https://www.facebook.com/iLawClub/posts/pfbid02mBdeTBmcoHuYxwPNSvxJvznkFkTnyzBZeHL6pxqhnj6oMQbvZvUYn3PNK96VLS5tl?ref=embed_post
iLaw
10h·
แม้ว่ามีการเปิดเผยว่าดุษฎีนิพนธ์ของสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) แต่งตั้ง จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีข้อความเหมือนกับผลงานชิ้นอื่นหลายส่วน และหลังจากนั้นสมชายก็ได้แก้ไขโดยเพิ่มเชิงอรรถ (footnote) จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่ามีข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่นเพิ่มเติม โดยเฉพาะจากบทความในเว็บไซต์ Wikipedia มาอย่างน้อยห้าจุดโดยไม่มีการอ้างอิง ได้แก่
.
1. หน้า 24-25 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “นิติธรรม” ในส่วนความสับสนระหว่างหลักนิติรัฐและนิติธรรม https://th.wikipedia.org/wiki/นิติธรรม
.
2. หน้า 33 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “ระบบรัฐสภา” ในส่วนคำอธิบายระบบรัฐสภา https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบรัฐสภา
.
3. หน้า 34-35 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “ระบบสภาเดียว” ในส่วนของแนวความคิดในหมู่ประเทศที่นิยมสภาเดียว (https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสภาเดียว)
.
4. หน้า 35 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “ระบบสองสภา” ในส่วนคำอธิบายและทฤษฎีของระบบสองสภา (https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสองสภา)
.
5. หน้า 105 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “วุฒิสภาฝรั่งเศส” ในส่วนข้อมูลของวุฒิสภาฝรั่งเศส (https://th.wikipedia.org/wiki/วุฒิสภาฝรั่งเศส) นอกจากนี้ ในส่วนต่อมาของหน้า 106 ยังมีข้อความเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศสที่เหมือนกับหน้าที่ 16 ของหนังสือ “โครงการศึกษาวิเคราะห์ เรื่องที่มาและอํานาจหน้าที่ของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทย” โดยมานิต จุมปา และคณะ ในกรณีหลังนี้มีการใส่เชิงอรรถเอาไว้แต่ข้อความเหมือนกัน
.
(https://www.ilaw.or.th/articles/29527)