วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 03, 2567
ศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตย... แก้ไขดี หรือ ยกเลิกดี ?
ภาพจาก ศาลรัฐธรรมนูญ ในระบอบปฏิปักษ์ประชาธิปไตย | นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชนออนไลน์ (https://www.matichonweekly.com/nidhi/article_613188)
.....
Arnon Mamout
18h
·
ข้อที่น่าจะต้องทบทวนแก้ไขเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญไทย
มีสามเรื่องครับ
1. อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้ระบบไต่สวน
2.ละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
3. ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
รายละเอียดดังนี้ครับ
1. อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้ระบบไต่สวน :
ให้คู่ความมีโอกาสอย่างแท้จริงหรือไม่ ในการโต้แย้งหรือเห็นข้อเท็จจริงหรือความเห็นของพยานที่ศาลได้มาจากการอ้างอำนาจไต่สวนของศาล
โดยส่วนตัว ผมมีความเห็นว่า ศาลต้อง "แบ" และ “สรุป” ข้อเท็จจริงหรือความเห็นพยานที่ศาลได้มาโดยอ้างอำนาจศาล ให้คู่ความได้มีโอกาสโต้แย้ง (ลองดูกลไกของศาลปกครองที่ใช้ระบบไต่สวนเช่นกัน เป็นข้อเปรียบเทียบในแง่ความเป็นธรรม)
ผมเสนอแก้ไขเรื่องนี้ ทำได้ครับ โดยการแก้ พรป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
2.ละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ :
ศาลรัฐธรรมนูญต้องมีกรอบในการอ้างใช้อำนาจลงโทษเรื่องละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
กรอบคือ ศาลต้องไม่มีอำนาจอ้างอำนาจดังกล่าวในกรณีบุคคลวิจารณ์คำวินิจฉัยของศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากการกระบวนพิจารณาได้จบลงแล้ว เพราะกรณีดังกล่าวสามารถไปว่ากันในความผิดฐานดูหมิ่นศาลตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลอื่น ๆ ในระบบกฎหมายก็ไม่มีอำนาจลงโทษเรื่องละเมิดอำนาจหลังจากที่กระบวนพิจารณาสิ้นสุดลง หากแต่ใช้เรื่องดูหมิ่นศาลเช่นกัน
ผมเห็นว่า อันตรายคือ ศาลรัฐธรรมูญกลับมีอำนาจลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีดังกล่าวโดยไม่ควรจะมี
น่ากลัวตรงที่การอ้างอำนาจลงโทษเรื่องละเมิดอำนาจศาล เท่ากับว่า ศาลลงมาดำเนินการหรือจัดการต่อบุคคลที่ศาลเห็นว่าผิดได้ด้วยตัวศาลเอง
ปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างอำนาจดังกล่าวได้เพราะความผิดพลาดจากการออกข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ที่เกินเลยกว่ากฎหมายแม่บท (พรป.)
นี่ยังไม่พูดถึงว่า ศาลรัฐธรรมนูญควรมีอำนาจลงโทษจำคุกหรือไม่?
ทางแก้ยังมีครับ คือ การแก้ไข พรป. วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ชัดขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและตีกรอบอำนาจศาลรัฐธรรมนูญให้เหมือนศาลอื่นภายใต้แนวคิดว่าเรื่องละเมิดอำนาจศาลมีขึ้นเพื่อคุ้มครองช่วงเวลาการทำงานของศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่ใช่เลยเถิดไปถึงการทำงานของศาลที่จบลงแล้ว
3. ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ :
เรื่องนี้หลายท่านทราบดี ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรมีที่มาอย่างไร
ทางแก้คือ แก้ไขเรื่องที่มา ที่ต้นทางหลักคือ รัฐธรรมนูญครับ
Panya Chansrijaroen
ไม่จำเป็นต้องมีศาลรธน.เพราะตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสร้างแต่วิกฤติ
Manu CH
ศาล ค. แบบนี้...อย่ามีเลยครับ ยุบเถอะ...