@scopi_no ·14h
คนแก่หลายคนเข้าไม่ถึงสวัสดิการ เบี้ยชราไม่พอใช้ บางคนก็ไม่มี หาเช้ากินค่ำ ไม่มีเงินเก็บ ลูกหลานก็ไม่ส่งเงินให้ ต้องหาอาชีพทำขนม เก็บผัก ไปตากแดดขายจนเป็นฮีทสโตรก ยิ่งคนมีโรคประจำตัวเป็นความดันจะมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่ม ก้าวไกลพยายามผลักดันสวัสดิการ 3,000 นี้มาตลอด #เบี้ยผู้สูงอายุ
คณะกรรมการพิสูจน์ความจน #เบี้ยผู้สูงอายุ pic.twitter.com/vq38k0uDRd
— Bangkokgag (@bangkokgag) August 14, 2023
พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ทั้งหมดควรประกาศจุดยืนว่าจะทบทวนนโยบายเรื่อง #เบี้ยผู้สูงอายุ ของรัฐบาลรักษาการ https://t.co/hrn4LzkZmc
— Sunai (@sunaibkk) August 14, 2023
.....
เดชรัต สุขกำเนิด @Decharut114
สวัสดิการถ้วนหน้า VS กระตุ้นเศรษฐกิจ VS สังคมสงเคราะห์ ช่วงที่ผ่านมา สื่อหลายแหล่งพยายามเปรียบเทียบเม็ดเงินของนโยบายที่แต่ละพรรคการเมืองใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยมิได้พิจารณาวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของแต่ละนโยบาย
ผมจึงอยากชี้ให้เห็นนโยบายที่แต่ละพรรคเสนอมามีความแตกต่างกัน ตั้งแต่วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวิธีดำเนินการ เพราะฉะนั้น การนำมาเทียบกันเฉพาะเม็ดเงิน:เม็ดเงิน จึงไม่เพียงพอในการพิจารณา (มีต่อ)
นโยบายสวัสดิการถ้วนหน้า (หรือรัฐสวัสดิการ) ไม่ได้เริ่มต้นจากเม็ดเงินที่ประชาชนจะได้รับ แต่เริ่มต้นจากสิทธิที่พื้นฐานที่ประชาชนพึงมี เพราะฉะนั้นสวัสดิการที่รัฐจัดให้จึงเป็นสวัสดิการที่ได้รับแบบถ้วนหน้าในระยะยาว ตามกลุ่มวัยและเงื่อนไขที่รัฐกำหนด (ไว้ในกฎหมาย) โดยไม่ต้องพิสูจน์ความจนของประชาชนที่ได้รับสวัสดิการ
เป้าหมายของนโยบายสวัสดิการถ้วนหน้าอยู่ที่การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลง ทั้งความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางโอกาส แต่เนื่องจากเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้ในระยะยาว การเพิ่มสวัสดิการถ้วนหน้าจึงมักควบคู่มากับการปรับปรุงระบบภาษีและงบประมาณในสังคมนั้นๆ ด้วย
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หากเป็นการกระตุ้นในฝั่งdemand ก็มักจะมีการจัดสรรเม็ดเงินไปให้กับประชาชน (โดยใช้ชื่อเรียกและวิธีการที่ต่างกัน) เพื่อให้ประชาชนนำไปจับจ่ายใช้สอย เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว/เติบโตเร็วขึ้น ซึ่งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมักใช้ในระยะสั้น (ที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว/ฝืดเคือง) โดยใช้ตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด และไม่ค่อยจำเป็นต้องมีการร่างกฎหมายขึ้นมากำกับ (ยกเว้น เพื่อกู้ยืมเงินเพิ่ม) เป้าหมายของนโยบายนี้คือ เพิ่ม GDP หรืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
นโยบายเชิงสังคมสงเคราะห์ จะเน้นการเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่มีความยากไร้หรือมีรายได้น้อยให้พ้นจากความขัดสน มาตรการความช่วยเหลือส่วนใหญ่ยังไม่ใช่สิทธิพื้นฐานของประชาชน แต่เป็นความช่วยเหลือที่รัฐบาลหยิบยื่นให้ ซึ่งผู้รับมักจะต้องพิสูจน์ความจน (หรือพิสูจน์ว่าเข้าเกณฑ์) ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือ มาตรการเชิงสังคมสงเคราะห์อาจดำเนินการได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเนื่องจากจำนวนผู้ได้รับประโยชน์มักจะถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขที่รัฐบาลตั้งขึ้น ทำให้งบประมาณที่ใช้จึงน้อยกว่าระบบสวัสดิการถ้วนหน้า รัฐบาลที่ใช้แนวทางนี้นจึงไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลไกภาษีและระบบงบประมาณ
นโยบายทั้งสามลักษณะจึงใช้เพื่อตอบโจทย์ที่ต่างกัน ในระยะเวลาที่ต่างกัน บนหลักการพื้นฐานที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น การพิจารณาที่เม็ดเงินอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จุดสำคัญที่ต้องพิจารณา (นอกจากเรื่องความเป็นไปได้ทางการคลัง) คือ การใคร่ครวญโจทย์ใดกันแน่คือ โจทย์ที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยในเวลานี้ ความเหลื่อมล้ำ หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือความยากจน
อย่างไรก็ดี นโยบายทั้งสาม มิได้ขัดแย้งกันแบบสิ้นเชิง หลายประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการก็อาจกระตุ้นเศรษฐกิจในบางช่วงเวลาควบคู่กันไปด้วย หรือบางประเทศอาจเลือกระบบสวัสดิการถ้วนหน้าในบางด้านก่อน และใช้ระบบสังคมสังเคราะห์สำหรับกลุ่มคนบางกลุ่ม สำหรับด้านที่มีความพร้อมน้อยกว่า เป็นต้น
สำหรับพรรคก้าวไกล โจทย์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสังคมไทยในเวลานี้คือ การลดความเหลื่อมล้ำ ระบบสวัสดิการถ้วนหน้าจึงมีความจำเป็น และแม้จะต้องปรับปรุงระบบภาษีและงบประมาณควบคู่ไปด้วย ก็เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะถ้าประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสในการดำรงชีพและพัฒนาตนเองได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้นแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบถ้วนหน้าและเป็นธรรม (หรือ inclusive growth) ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นเดียวกับการกำจัดความยากจนให้หมดไปจากสังคมไทยในเร็ววัน (ต่อตอน 2 พรุ่งนี้)
ที่มา https://twitter.com/Decharut114/status/1648221822989799425
สวัสดิการถ้วนหน้า VS กระตุ้นเศรษฐกิจ VS สังคมสงเคราะห์ ช่วงที่ผ่านมา สื่อหลายแหล่งพยายามเปรียบเทียบเม็ดเงินของนโยบายที่แต่ละพรรคการเมืองใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยมิได้พิจารณาวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของแต่ละนโยบาย
ผมจึงอยากชี้ให้เห็นนโยบายที่แต่ละพรรคเสนอมามีความแตกต่างกัน ตั้งแต่วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวิธีดำเนินการ เพราะฉะนั้น การนำมาเทียบกันเฉพาะเม็ดเงิน:เม็ดเงิน จึงไม่เพียงพอในการพิจารณา (มีต่อ)
นโยบายสวัสดิการถ้วนหน้า (หรือรัฐสวัสดิการ) ไม่ได้เริ่มต้นจากเม็ดเงินที่ประชาชนจะได้รับ แต่เริ่มต้นจากสิทธิที่พื้นฐานที่ประชาชนพึงมี เพราะฉะนั้นสวัสดิการที่รัฐจัดให้จึงเป็นสวัสดิการที่ได้รับแบบถ้วนหน้าในระยะยาว ตามกลุ่มวัยและเงื่อนไขที่รัฐกำหนด (ไว้ในกฎหมาย) โดยไม่ต้องพิสูจน์ความจนของประชาชนที่ได้รับสวัสดิการ
เป้าหมายของนโยบายสวัสดิการถ้วนหน้าอยู่ที่การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลง ทั้งความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางโอกาส แต่เนื่องจากเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้ในระยะยาว การเพิ่มสวัสดิการถ้วนหน้าจึงมักควบคู่มากับการปรับปรุงระบบภาษีและงบประมาณในสังคมนั้นๆ ด้วย
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หากเป็นการกระตุ้นในฝั่งdemand ก็มักจะมีการจัดสรรเม็ดเงินไปให้กับประชาชน (โดยใช้ชื่อเรียกและวิธีการที่ต่างกัน) เพื่อให้ประชาชนนำไปจับจ่ายใช้สอย เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว/เติบโตเร็วขึ้น ซึ่งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมักใช้ในระยะสั้น (ที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว/ฝืดเคือง) โดยใช้ตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด และไม่ค่อยจำเป็นต้องมีการร่างกฎหมายขึ้นมากำกับ (ยกเว้น เพื่อกู้ยืมเงินเพิ่ม) เป้าหมายของนโยบายนี้คือ เพิ่ม GDP หรืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
นโยบายเชิงสังคมสงเคราะห์ จะเน้นการเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่มีความยากไร้หรือมีรายได้น้อยให้พ้นจากความขัดสน มาตรการความช่วยเหลือส่วนใหญ่ยังไม่ใช่สิทธิพื้นฐานของประชาชน แต่เป็นความช่วยเหลือที่รัฐบาลหยิบยื่นให้ ซึ่งผู้รับมักจะต้องพิสูจน์ความจน (หรือพิสูจน์ว่าเข้าเกณฑ์) ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือ มาตรการเชิงสังคมสงเคราะห์อาจดำเนินการได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเนื่องจากจำนวนผู้ได้รับประโยชน์มักจะถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขที่รัฐบาลตั้งขึ้น ทำให้งบประมาณที่ใช้จึงน้อยกว่าระบบสวัสดิการถ้วนหน้า รัฐบาลที่ใช้แนวทางนี้นจึงไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลไกภาษีและระบบงบประมาณ
นโยบายทั้งสามลักษณะจึงใช้เพื่อตอบโจทย์ที่ต่างกัน ในระยะเวลาที่ต่างกัน บนหลักการพื้นฐานที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น การพิจารณาที่เม็ดเงินอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จุดสำคัญที่ต้องพิจารณา (นอกจากเรื่องความเป็นไปได้ทางการคลัง) คือ การใคร่ครวญโจทย์ใดกันแน่คือ โจทย์ที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยในเวลานี้ ความเหลื่อมล้ำ หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือความยากจน
อย่างไรก็ดี นโยบายทั้งสาม มิได้ขัดแย้งกันแบบสิ้นเชิง หลายประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการก็อาจกระตุ้นเศรษฐกิจในบางช่วงเวลาควบคู่กันไปด้วย หรือบางประเทศอาจเลือกระบบสวัสดิการถ้วนหน้าในบางด้านก่อน และใช้ระบบสังคมสังเคราะห์สำหรับกลุ่มคนบางกลุ่ม สำหรับด้านที่มีความพร้อมน้อยกว่า เป็นต้น
สำหรับพรรคก้าวไกล โจทย์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสังคมไทยในเวลานี้คือ การลดความเหลื่อมล้ำ ระบบสวัสดิการถ้วนหน้าจึงมีความจำเป็น และแม้จะต้องปรับปรุงระบบภาษีและงบประมาณควบคู่ไปด้วย ก็เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะถ้าประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสในการดำรงชีพและพัฒนาตนเองได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้นแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบถ้วนหน้าและเป็นธรรม (หรือ inclusive growth) ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นเดียวกับการกำจัดความยากจนให้หมดไปจากสังคมไทยในเร็ววัน (ต่อตอน 2 พรุ่งนี้)
ที่มา https://twitter.com/Decharut114/status/1648221822989799425