มูลนิธิสิทธิอิสรา
10h·
บันทึกปากคำสหายชาวนาที่กลายเป็นนักศึกษาแพทย์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
A ‘Peasant Comrade’ Who Became a Medical Student Under the Communist Party of Thailand
ไทย: https://sis.or.th/comrade-khwan-education-th/
English: (https://sis.or.th/en/comrade-khwan-education-en/)
อานนท์ ชวาลาวัณย์ เรียบเรียง
Recorded by Anon Chawalawan
เด็กหญิงคนหนึ่งเคยฝันว่าจะได้เรียนต่อหลังจบป.สี่ แล้วเธอก็ได้โอกาสนั้นจริงๆอย่างยิ่งกว่าที่ฝัน หลังจากเธอหนีเข้าป่าเมื่ออายุ 16 ปี
ช่วงทศวรรษที่ 2510 เด็กหญิงคนนั้นเติบโตขึ้นมาในจังหวัดพัทลุงท่ามกลางการถูก “ชักเย่อ” จากทั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จากโจรผู้ร้ายในพื้นที่ และจาก “นาย” ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่รัฐไทย พ่อของเธอเห็นว่าการเข้าไปขับเคลื่อนร่วมกับพคท.น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคนในพื้นที่ จึงได้เข้าป่าไปร่วมเคลื่อนไหวสร้างกองกำลังที่เข้มแข็งจนทำให้ทางบ้านถูกเพ่งเล็งและตกเป็นเป้าการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อรู้สึกว่าบ้านไม่ใช่ที่ปลอดภัยอีกต่อไป สุดท้ายเธอตัดสินใจเดินตามพ่อและแม่ของเธอเข้าสู่เขตป่าเขาภูบรรทัดบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดพัทลุง ตรัง และสตูล ในวันที่เดินออกจากบ้าน เธอคงไม่คิดไม่ฝันว่าการออกเดินทางครั้งนั้นจะพาเธอจากบ้านไปไกลถึงประเทศจีน
ช่วงชีวิต “สหายชาวนา” ของคุณบุปผา (เธอขอสงวนนามสกุล) หรือชื่อจัดตั้งสหายขวัญอาจมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดคล้ายคลึงกับของบรรดา “สหายนักศึกษา” ส่วนใหญ่ที่เข้าป่าเมื่อถูกฝ่ายขวาล่าล้างและกลับมาออกมาเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” (ถึงตัวเธอจะหนีเข้าป่าตั้งแต่ปี 2515 และไม่กลับออกมาจนปี 2526 ก็ตาม) ทว่าเรื่องของสหายขวัญต่างไปอย่างสำคัญในแง่ของการศึกษา ที่ตัวเธอประทับใจไม่รู้ลืมต่อการศึกษาที่ได้รับในโลกคอมมิวนิสต์ ห่างไกลจากความรู้สึกว่ามันตีกรอบความคิดอย่างคับแคบหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง สำหรับสหายขวัญ มันกลับเป็นเบ้าหลอมให้เธอเป็นคนกล้าหาญ กล้าแสดงออก และให้เธอสามารถทำตนเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ การได้เป็น “นักศึกษา” คือโอกาสครั้งสำคัญในชีวิตที่ยังตราตรึงแจ่มชัดในความทรงจำ ความตราตรึงนั้นบอกได้จากการที่เธอเลือกใช้ชื่อ “ขวัญ” เป็นชื่อเล่นนับตั้งแต่ออกมาจากป่าจนกระทั่งทุกวันนี้
This is a story about a girl’s dream of education beyond Grade 4 becoming reality in a completely unexpected way.
Caught in the tug-of-war that was the civil war between the Thai state and the Communist Party of Thailand (CPT), she left her home community for the jungle at the age of sixteen. In the context of this civil war in the 1970s, to enter the jungle (khao pa) meant joining the so-called ‘communist terrorists’ according to the Thai state. Like the predominant storyline of ‘student comrades’ fleeing rightist violence for the jungle, Comrade Khwan, a code name of Ms. Buppha (who asked that her last name be withheld), was likewise pushed into the jungle by the lack of safety, although she fled several years before and returned several years after most of them.
Where this story dissents from the predominant storyline is the value placed on education received in the communist world. Rather than cookie-cutter, stifling, or ultimately useless, Comrade Khwan’s education was a crucible of character that allowed her to be of use. Being chosen to be a student as a ‘peasant comrade’ was instrumental for her life afterward as well, as evidenced by her adoption of ‘Khwan’ as her nickname to this day.
https://sis.or.th/comrade-khwan-education-th/