‘ทนายด่าง’ มีคำถามหลายอย่าง เรื่องตำรวจไป ‘อุ้มหยก’ เมื่อวันก่อนนั้น ดูตัวบทกฎหมายว่ามีความชอบธรรมดีแล้วหรือ แรกเริ่มเลยทีเดียว “ศาลอาญากรุงเทพฯ ใต้ มีอำนาจออกหมายจับเยาวชนหญิง” หรือไม่
นอกเหนือจากนั้น การออกหมายจับดังกล่าว “เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กหรือเยาวชนหรือไม่” เยาวชนหญิงผู้ถูกออกหมาย “มีโอกาสพบปรึกษาหารือกับผู้ไว้วางใจ ที่ปรึกษากฎหมาย...หรือสหวิชาชีพหรือไม่”
น่าสังเกตุว่าการเข้าอุ้มจับกุม ‘เยาวชนหญิง’ คนนั้น เต็มไปด้วยเจ้าพนักงานชาย ทั้งจากหน่วยตำรวจศาล และ รปภ.ของศาล เห็นมีแต่เจ้าหน้าที่หญิงอยู่คนเดียว ที่พยายาเกลี้ยกล่อมให้ยอมลุกเดินตาม แต่แล้วเจ้าหน่าที่ชายทั้งนั้นที่เข้าไป ‘หิ้ว’
อีกอย่าง “ทำไมต้องให้ตำรวจศาลที่เป็นคู่กรณี การทะเลาะวิวาทในคดีที่เกิดขึ้นก่อนหน้า มาเป็นผู้จับกุมเยาวชนด้วย” ล่ะ อยากรู้ว่า “มันมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร” เรื่องสำคัญการจับกุม ‘หยก’ ธนลภย์ ครั้งนี้
“เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันการอุ้มหายทรมาน และการทำให้สาบสูญหรือไม่ อย่างไร” ทนาย กฤษฎางค์ นุตจรัส บอกว่า “กฎหมายดังกล่าวบัญญัติขั้นตอนการจับกุมผู้ต้องหาหรือบุคคลตามหมายจับ ไว้อย่างชัดเจน”
ว่าต้องมีการบันทึกภาพขณะจับกุม เจ้าหน้าที่ต้องแสดงตน แสดงบัตรประจำตัว “เมื่อจับกุมแล้วต้องแจ้งพนักงานอัยการหรือฝ่ายปกครอง เป็นต้น” ตำรวจศาลและคณะ รปภ.ได้ทำตามนั้นกันหรือเปล่า หากลุแก่อำนาจไม่ได้ทำ
จะเป็น “เรื่องใหญ่ เพราะมันท้าทายต่อศรัทธาที่ประชาชน มีต่อศาลยุติธรรมของเรา ซึ่งเป็นของพวกเราทั้งหมด ไม่ใช่ของท่าน หรือของผู้มีอำนาจเท่านั้น”
หมายเหตุ การจับกุมครั้งนี้เกิดขึ้นที่บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ขณะ ‘หยก’ #เยาวชน วัย ๑๕ ปีกำลัง “เริ่มกิจกรรมยืน หยุด ขัง ใส่ชุดดำไว้อาลัยกระบวนการยุติธรรม” เจ้าหน้าที่นำหมายจับ #คดีละเมิดอำนาจศาล ไปแสดงเพื่อการจับกุม