วันพุธ, มีนาคม 22, 2566

Cesium-137 รัฐแถลงไม่ชัดเจน มีหลายสิ่งที่ควรแถลงให้ประชาชนรับทราบ


Sirianong Serene Namwongprom
15h
Cesium-137 ที่เป็นประเด็นในวันนี้ เป็นวัสดุกัมมันตรังสี
- ตรวจพบจริงในฝุ่นแดง แต่ต้องสืบต่อว่า มาจากก้อนที่หายหรือไม่ (ขอให้ใช่ ถ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่แน่นอน)
- ความแรงตั้งต้น 41 mCi เทียบเป็นน้ำหนัก 0.00047 กรัม กรุณาอย่าเอาไปเทียบกับ เชอร์โนบิล นะคะ อันนั้น 27 กิโลกรัม
- ฝุ่นแดงใน Big bag 24 ตัน ตามรูป ความแรงที่วัดได้ระยะห่าง 30 cm เท่ากับ 129mSV/hr แต่หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการ เอ่ยว่า ที่ระยะ 2 เมตรวัดได้ 3 mSV/hr ซึ่งสามารถเอามาประเมิณถึงอันตรายต่อผู้สัมผัสใกล้ชิดได้คร่าวๆว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดต้องเอาไปนอนกอด 15 ชั่วโมงถึงจะก่อให้เกิดแผลที่ผิวหนังแบบที่แชร์กัน
- ฝุ่นโลหะ คาดว่าปนเปื้อนวันที่ 4-5 มีนาคม ยังอยู่ในจัดเก็บในที่มิดชิด ในพื้นที่ควบคุม ไม่ได้ฟุ้งกระจายหรือผ่านกระบวนการกำจัดอื่นๆ แต่ในรูปนั้นคืออะไร
ย้อนไปที่ประเด็นที่เคยตั้งคำถามไปแล้วแต่ยังไม่ได้คำตอบ คือ
- โรงงานที่หลอมเหล็ก กระทำในระบบปิดหรือไม่ เพราะฝุ่นที่เกิดจากกระบวนการหลอมในโรงงานแรกนี่แหละสำคัญ ถ้าไม่ใช่ระบบปิดโอกาสฟุ้งกระจายมีสูงมาก
- ผู้สัมผัสในกระบวนการหลอม โดยเฉพาะช่วงหลอม มีใครบ้าง กลุ่มนี้คือผู้มีโอกาสเสี่ยงสูงและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
สุดท้าย คนไทยยังมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการใช้รังสีทางการแพทย์และอุตสาหกรรมน้อยมากอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ปัจจุบันการนำมาใช้อยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.2562 การแชร์ข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่าน platform ต่างๆ ควรใช้ความตระหนักอย่างสูง บางแหล่งใช้หมายเหตุสั้นๆ ว่าค้นมาจากแหล่งต่างๆนะ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็โหมแชร์กันจัง
เพิ่มเติมจากคำถามหลังไมค์
- ปริมาณรังสีในฝุ่นแดง Big bag 24 ตัน ไม่น่าเป็นห่วงว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างจากการตรวจวัดโดยผู้เชี่ยวชาญ
แต่ประเด็นหลักที่ยังไม่ได้คำตอบจากหน่วยงานใด คือ
- การปนเปื้อนที่น่าเป็นห่วงคือพื้นที่รอบๆโรงหลอมเหล็กโรงงานแรก ซึ่งยังต้องการคำตอบว่ากระบวนการหลอมกระทำอย่างไรตอนกระเทาะเปลือกและกระทำในระบบปิดหรือไม่ เพราะตัวเหล็กเองไม่มีรังสีตกค้าง แต่ฝุ่นที่เกิดจากตอนหลอมมีรังสีแน่นอน แยกเป็น
1. ผู้เสี่ยงสัมผัสสูงจากกระบวนการหลอม แว่วว่าโรงงานนี้มีพนักงานกว่า 70 ชีวิต
2. ประชาชนที่อยู่ในรัศมีวงรอบของโรงงาน ซึ่งอาจจะมีการฟุ้งกระจายจากปล่องควันได้ ถ้าไม่ใช่ระบบปิด
ซึ่งควรจัดตั้งทีมเพื่อติดตามผลกระทบอย่างจริงจังและติดตามผลในระยะยาว
- เรื่องนี้ยังต้องตามกันต่อนะคะ-
#drKK

Sirianong Serene Namwongprom
1d
Cesium-137
ความชัดเจนของรัฐในความไม่ชัดเจน
สิ่งที่ควรแถลงให้ประชาชนรับทราบ
-วันและเวลาที่ถูกหลอม Cs-137 ตั้งต้น ประมาณ 40 mCi
- กระบวนการในการหลอม : กระทำในห้องปิดหรือไม่ มีการจัดการเรื่องอากาศอย่างไร ใครคือผู้สัมผัสบ้าง และตอนนี้เข้าสู่กระบวนการในการติดตามและรักษาอย่างไร
- การจัดการพื้นที่รังสี
- Final product ของกระบวนการ คืออะไรบ้าง แต่ละอย่างคาดว่าจะมีรังสีคงค้างเท่าไหร่ มีโอกาสที่จะแพร่กระจายในช่องทางไหนบ้าง บริเวณไหนที่มีความเสี่ยง แจ้งให้ผู้มีโอกาสสัมผัสให้ทราบและระวังตัว
- อย่าก่อให้เกิดภาวะ panic ต่อสารกัมมันตรังสี สารแต่ละชนิดมีความแรงและอันตรายต่างกัน สิ่งที่ควรสื่อสารคือความจริงค่ะ
-ตอนนี้ให้สอบตกนะคะ-

Puangthong Pawakapan
·
ประเทศบ้ามีแต่คนใหญ่คับฟ้าทีาไม่ต้องรีบผิดชอบกับอะไรทั้งสิ้น
บริษัทที่ทำ #ซีเซียม137 หาย “เมื่อไปถึงโรงไฟฟ้า ตำรวจจะเข้า ยังเข้าไม่ได้เลย ท่านผู้ว่าฯ ไป ยังเข้าไม่ได้เลย” พล.ต.ต. วินัยกล่าว
ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร คือ นายสิทธิพร รัตโนภาส อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
https://www.bbc.com/thai/articles/c2j7njl7lpro...