วันเสาร์, เมษายน 13, 2567

11 Fight 11


Royal World Thailand - รอยัล เวิลด์ ประเทศไทย added a new photo to the album: THAILAND -​ ไทย.
August 16, 2023
·
เรียกได้ว่ายังเป็นกระแสและถูกพูดถึงอยู่ในเวลานี้ แม้คุณอ้น-วัชเรศร และคุณอ่อง-จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ได้เดินทางกลับสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังกลับมาเยือนประเทศไทยและพำนักเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งการกลับมาของพี่น้องบ้านวิวัชรวงศ์นี้ ได้ทิ้งปริศนาอันนำมาซึ่งข้อถกเถียงมากมาย ว่าการกลับมาคราวนี้มีสัญญาณหรือนัยยะสำคัญอันใดหรือไม่ และอนาคตของราชสำนักจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นของพระรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ที่ยังไม่มีการสถาปนา
แน่นอนว่า หลายคนมองว่าการพูดถึงเรื่องรัชทายาทในอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะถูกมองว่ามีเจตนาก้าวก่ายพระบรมราชวินิจฉัย หรืออาจถึงขั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากแต่เป็นยังเรื่องที่ประชาชนจากทั้งกลุ่มที่จงรักภักดี และกลุ่มที่ไม่นิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังหยิบยกขึ้นมาตั้งประเด็นกันในวงสนทนากันหลายครั้งหลายหน เนื่องจากเป็นเรื่องของอนาคตราชสำนักและประเทศชาติ
โดยเฉพาะเมื่อคุณอ้นได้กลับมาเดบิวต์ใหม่อย่างไม่เป็นทางการแล้วนั้น จึงมีการตั้งประเด็นสำหรับอนาคตของพระราชสำนักว่า แนวโน้มของการขึ้นสู่ตำแหน่งพระรัชทายาทจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยมีการคาดการณ์กันไว้หรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ ยังมีเพียงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในฐานะพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวที่ดำรงพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์
ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการการสืบราชสันตติวงศ์ในราชสำนักไทยนั้น ไม่เหมือนกับราชสำนักอื่นที่มีการวางองค์รัชทายาทลำดับที่ 1 2 3 หากแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระรัชทายาทเพียงพระองค์เดียว ซึ่งส่วนใหญ่คือพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ทั้งนี้ หากพระรัชทายาทหาพระองค์​ไม่แล้ว จึงจะมีการสถาปนาเลือกพระองค์ใหม่อีกครั้ง เช่นอาจทรงเลือกพระราชโอรสพระองค์รองลงมา เป็น​ต้น
ด้วยขณะนี้ ยังไม่มีการสถาปนาพระองค์ใดขึ้นเป็นพระรัชทายาท อีกทั้งความเป็นไปได้มากที่สุดตกอยู่ที่สมเด็จเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ ที่ดำรงพระอิสริยยศเพียงพระองค์เดียวในหมู่พระราชโอรสทั้ง 5 ด้วยทูลกระหม่อมชายยังมีพระชันษาเพียง 18 ปี อาจรออีกสองปีหลังทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจนถึงเวลานั้น ทูลกระหม่อมชายจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระยุพราชหรือไม่ ดังเช่นทูลกระหม่อมพ่อที่ทรงรับการสถาปนาเมื่อทรงเจริญพระชนมายุ 20 พรรษาเช่นกัน
ทั้งนี้ การกลับมาของพระราชโอรส “ไกลต้น” ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามุมมองเรื่องพระรัชทายาทของหลายๆคนเปลี่ยนไป เนื่องจากพระราชสำนักขาดพลังงานและประสิทธิภาพไปพอสมควร ด้วยมีเจ้านาย​น้อยพระองค์​ที่ทรงแอคทีฟในการทรงงานและผดุงพระเกียรติยศแห่งราชสำนัก
โดยเฉพาะตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงพระประชวร ทำให้ราชสำนักถูกมองว่าร่อยหรอลงไปมาก เนื่องจากทรงเป็นพระบรมวงศ์ที่ทรงแอคทีฟและทรงเป็นเดอะแบกองค์สำคัญของพระราชสำนัก อีกทั้งทรงถูกมองจากบุคคลหลายฝ่ายว่ามีสิทธิ์เป็นรัชทายาทหญิงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ถึงแม้จะขัดต่อกฎมณเฑียรบาล มาตราที่ 13 ที่ห้ามมิให้สถาปนาราชนารีขึ้นเป็นพระรัชทายาท
อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับในยุคสมัยใหม่นี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการสืบราชสมบัติ ตั้งแต่ฉบับปีพ.ศ. 2517, 2521 เรื่อยมาจนถึงฉบับปีล่าสุด 2560 ว่าสามารถเสนอพระนามพระราชธิดาเพื่อขอความเห็นชอบ ในการเป็นผู้สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป แต่กรณีนี้สามารถใช้ได้เฉพาะหากราชบัลลังก์ว่างลง และพระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้เท่านั้น
สำหรับคุณอ้นเอง แม้เป็นพระราชโอรสคนที่สอง หากแต่ถูกมองว่ามีแนวโน้มจะ “ส้มหล่น” ที่สุด เนื่องจากมีบทบาทมากที่สุดในงานสังคมและงานที่เกี่ยวเนื่องกับราชสำนักในต่างประเทศ กระทั่งเป็นตัวเปิดใบเบิกทางให้ประชาชนได้เห็นว่า ตนสามารถกลับแผ่นดินเกิดได้แล้ว และได้แสดงศักยภาพและการเข้าถึงประชาชนมากน้อยเพียงใด จึงได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดีมากตามประสงค์
สำหรับพระราชโอรสคนโตอย่างคุณอ้วน-จุฑาวัชร ซึ่งได้สมรสกับชาวต่างชาติ ถือว่าหมดสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลใดๆ ในรัชกาลที่เวลานี้มีเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน มีความเป็นไปได้เพียงใดที่คุณอ้นจะเป็นใบเบิกทางให้พี่ชายของตนมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าน้อยมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากไม่เคยเห็นคุณอ้วนออกสื่อสาธารณะเลยแม้แต่น้อย จึงมิอาจรู้จักคุณอ้วนได้ดีพอ
ดังนั้นจึงมีเพียงคุณอ้นเท่านั้นในเวลานี้ ที่เป็นเสมือนตัวแทนของ “ลูกไกลต้น” ที่ถูกมองว่า “ทรายจะมาทวงทุกอย่างที่เป็นของทรายคืน” ในฐานะพระราชแคนดิเดตราชบัลลังก์อีกคน ด้วยขณะนี้มีประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่จงรักภักดี ต่างเทคะแนนใจให้และย้ายมาอยู่ในด้อมคุณอ้นไม่น้อย และหวังว่าทูลกระหม่อมพ่อจะทรงเปิดโอกาส กลับมาทรงรียูเนี่ยนกับอดีตท่านชายทั้ง 4 อีกครั้ง
ขณะเดียวกัน หากไม่นับกลุ่มที่ไม่นิยมสถาบันฯแล้ว ยังมีกลุ่มที่เคารพสถาบันอีกไม่น้อยเช่นกัน ที่เคลือบแคลงสงสัยในตัวคุณอ้น กับการกลับมาด้วยจุดประสงค์บางอย่างแอบแฝงและเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อพระราชสำนักอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับการทำลายชาติโดยมหาอำนาจตะวันตก จึงหันไปสนับสนุนและอวยถวายทูลกระหม่อมทีปังกรแทน (อ่านบทความเดิม “เลือดราชันย์หวนคืนปฐพีเพื่อล้างมนต์?” http://bitly.ws/RWu4)
ดังนั้น อนาคตของราชสำนักจึงเป็นสิ่งที่จับตาดูกันต่อไป แน่นอนว่าสิ่งที่ประชาชนทำได้เพียงอย่างเดียว คือการจับเข่าคุยกันเท่านั้น ประชาชนไม่มีสิทธิ์เลือกหรือไม่เลือกใครเป็นพระประมุขของประเทศ หากแต่สามารถนำเรื่องนี้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เนื่องจากเป็นสิ่งถูกกำหนดได้ว่า ประชาชนพร้อมและเต็มใจจะอ้าแขนต้อนรับอนาคตใหม่ของราชสำนักได้อย่างไร
อย่างน้อยภายในสองปีต่อจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามที่หลายๆคนคาดการณ์ไว้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร และกว่าจะถึงวันนั้น “เกมอาจเปลี่ยนเล็กน้อย” หรือไม่ ระหว่าง “ลูกใกล้” หรือ “ลูกไกล” จะถูกเลือกให้เป็นรัชกาลที่ 11 ผู้กุมชะตาแห่งราชสำนักในอนาคตให้รุ่งโรจน์ หรือร่วงโรย...
----
It has been on trend about the surprising return of the royal ‘estranged’ sons. Although ex-Princes Vacharaesorn and Chakriwat Vivacharawongse of Thailand are now back in the United States after making their one-week return to their home country, their return brought a new royal phenomenon, with notorious mystery and discussions about whether any hints were raised for the future of the Monarchy, particularly the unclear succession to the throne.
This topic of succession is regarded by many, especially among the royalists as ‘inappropriate and unprofitable’ to talk about the King’s personal matter. It has still been raised to online debates among royalists themselves and even anti-monarchist movements for the future of the Monarchy, and the nation.
After Vivacharawongse return, debuted by Vacharaesorn (a.k.a. Aon), a question was brought up about whether the possibility of the heir to the throne having would be different from what is currently expected. At the moment, Prince Dipangkorn Rasmijoti is the only son who is officially recognised with royal titles.
Thai Succession is not similar to other Monarchies having the number of heirs sorted in a list. The King has full rights to designate his sole male heir, who is traditionally the King’s eldest son. If the eldest son dies, the new male royal member shall be considered to be a new heir, who is mostly the second son or those who are closer to the bloodline.
As the King has not yet created any one as an heir, the great possibility is to be his youngest and only ‘official’ son Prince Dipangkorn, who is the only one having the title among the King’s 5 sons. The 18-year-old Prince may have to wait until his age of majority in the next two years. Until that time, we may need to wait and see if he will finally be created as an heir. It was traditionally accorded to his father when he also became Crown Prince at the age of 20.
However, this ‘estranged’ return undeniably caused changing points of view on succession among Thais. It is also undeniable that the Monarchy has lost much energy and efficacy, as there are now only a few active members of the Royal Family.
Since the King’s eldest daughter Princess Bajrakitiyabha collapsed and has been long-term hospitalised, the Royal Family is now facing instability, as she is greatly viewed as one of the most active royal members. She was also viewed by many as the first possible heiress to the throne, despite being contradictory to the Palace Law of Succession. It is stated on Article 13, which prohibits female members from succeeding the throne.
On the other hand, constitutions in the modern era were modified in different versions over many years, e.g., 1974, 1978, and even the latest year 2017. In the article of succession to the throne, it is stated that any Princess could be introduced for approval by the national assembly. But this case shall be practised “only” if the throne is vacant and if the deceased Monarch does not designate an heir.
Vacharaesorn, despite being the second son, is thus regarded as having the great possibility of being the King’s future successor due to the great potentiality he performs in various social and royal-related functions overseas until his unprecedented debut back in his home country. He received much positive feedback from the public for his down-to-earth and easygoing personality as he wished for.
The King’s eldest son, Juthavachara lost his right of succession due to his marriage to an American, as specified in the Palace Law that prohibits Princes from marrying foreigners. If there is any change in succession law in this ‘instable’ reign, is there any possibility that Vacharaesorn will open the pathway to his elder brother for succeeding the throne? The answer is agreed upon as ‘No.’ Thais do not know Juthavahara and his performance very well, as he never appears in public events like his younger brother.
Vacharaesorn is thus a representative of the ‘estranged heirs’ as another royal candidate to the Game of Thrones. Many Thai royalists turn out to support him, hoping to see all four Princes return and receive the second chance from their father for a ‘reunion.’
In the meantime, a lot of royalists are sceptical of the ex-Princes’ return due to political tensions following their beliefs of national security destruction supported by foreign authorities. The ex-Prince was hence believed to be a part of foreign powers to ruin the royal institution. (Read the article “By the King’s blood… it is due to be undone?” http://bitly.ws/RWu4)
Thais still keep an eye on the future of the Monarchy. People cannot choose anyone to be their heir or Head of State, but they still have the right to discuss and exchange views to each other. It can be determined whether they will fully welcome the future King in the modern era. Perhaps in the next two years, Thais shall wait and see who the future Rama XI would be. Thais shall see if “The Game” is changed to be the more glorious or derogatory fate of the Thai Monarchy.

https://www.facebook.com/story.php?id=100064528819440&story_fbid=678240307670257
.....