หัวหน้าพรรค 2 ยุค - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับ ชัยธวัช ตุลาธน ภายหลังรับทราบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ “คดีล้มล้างการปกครองฯ” ซึ่งเป็นสารตั้งต้นนำไปสู่การตั้งคดียุบพรรค
วิเคราะห์: แนวทางต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล จากปม “ล้มล้างการปกครอง”
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
27 เมษายน 2024
พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อยู่ระหว่างการลุ้นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะให้ขยายระยะเวลาการส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาคดียุบพรรคหรือไม่ หลังช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมกฎหมายของพรรคเข้ายื่นขอขยายกรอบเวลารอบ 2
หากที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 1 พ.ค. พิจารณาแล้วไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลา พรรค ก.ก. ต้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในวันที่ 3 พ.ค. นี้ จากนั้น ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรค ก.ก. จะแถลงแนวทางการต่อสู้คดีต่อสาธารณะต่อไป
ก่อนหน้านี้เมื่อ 17 เม.ย. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า “อาจจะขยายได้อีกตามเหตุสมควร โดยพร้อมรับฟัง ผู้ขอจะต้องชี้แจงเหตุผล หรือหากจะยื่นพยานหลักฐานก็ทำได้เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา”
การให้สัมภาษณ์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในวันที่ศาลตัดสินใจขยายเวลาให้พรรค ก.ก. ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาครั้งแรกเป็นเวลา 15 วัน
นครินทร์ กล่าวยืนยันด้วยว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่มีธงในการตัดสินคดี และการวินิจฉัยคดีก็ชี้ขาดได้เพียงซ้ายหรือขวา หรือชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
คดียุบพรรค ก.ก. มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ร้อง หลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรค ก.ก. มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าลักษณะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรค ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) และ (2)
คดีนี้เป็นผลสืบเนื่องจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 หรือที่รู้จักในชื่อ “คดีล้มล้างการปกครอง” จากกรณีพรรค ก.ก. เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเมื่อ 31 ม.ค. 2567 ว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรค ก.ก. ผู้ถูกร้องที่ 2 ใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 พร้อมสั่งให้เลิกการกระทำ
ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 “เป็นการลดสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์” ส่วนการบรรจุเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง “เป็นการนำสถาบันฯ ลงมาเพื่อหวังผลคะแนนเสียง และประโยชน์ในการชนะการเลือกตั้ง มุ่งหมายให้สถาบันฯ อยู่ในฐานะคู่ขัดแย้งกับประชาชน”
“มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทําลายสถาบันฯ เป็นเหตุให้ชํารุดทรุดโทรม เสื่อมทรามหรืออ่อนแอลง นําไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ ในที่สุด” คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 31 ม.ค. ระบุตอนหนึ่ง
วิเคราะห์: แนวทางต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล จากปม “ล้มล้างการปกครอง”
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
27 เมษายน 2024
พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อยู่ระหว่างการลุ้นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะให้ขยายระยะเวลาการส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาคดียุบพรรคหรือไม่ หลังช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมกฎหมายของพรรคเข้ายื่นขอขยายกรอบเวลารอบ 2
หากที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 1 พ.ค. พิจารณาแล้วไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลา พรรค ก.ก. ต้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในวันที่ 3 พ.ค. นี้ จากนั้น ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรค ก.ก. จะแถลงแนวทางการต่อสู้คดีต่อสาธารณะต่อไป
ก่อนหน้านี้เมื่อ 17 เม.ย. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า “อาจจะขยายได้อีกตามเหตุสมควร โดยพร้อมรับฟัง ผู้ขอจะต้องชี้แจงเหตุผล หรือหากจะยื่นพยานหลักฐานก็ทำได้เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา”
การให้สัมภาษณ์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในวันที่ศาลตัดสินใจขยายเวลาให้พรรค ก.ก. ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาครั้งแรกเป็นเวลา 15 วัน
นครินทร์ กล่าวยืนยันด้วยว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่มีธงในการตัดสินคดี และการวินิจฉัยคดีก็ชี้ขาดได้เพียงซ้ายหรือขวา หรือชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
คดียุบพรรค ก.ก. มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ร้อง หลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรค ก.ก. มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าลักษณะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรค ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) และ (2)
คดีนี้เป็นผลสืบเนื่องจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 หรือที่รู้จักในชื่อ “คดีล้มล้างการปกครอง” จากกรณีพรรค ก.ก. เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเมื่อ 31 ม.ค. 2567 ว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรค ก.ก. ผู้ถูกร้องที่ 2 ใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 พร้อมสั่งให้เลิกการกระทำ
ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 “เป็นการลดสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์” ส่วนการบรรจุเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง “เป็นการนำสถาบันฯ ลงมาเพื่อหวังผลคะแนนเสียง และประโยชน์ในการชนะการเลือกตั้ง มุ่งหมายให้สถาบันฯ อยู่ในฐานะคู่ขัดแย้งกับประชาชน”
“มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทําลายสถาบันฯ เป็นเหตุให้ชํารุดทรุดโทรม เสื่อมทรามหรืออ่อนแอลง นําไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ ในที่สุด” คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 31 ม.ค. ระบุตอนหนึ่ง
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาอ่านคำวินิจฉัย “คดีล้มล้างการปกครอง” ราว 45 นาที เมื่อ 31 ม.ค. 2567
ต่อมา กกต. ได้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นฐานทางกฎหมาย ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค ก.ก. และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เป็นเวลา 10 ปี
จนถึงขณะนี้ ทั้งสำนักงาน กกต. และพรรค ก.ก. ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดคำร้องคดียุบพรรคสีส้มแต่อย่างใด แต่บีบีซีไทยได้รับคำยืนยันว่าคำร้องมีเนื้อหาและเอกสารประกอบกว่า 100 หน้า
พรรค ก.ก. มีเสียงเป็นอันดับ 1 ของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 แต่ต้องตกที่นั่งแกนนำพรรคฝ่ายค้านภายหลังเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566
สำหรับแนวทางในการต่อสู้คดีของพรรค ก.ก. จะต่อสู้ทั้งในเชิงข้อกฎหมาย และเชิงข้อเท็จจริงเพื่อโต้แย้งว่าการกระทำของพรรค ก.ก. ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ โดยมุ่งยืนยันว่าพรรค “ขาดเจตนา” ในการกระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองฯ ตั้งแต่ต้น
ข้อต่อสู้เชิงกฎหมาย
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 31 ม.ค. ที่เป็นฐานทางกฎหมายให้ กกต. หยิบไปตั้งเป็นคดียุบพรรค ก.ก. อ้างถึงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ อัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม และศาลอาญาอีก 4 แห่ง แต่ไม่เปิดโอกาสให้พรรค ก.ก. โต้แย้งความชอบหรือความถูกต้องของข้อมูลของหน่วยงานที่ศาลเรียกไปเป็นพยาน
“ศาลกลับเชื่อว่าเอกสารที่เรียกไปถูกต้องที่สุดแล้ว และการรับฟังพยานหลักฐานคดีถึงที่สุดแล้ว” พรรค ก.ก. เตรียมโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกใช้เป็น “สารตั้งต้น” ในการตั้งคดียุบพรรค
เช่นเดียวกับการพิจารณาในชั้น กกต. ซึ่ง กกต. ไม่เคยเรียกผู้ถูกร้องไปให้ข้อมูลในช่วง 41 วันนับจากได้รับคำร้องจาก “นักร้อง” จนถึงวันที่ กกต. มีมติให้ยุบพรรค ก.ก. แต่หยิบเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาบอกว่า “มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า...” แล้วก็เอาคำวินิจฉัยนี้ไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งยุบพรรค ก.ก.
คำร้องของ กกต. ที่ขอให้ยุบพรรค ก.ก. ระบุตอนหนึ่งว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคกระทำผิดตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง ทั้งมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) คือการล้มล้างการปกครองฯ และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (2) คือกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองฯ
ผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลให้กำลังใจ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่รัฐสภา เมื่อ 31 ม.ค.
แหล่งข่าวจากพรรค ก.ก. ตั้งข้อสังเกตว่า คำร้องขอให้ยุบพรรค ก.ก. เป็นการ “กวาด 2 ข้อหามารวมกัน” เพื่อเพิ่มโอกาสให้ออกได้ทั้ง 2 หน้า ทั้งล้มล้าง และเป็นปฏิปักษ์ ทั้ง ๆ ที่ กกต. เคยสั่งยุติเรื่องคดีเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองฯ ไปแล้วเมื่อเดือน มิ.ย. 2566 หลังมีผู้ยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบพรรค ก.ก. กรณีมีนโยบายจะยกเลิก 112 โดยอ้างการให้สัมภาษณ์ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ซึ่งเผยแพร่ทางสื่อโซเชียลมีเดีย และกรณี อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กก.บห. โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงจุดยืนของตนและจุดยืนของพรรค ก.ก. เรื่องมาตรา 112 นั่นแปลว่า กกต. เห็นว่า “ไม่มีมูล” ไปแล้ว แต่กลับเอาข้อกล่าวหานี้มาเขียนลงคำร้องขอให้ยุบพรรค ก.ก. อีกครั้ง
อีกข้อต่อสู้ทางกฎหมายของก้าวไกล จะแก้ในประเด็นที่ว่าพฤติการณ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 อาจไม่ร้ายแรง และไม่น่าจะเป็นการบังคับผูกพันให้มีคำสั่งยุบพรรคตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 92
ที่ผ่านมา มีนักกฎหมายหลายคนออกมาชี้ประเด็นนี้ หนึ่งในนั้นคือ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ที่ให้ความเห็นโดยสรุปได้ว่า การล้มล้างการปกครองฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 นั้นแตกต่างจากการล้มล้างการปกครองฯ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 92
- มาตรา 49 เป็นไปเพื่อระงับความเสียหาย โดยศาลจะสั่งให้หยุดหรือเลิกการกระทำที่ศาลเห็นว่าอาจเกิดขึ้นในอนาคต นั่นหมายความว่าการกระทำอาจไม่จำเป็นต้องชัดเจน เห็นผลในขณะนั้น
- มาตรา 92 เป็นโทษ “ประหารชีวิตทางการเมือง” จึงต้องเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องรุนแรง ล้มล้าง เป็นปฏิปักษ์จริง ๆ ส่งผลให้ระบอบการปกครองนี้ถูกล้มล้างไปจริง ศาลถึงจะสั่งให้ยุบพรรคได้
สส. ก้าวไกล โบกมือให้ช่างภาพเก็บภาพหลังเสร็จสิ้นการประชุมสภา
ข้อต่อสู้เชิงข้อเท็จจริง
ส่วนการต่อสู้ในเชิงข้อเท็จจริง พรรค ก.ก. จะยืนยันว่า การเสนอร่างแก้ไขกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เป็นอำนาจโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ สส. ซึ่งในขณะที่ยื่นร่างแก้ไขมาตรา 112 อยู่บนพื้นฐานที่ว่า สส.ก้าวไกลทำตามรัฐธรรมนูญทุกประการ อีกทั้ง กกต. ก็ไม่ได้ห้ามบรรจุเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง 2566
“ไม่มีใครรู้ว่าการเสนอแก้กฎหมาย จะกลายเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ ไปได้ จนกระทั่งมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 31 ม.ค.”
ตุลาการอย่างน้อย 4 คนระบุในคำวินิจฉัยส่วนตัว โดยเห็นว่า การเสนอแก้มาตรา 112 ต่อสภา ทำได้ไม่ผิด
“แนวทางในการต่อสู้ในคดียุบพรรคก้าวไกล จะเน้นพิสูจน์ว่าพรรคขาดเจตนา ไม่ได้มีเจตนาจะล้มล้างการปกครองฯ ตั้งแต่ต้น” แหล่งข่าวจากพรรค ก.ก. ระบุ
หนึ่งในหลักฐานที่จะใช้เป็นเครื่องยืนยันเจตนาของพรรคสีส้มคือ ภายหลังมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญใน “คดีล้มล้างการปกครอง” พรรคได้นำนโยบายหาเสียงเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ลงจากเว็บไซต์ของพรรค ตามข้อแนะนำของคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบขึ้นมาวินิจฉัย จึงไม่ต้องการให้เกิดข้อสรุปว่า พรรคมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองฯ
ส่วนคำบรรยายพฤติการณ์ของ สส.ก้าวไกล ที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายแก้ไขมาตรา 112 รวมทั้งเป็นนายประกันให้แก่ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 หรือตกเป็นผู้ต้องหา/จำเลยคดี 112 เสียเอง แล้วถูกนำมาต่อจิ๊กซอว์ ผูกโยงให้เห็นความ “ต่อเนื่อง” เพื่อชี้ว่าพรรค ก.ก. ต้องการ “ลดความคุ้มครองสถาบันฯ” พรรค ก.ก. จะต่อสู้ว่า แม้เป็น สส. ของพรรค แต่ก็มีความเป็นปัจเจก อีกทั้งสิทธิการประกันตัวถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ตามที่รัฐธรรมนูญให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา/จำเลยทุกคนให้ถือเป็นผู้บริสุทธิ์
การหักล้างข้อกล่าวหานี้ สอดคล้องกับความเห็นของ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้ความเห็นทางวิชาการภายหลังฟังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญใน “คดีล้มล้างการปกครองฯ” โดยเขาชี้ว่า เนื้อคดีมีประเด็นแยกซ้อนกันหลายอัน โดยร้อง พิธา กับ พรรค ก.ก. ไม่ได้ร้องตัว สส. ในส่วนของพรรคที่ใกล้เคียงที่สุดคือการกําหนดเป็นนโยบายรณรงค์หาเสียง ซึ่ง กกต. ก็ไม่ได้บอกว่ามันผิดอะไร ส่วนพฤติการณ์อื่น ๆ ของคนอื่นเป็นรายตัวบุคคล
“แต่ศาลก็พยายามบอกว่า สส. ทั้ง 44 คน (ที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112) ก็เป็น สส. พรรคนี้ คือพยายามมองทั้งหมดเพื่อบอกว่าเป็นการทําของพรรค” วรเจตน์ กล่าวกับประชาไท
นักกฎหมายมหาชนรายนี้ระบุว่า แม้เป็น สส. แต่ก็เป็นปัจเจก มี free mandate (หลักอิสระอาณัติของผู้แทนปวงชน) ที่ได้จากประชาชน มันต้องบาลานซ์ระหว่างสิทธิของเขาที่เป็นปัจเจกบุคคลกับวินัยของพรรคการเมือง “มันไม่ใช่พรรคแบบนาซีหรือพรรคเผด็จการที่ สส. ต้องเอาตามพรรคทุกอย่าง”
เปิดรายชื่อ 11 กก.บห. ก้าวไกล ถูกยื่นเอาผิด
สำหรับคำร้องของ กกต. ที่ขอให้ยุบพรรค ก.ก. และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง กก.บห. เป็นเวลา 10 ปี ได้ยื่นเอาผิดผู้บริหารพรรคทุกชุด ไม่ว่าจะเป็น กก.บห.ชุดที่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อ 25 มี.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันที่ 44 สส.ก้าวไกล ยื่นร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ต่อสภา และ กก.บห.ชุดที่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครองฯ โดยผู้ร้องให้เหตุผลว่า เป็นพฤติกรรมที่ “ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง”
บีบีซีไทยตรวจสอบพบว่า หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และตัดสิทธิการเมือง กก.บห. จะมีนักการเมืองสังกัดพรรค ก.ก. จำนวน 11 คน ต้องโทษแบนการเมือง 10 ปี ในจำนวนนี้มี 7 คนที่เป็น สส. ในปัจจุบัน (มี * ท้ายชื่อ)
รายชื่อ กก.บห. ชุดแรก 10 คน ประกอบด้วย
- พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค*
- ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค*
- ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค
- ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค
- ปดิพัทธ์ สันติภาดา กก.บห.สัดส่วนภาคเหนือ (ปัจจุบันลาออกจากสมาชิกพรรคแล้ว)*
- สมชาย ฝั่งชลจิตร กก.บห.สัดส่วนภาคใต้*
- อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กก.บห.สัดส่วนภาคกลาง
- อภิชาต ศิริสุนทร กก.บห.สัดส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ*
- เบญจา แสงจันทร์ กก.บห.สัดส่วนภาคตะวันออก*
- สุเทพ อู่อ้น กก.บห.สัดส่วนปีกแรงงาน*
- ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรค*
- อภิชาติ ศิริสุนทร เลขาธิการพรรค*
- ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค
- ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค
- สมชาย ฝั่งชลจิตร กก.บห.*
- อภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ กก.บห.
- เบญจา แสงจันทร์ กก.บห.*
- สุเทพ อู่อ้น กก.บห.สัดส่วนปีกแรงงาน*
- 31 ม.ค. ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ว่า การกระทำของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรค ก.ก. ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ และสั่งการ "เลิกการกระทำ" เลิกการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้มีการยกเลิกมาตรา 112 อีกทั้งไม่ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย คดีนี้มีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความของพระพุทธะอิสระ เป็นผู้ยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
- 1 ก.พ. ชายที่ถูกเรียกขานว่า “นักร้องทางการเมือง” คือ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร และ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นคำร้องต่อ กกต. ขอให้บังคับการกับพรรค ก.ก. ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยการยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคต่อไป
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อ กกต. เมื่อ 1 ก.พ. ขอให้ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคก้าวไกล
- 12 มี.ค. กกต. มีมติเอกฉันท์ 6 ต่อ 0 ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาสั่งยุบพรรค ก.ก. และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง กก.บห. ตาม พ.ร.ป. ว่าพรรคการเมือง มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) จากเหตุมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรค ก.ก. กระทำการล้มล้างการปกครองฯ และกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองฯ
- 18 มี.ค. เลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filling) ขอให้พิจารณาสั่งยุบพรรค ก.ก. และเพิกถอนสิทธิ กก.บห.
- 20 มี.ค. ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งผู้ร้องให้ส่ง “เอกสารฉบับที่ชัดเจน” ต่อศาลภายใน 7 วันนับแต่ได้รับหนังสือ หลังพบว่ามีเอกสารบางรายการไม่ชัดเจน ซึ่งในเวลาต่อมา แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ออกมาเปิดเผยว่า เอกสารที่ไม่ชัดเจนเป็นเอกสารประกอบคำร้องที่เรืองไกรยื่นร้องต่อ กกต. ซึ่งทางสำนักงานจะเร่งดำเนินการส่งเอกสารที่ชัดเจนต่อไป
- 3 เม.ย. ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องคดียุบพรรค ก.ก. ไว้พิจารณาวินิจฉัย และแจ้งให้พรรค ก.ก. ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
- 17 เม.ย. ศาลรัฐธรรมนูญเห็นควรให้ขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาออกไปอีก 15 วัน จากที่พรรค ก.ก. ขอไป 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลในวันที่ 3 พ.ค.
- 23 เม.ย. พรรค ก.ก. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการส่งคำชี้แจงแก้ข้อรอบที่ 2 อีก 30 วัน
- 3 พ.ค. วันครบกำหนดที่พรรค ก.ก. ต้องส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาคดียุบพรรคต่อศาลรัฐธรรมนูญ
https://www.bbc.com/thai/articles/c0de4k3pl11o