั้งข้อสังเกตว่า ช่องว่างนี้อาจทำให้มีการลักลอบป้อนคำสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานผิดเพี้ยนไป เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มสัดส่วนเสียง ‘เห็นด้วย’ หรือ ‘ไม่เห็นด้วย’ ให้เพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่ต้องอาศัยการให้ความคิดเห็นของประชาชนจริง ๆ ก็เป็นได้

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่าทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ควรตรวจสอบระบบเว็บไซต์ในการรับฟังความคิดเห็น ให้มีความรัดกุมกว่าที่เป็นอยู่ และป้องกันการนำข้อมูลของบุคคลอื่นมาแสดงความคิดเห็นในร่างกฎหมายฉบับต่าง ๆ ในอนาคตอีกด้วย

หมายเหตุ : หากประชาชนพบปัญหาเกี่ยวกับการให้ความเห็นเรื่องใดอีก สามารถแจ้งไปได้โดยตรงที่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โทร 02 2425900 ต่อ 1773

อ่านบนเว็บไซต์ : (https://tlhr2014.com/archives/67849)

.....
Atukkit Sawangsuk
15 hours ago
·
มิตรสหายบางท่าน
เข้าไปแสดงความคิดเห็น พรบ.นิรโทษกรรมแล้วระบบไม่รับ
บอกว่าเกิดความผิดพลาด
เขาทำซ้ำๆ หลายครั้งไม่สำเร็จ
:
ผมแสดงความคิดเห็นไปแล้วเมื่อวาน
วันนี้ลองทำซ้ำ โดยใช้เลขบัตรเดิม
ระบบก็ปฏิเสธ บอกว่าเกิดความผิดพลาด
:
แสดงว่า
1.โอเค ระบบของเว็บรัฐสภาสามารถปฏิเสธไม่ให้โหวตซ้ำเมื่อใช้เลขบัตรประชาชนเดียวกัน
แต่ 2.ระบบรู้ได้อย่างไรว่าผู้โหวตเป็นเจ้าของเลขบัตรประชาชนนั้นจริง
คนกรอกความเห็นอาจสุ่มเลขบัตรคนอื่นมาใช้ก็ได้
:
เช่นกรณีที่มิตรสหายเจอ
เขาขอตรวจสอบได้ไหมว่า มีคนใช้เลขบัตรเขาโหวตไปแล้วหรือเปล่า
:
มันอาจเป็นช่องโหว่ให้ IO โหวตซ้ำๆ ไปทางใดทางหนึ่ง ซึ่งง่ายมาก เพราะคนไทยมีเกือบ 70 ล้าน สุ่มเลขบัตรมาใช้โหวตแค่ 3-4 หมื่น
รัฐสภาจะเปิดเผยเลขบัตรผู้โหวตไหม คงไม่เปิด เพราะคงสงวนเป็นความลับ
ต่างกับคนลงชื่อเสนอกฎหมายซึ่งต้องเปิดเผยทั้งชื่อและเลขบัตร