Somsak Jeamteerasakul
13 hours ago
·
ผมอ่านข่าว อานนท์ นำภา หรือข่าวคนอื่นๆที่ติดคุกด้วยคดีการเมือง (112 เป็นหลัก) แล้วเศร้าใจและเจ็บใจ
พวกนายแบก-นางแบกที่อยู่นอกคุกก็สบายใจไม่ต้องคิดมาก
พวกนักการเมืองเกือบทั้งหมดขี้ขาดตาขาว
ป่านนี้ควรจะปล่อยได้แล้ว กม.นิรโทษกรรมก็มี
ถ่มน้ำลายให้กับพวกคุณทุกคน
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
8 hours ago
·
รวมโทษจำคุกเกิน 10 ปีแล้ว ! ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก 2 ปี 20 วัน คดี #ม112 “อานนท์ นำภา” ปราศรัยเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ใน #ม็อบแฮรี่พอตเตอร์2
.
29 เม.ย. 2567 เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดฟังคำพิพากษาคดีของ อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน และหนึ่งในแกนนำกลุ่มคณะราษฎร 2563 วัย 39 ปี หลังถูกฟ้องใน 4 ข้อกล่าวหา ได้แก่ หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เหตุมาจากการปราศรัยถึงข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในกิจกรรม ‘เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาชน’ หรือ #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 ที่ลานหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2564
.
ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดทุกข้อหาตามฟ้อง พิพากษาจำคุกรวม 3 ปี 1 เดือน ปรับ 150 บาท ก่อนลดเพราะให้การเป็นประโยชน์ เหลือจำคุก 2 ปี 20 วัน และปรับ 100 บาท
.
ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
ขณะเกิดเหตุมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ แต่จำเลยเชิญชวนผ่านโซเชียลมีเดียให้มาฟังการปราศรัย ซึ่งถือเป็นการนัดหมายชุมนุม ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนเริ่มต้นก็ตาม และการที่จำเลยปราศรัยบนรถกระบะเครื่องเสียง แปลว่าได้มีการเตรียมการมาไว้ล่วงหน้าแล้ว จำเลยเบิกความอีกว่าได้ปราศรัยจริง และเบิกความอีกว่าขณะนั้นมีการแพร่ระบาดโควิด-19 เข้าใจได้ว่าจำเลยมีความมุ่งหมายตั้งแต่ต้นที่จะจัดกิจกรรม จึงเห็นว่าจำเลยเป็นผู้จัดมิใช่ผู้เข้าร่วม และแม้จะเบิกความว่าตนสวมหน้ากากอนามัย และยืนห่างกับผู้อื่น แต่จำเลยก็ไม่สามารถควบคุมให้ผู้ชุมนุมยืนห่างกันได้
.
จากการนำสืบว่าการชุมนุมเป็นการใช้เสรีภาพตามกฎหมาย พื้นที่ชุมนุมเป็นที่เปิดโล่ง ไม่พบการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งรัฐธรรมนูญตามมาตรา 44 ได้รับรองไว้ แต่เห็นว่าชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อีกทั้งหลังจากพนักงานควบคุมโรคได้แจ้งประกาศเตือนตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และให้ประชาชนยุติการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมไม่ยุติ อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ อีกทั้งจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดก็ไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
.
ข้อหาตาม พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ
ตามที่พยานโจทก์เบิกความว่าจำเลยได้ขึ้นปราศรัยบนรถกระบะโดยใช้เครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้ขออนุญาตก่อน จึงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง
.
ข้อหาตามมาตรา 112
ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 2 บัญญัติไว้ว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และในมาตรา 50 ก็ได้บัญญัติไว้ว่า บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกจากนี้ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เกี่ยวกับความผิดเป็นพิเศษต่างจากคนทั่วไป
.
ประชาชนไทยมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์ การกล่าวจาบจ้วง ล่วงเกิน เสียดสี เป็นการหมิ่นประมาท ข้อความที่กล่าวจะทำให้เสื่อมเสียหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาความรู้สึกของประชาชนไทยร่วมด้วย
.
เห็นว่า จำเลยกล่าวใส่ความรัชกาลที่ 10 ว่านำของที่ประชาชนใช้ร่วมกันมาเป็นของตนเอง เป็นการหมิ่นประมาท แม้จำเลยจะเบิกความว่าเป็นการวิจารณ์ตรงไปตรงมา แต่ไม่อาจถ่ายทอดความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเท่านั้น เมื่อพิจารณาคำปราศรัยก็ไม่มีเหตุที่จะยกสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพมาทำให้เสื่อมเสีย ทำให้คนเห็นว่ารัชกาลที่ 10 มีความโลภ ใส่ความให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ไม่สามารถหักล้างพยานพยานโจทก์ได้ และไม่มีเหตุยกเว้นความผิดในทำนองเดียวกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 และ 330
.
สรุปแล้ว จำเลยมีความผิดตามข้อหามาตรา 112, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 และ 18, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 และ 51 , พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียง มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมให้ลงโทษทุกกรรม
.
ข้อหามาตรา 112 ให้ลงโทษจำคุก 3 ปี, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีโทษที่หนักที่สุด คือจำคุก 1 เดือน ส่วนข้อหาตาม พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ ให้ปรับ 150 บาท
.
การนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อพิจารณา มีเหตุให้ลดโทษ 1 ใน 3 ทำให้ ข้อหามาตรา 112 คงจำคุก 2 ปี ส่วน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คงจำคุก 20 วัน และ พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ คงปรับ 100 บาท
.
รวมโทษเป็นจำคุก 2 ปี 20 วัน และปรับ 100 บาท และให้นับโทษต่อจากสองคดีที่ศาลอาญาพิพากษาไปก่อนหน้า อีกทั้งให้ริบเครื่องปั่นไฟ ลำโพง เพาวเวอร์แอมป์ มิกเซอร์ เครื่องรับสัญญาณไมโครโฟน และไมโครโฟน ของกลางในคดีนี้
.
ผู้พิพากษาในคดีนี้ได้แก่ วีระ พรหมอยู่ และ ศุทธิ์สิริ พยัคฆโส
.
หลังจากศาลอ่านคำพิพากษาแล้วเสร็จ ศาลก็สรุปโทษในคดีนี้ให้อานนท์ฟังอย่างเข้าใจง่ายอีกรอบ หลังจากนั้นประชาชนที่อยู่ในห้องพิจารณาคดีก็เข้ามาให้กำลังใจอานนท์ และช่วยกันชำระค่าปรับโดยการนำเหรียญ 1 บาท 2 บาท และ 5 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 100 บาท เพื่อให้ทนายความของอานนท์ไปจ่ายค่าปรับต่อศาล
.
ทั้งนี้ จากการชุมนุม #ม็อบแฮรี่พอตเตอร์2 นอกจากคดีนี้แล้ว ยังมีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ดังกล่าวอีก 26 คน ทั้งเป็นผู้ปราศรัย ผู้ร่วมชุมนุม ผู้นำรถเครื่องขยายเสียงเข้าร่วม ในข้อหาหลักฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพียงอย่างเดียว โดยคดียังอยู่ในชั้นอัยการ
.
ในส่วนของอานนท์ หลังจากที่วันนี้ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาจำคุกอีก 2 ปี 20 วัน ทำให้ปัจจุบันอานนท์ถูกลงโทษจำคุกรวมทั้งสิ้น 10 ปี 20 วันแล้ว เมื่อรวมกับสองคดีในข้อหามาตรา 112 ที่ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษจำคุกคดีละ 4 ปี ไปเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2566 และ 17 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา
.
การฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ของอานนท์ในวันนี้ นับว่าเป็นคดีที่ 3 จากจำนวนทั้งหมด 14 คดี กล่าวคืออานนท์ยังมีคดีมาตรา 112 อีกถึง 11 คดี ซึ่งรวมถึงคดี #ม็อบแฮรี่พอตเตอร์1 ที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี โดยมีนัดหมายสืบพยานที่ศาลอาญาในวันที่ 17 พ.ค. 2567 นี้
.
ปัจจุบันอานนท์ยังถูกคุมขังในเรือนจำระหว่างอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 2566 จนถึงวันนี้ (29 เม.ย. 2567) เป็นเวลากว่า 218 วัน หรือกว่า 7 เดือนแล้ว โดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว แม้ทนายความจะยื่นขอประกันตัวมาแล้ว 6 ครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการถูกคุมขังต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดเท่าที่อานนท์เคยถูกคุมขังมา
.
.
อ่านข่าวต่อบนเว็บไซต์: (https://tlhr2014.com/archives/66541)
.....
Atukkit Sawangsuk
13h
·
112 ยิ่งจริงยิ่งผิด เจตนาสุจริตก็ไม่รอด
:
ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คดีก้าวไกลล้มล้างการปกครองฯ
คำวินิจฉัยส่วนตน อุดม รัฐอมฤต (อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สมชาย)
ถ้าก้าวไกลแก้ 112 สำเร็จ
"อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่การแสดงความคิดเห็นไปในทางต่างๆ โดยเฉพาะอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างเปิดกว้าง ทำให้อาจมีผู้แสดงออกซึ่งการกระทำและความคิดเห็นในหลายลักษณะ ทั้งในฝ่ายของผู้มีความปรารถนาดีและเคารพเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกระทำการในเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่อย่างเหมาะสมในแนวทางต่างๆ ไปจนถึงผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างไปในทางตรงกันข้าม ซึ่งมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในสถานการณ์ของบ้านเมืองที่เปิดพื้นที่ให้กับการแสดงออกซึ่งความหลากหลายของการกระทำและทัศนคติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะในสังคมที่การสื่อสารระหว่างบุคคลในโลกออนไลน์ไม่อาจถูกกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนต่างๆ ย่อมยากที่จะทำให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อเท็จจริงต่างๆ..........."
:
ง่ายๆ คือเขามองว่า แม้แต่ผู้ปรารถนาดี เคารพเทิดทูน กระทำการสร้างสรรค์
ก็ปล่อยให้มีเสรีภาพไม่ได้ เพราะฝ่ายตรงข้ามจะอ้างเสรีภาพเหมือนกัน
เพราะสังคมไทยยังโง่อยู่ จะทำให้ระบอบอ่อนแอและเสื่อมลง
:
ดังนั้น ต่อให้เป็นไชยันต์ ไชยพร วิจารณ์ด้วยความปรารถนาดี อยากให้ดำรงอยู่อย่างเหมาะสม ฯลฯ ก็ผิดครับ
112 ยิ่งจริงยิ่งผิด เจตนาสุจริตก็ไม่รอด
:
ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คดีก้าวไกลล้มล้างการปกครองฯ
คำวินิจฉัยส่วนตน อุดม รัฐอมฤต (อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สมชาย)
ถ้าก้าวไกลแก้ 112 สำเร็จ
"อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่การแสดงความคิดเห็นไปในทางต่างๆ โดยเฉพาะอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างเปิดกว้าง ทำให้อาจมีผู้แสดงออกซึ่งการกระทำและความคิดเห็นในหลายลักษณะ ทั้งในฝ่ายของผู้มีความปรารถนาดีและเคารพเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกระทำการในเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่อย่างเหมาะสมในแนวทางต่างๆ ไปจนถึงผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างไปในทางตรงกันข้าม ซึ่งมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในสถานการณ์ของบ้านเมืองที่เปิดพื้นที่ให้กับการแสดงออกซึ่งความหลากหลายของการกระทำและทัศนคติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะในสังคมที่การสื่อสารระหว่างบุคคลในโลกออนไลน์ไม่อาจถูกกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนต่างๆ ย่อมยากที่จะทำให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อเท็จจริงต่างๆ..........."
:
ง่ายๆ คือเขามองว่า แม้แต่ผู้ปรารถนาดี เคารพเทิดทูน กระทำการสร้างสรรค์
ก็ปล่อยให้มีเสรีภาพไม่ได้ เพราะฝ่ายตรงข้ามจะอ้างเสรีภาพเหมือนกัน
เพราะสังคมไทยยังโง่อยู่ จะทำให้ระบอบอ่อนแอและเสื่อมลง
:
ดังนั้น ต่อให้เป็นไชยันต์ ไชยพร วิจารณ์ด้วยความปรารถนาดี อยากให้ดำรงอยู่อย่างเหมาะสม ฯลฯ ก็ผิดครับ
.....
Pipob Udomittipong
15 hours ago
·
หลังก้มหน้าก้มตาอ่านคำพิพากษาอยู่ราวครึ่งชม. ผพษ.ที่สวมแว่นก็เงยหน้าขึ้นมา ยิ้มให้กับจำเลย อธิบายอีกรอบหนึ่งว่า “คดี 112 ศาลลงสามปี ลดให้หนึ่งในสามนะ พรก.ฉุกเฉิน ศาลลงหนึ่งเดือน ส่วนการใช้เครื่องเสียง ศาลปรับ 100 บาท” หลังจากนั้นก็เกิดความโกลาหลขึ้นมาในห้องพิจารณา
มีคนนำถุงพลาสติก เรี่ยไรเงินเพื่อจ่ายค่าปรับให้ #อานนท์นำภา บางคนถามว่าเป็นแบงก์ได้มั้ย คนนำกิจกรรมบอกขอเป็น “เศษเงิน” ค่ะ ระหว่างที่พี่ป้าน้าอาที่ป่านนี้คงกลายเป็นญาติร่วมสายเลือดของอานนท์ไปแล้ว กุลีกุจอหยิบเงินใส่ถุง จนถุงแตก เศษเหรียญกระจายกับพื้น
ผมสังเกตว่า ศาลก็นั่งมองเฉย ๆ ไม่ได้ว่าอะไร มีแต่รอยยิ้มเล็ก ๆ เหมือนตอนที่ท่านนำสืบพยาน หลังจากนั้นญาติพี่น้อง มวลชนก็เข้ามาห้อมล้อม สวมกอด บางคนเอาแบงก์ยัดใส่มืออานนท์ ก่อนที่เขาถูกนำตัวออกจากห้อง เดินลับไปจากคลองจักษุของพวกเรา เป็นคดี #หมิ่นประมาทกษัตริย์ คดีที่ 3 ของอานนท์ที่ศาลตัดสิน สิริรวมโทษตอนนี้ก็ 10 ปีแล้ว
ศาลระบุในคำตัดสินด้วยว่า “คดี 112 มันไม่มีข้อยกเว้นความผิดเหมือนในมาตรา 329 + 330 นะ” นี่เป็นประเด็นสำคัญ ในขณะที่ปท.ที่ยังมีกษัตริย์ในยุโรป หรือที่อื่นทั่วโลก ปรับให้กระบวนการพิจารณาคดีหมิ่นเจ้า ลงมาเท่าเทียมกับสามัญชน หรืออย่างน้อยเท่ากับเจ้าพนักงานของรัฐ
แต่ในบ้านเรา “All animals are equal, but some animals are more equal than others.“ ยังกับรัชสมัยของท่านจอร์จ ออร์แวล
ในปท.ที่ยิ่งจริงยิ่งหมิ่น ในปท.ที่ยิ่งจริงยิ่งผิด สถาบันต้องเป็นที่ “เคารพสักการะ” at all costs เราจะสอนกม.ไปทำไม เราจะสอนหลักปรัชญาไปทำไม เราจะไปแคร์อะไรกับแนวนิติศาสตร์ หรือ Jurisprudence เพราะคนที่มีหน้าที่บังคับใช้กม. ไม่ต้องการและไม่สนใจ “ความจริง”
Pipob Udomittipong
15 hours ago
·
หลังก้มหน้าก้มตาอ่านคำพิพากษาอยู่ราวครึ่งชม. ผพษ.ที่สวมแว่นก็เงยหน้าขึ้นมา ยิ้มให้กับจำเลย อธิบายอีกรอบหนึ่งว่า “คดี 112 ศาลลงสามปี ลดให้หนึ่งในสามนะ พรก.ฉุกเฉิน ศาลลงหนึ่งเดือน ส่วนการใช้เครื่องเสียง ศาลปรับ 100 บาท” หลังจากนั้นก็เกิดความโกลาหลขึ้นมาในห้องพิจารณา
มีคนนำถุงพลาสติก เรี่ยไรเงินเพื่อจ่ายค่าปรับให้ #อานนท์นำภา บางคนถามว่าเป็นแบงก์ได้มั้ย คนนำกิจกรรมบอกขอเป็น “เศษเงิน” ค่ะ ระหว่างที่พี่ป้าน้าอาที่ป่านนี้คงกลายเป็นญาติร่วมสายเลือดของอานนท์ไปแล้ว กุลีกุจอหยิบเงินใส่ถุง จนถุงแตก เศษเหรียญกระจายกับพื้น
ผมสังเกตว่า ศาลก็นั่งมองเฉย ๆ ไม่ได้ว่าอะไร มีแต่รอยยิ้มเล็ก ๆ เหมือนตอนที่ท่านนำสืบพยาน หลังจากนั้นญาติพี่น้อง มวลชนก็เข้ามาห้อมล้อม สวมกอด บางคนเอาแบงก์ยัดใส่มืออานนท์ ก่อนที่เขาถูกนำตัวออกจากห้อง เดินลับไปจากคลองจักษุของพวกเรา เป็นคดี #หมิ่นประมาทกษัตริย์ คดีที่ 3 ของอานนท์ที่ศาลตัดสิน สิริรวมโทษตอนนี้ก็ 10 ปีแล้ว
ศาลระบุในคำตัดสินด้วยว่า “คดี 112 มันไม่มีข้อยกเว้นความผิดเหมือนในมาตรา 329 + 330 นะ” นี่เป็นประเด็นสำคัญ ในขณะที่ปท.ที่ยังมีกษัตริย์ในยุโรป หรือที่อื่นทั่วโลก ปรับให้กระบวนการพิจารณาคดีหมิ่นเจ้า ลงมาเท่าเทียมกับสามัญชน หรืออย่างน้อยเท่ากับเจ้าพนักงานของรัฐ
แต่ในบ้านเรา “All animals are equal, but some animals are more equal than others.“ ยังกับรัชสมัยของท่านจอร์จ ออร์แวล
ในปท.ที่ยิ่งจริงยิ่งหมิ่น ในปท.ที่ยิ่งจริงยิ่งผิด สถาบันต้องเป็นที่ “เคารพสักการะ” at all costs เราจะสอนกม.ไปทำไม เราจะสอนหลักปรัชญาไปทำไม เราจะไปแคร์อะไรกับแนวนิติศาสตร์ หรือ Jurisprudence เพราะคนที่มีหน้าที่บังคับใช้กม. ไม่ต้องการและไม่สนใจ “ความจริง”