วันพฤหัสบดี, มีนาคม 30, 2566

ทำไม "พระบรมมหาราชวัง" ไม่ถูก “กรมศิลปากร” จัดให้เป็นโบราณสถาน!? แล้วเงินค่าเข้าที่เก็บจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เข้ากระเป๋าวัง หรือ แผ่นดิน


Saiseema Phutikarn
5h

<ทำไม “พระบรมมหาราชวัง” ไม่ถูก “กรมศิลปากร” จัดให้เป็นโบราณสถาน!?>
เห็นกลุ่ม #คนรักโบราณสถาน แสดงความเป็นห่วงว่าการพ่นสี No12 บนกำแพงวังจะเป็นการทำลายโบราณสถานอันล้ำค่าของชาติ ที่จริงแล้วที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าเรื่องการถูกทำลายด้วยสีสเปร์ก็คือ ทำไมในฐานข้อมูล GIS ของกรมศิลปากร ที่รวบรวมรายชื่อโบราณสถานทั่วทั้งประเทศ ถึงไม่มี "พระบรมมหาราชวัง"(และวัดพระแก้ว)รวมอยู่ด้วย ทั้งที่ถ้าดูสถานที่ข้างๆ ก็ถูกจัดให้เป็นโบราณสถานเต็มไปหมด บางอันก็เป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว บางอันก็เป็นโบราณสถานที่รอการขึ้นทะเบียน
-ระบบ GIS กรมศิลปากร
https://gis.finearts.go.th/fineart/
ท้าวความก่อนว่าตามนิยาม "โบราณสถาน" ในพรบ.โบราณสถานฯ 2505 เขียนไว้กว้างมาก คือระบุว่าคือ "อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย" โดยให้อำนาจ กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่เห็นว่าควรถูก "ดูแลรักษา และ ควบคุมฯ" ซึ่งก่อนขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรก็จะไปสำรวจมาก่อนว่ามีสถานที่ใดบ้างที่เข้าข่ายควรเป็นโบราณสถาน แล้วรวบรวมเผยแพร่รายชื่อ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ก็จะมีสถานะเป็น "โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน" คือมีความเป็นโบราณสถานแต่อยู่ระหว่างกระบวนการขึ้นทะเบียนต่อไปในอนาคต เพราะการขึ้นทะเบียนต้องมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจ ทำแผนที่ ฯลฯ ซึ่งบางทีกรมศิลปากรก็ไม่มีทรัพยากรพอที่จะทำได้ทัน หลายที่ก็เลยมีสถานะเป็น โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนมาเป็นสิบๆปี
-พรบ.โบราณสถาน ฯ ๒๕๐๔
https://th.wikisource.org/wiki/พระราชบัญญัติโบราณสถาน_โบราณวัตถุ_ศิลปวัตถุ_และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ_พ.ศ._๒๕๐๔/๒๕๓๕.๐๓.๒๙
กลับมาที่สถานะของ "พระบรมมหาราชวัง" เกือบทั้งหมดของคนที่อ้างว่าพระบรมมหาราชวังเป็นโบราณสถาน จะอ้างไปถึงข้อมูลใน Wikipedia ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือในหน้า "พระบรมมหาราชวัง" และหน้า "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จะระบุว่าเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร แต่ในหน้า "รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)" กลับระบุว่า "ยังไม่ขึ้นทะเบียน" โดยทั้งสองแหล่งให้เลขอ้างอิง "0005574" เหมือนกัน แต่ทั้งคู่ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่ของข้อมูล ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงๆแล้ว "พระบรมมหาราชวัง" เป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรหรือยังไม่ขึ้นทะเบียนกันแน่ ทำให้ข้อมูลเรื่องนี้ใน Wikipedia ไม่มีความน่าเชื่อถือให้อ้างอิงได้
-Wikipedia รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)
https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร_(เขตพระนคร)
-Wikipedia พระบรมมหาราชวัง
https://th.wikipedia.org/wiki/พระบรมมหาราชวัง
หรือจริงๆแล้ว "พระบรมมหาราชวังฯ" ไม่ได้ถูกกรมศิลปากรจัดให้เป็นโบราณสถาน ? เพราะข้อมูลโบราณสถานจากระบบ GIS ของกรมศิลปากร ไม่มี "พระบรมมหาราชวัง"
แต่หลายคนก็คงไม่อยากจะเชื่อว่า "พระบรมมหาราชวัง" จะไม่ถูกกรมศิลปากรจัดให้เป็น "โบราณสถาน" (ตอนแรกผมเองก็ไม่เชื่อ) เพราะไม่ว่ามองในแง่ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มันก็ต้องเข้าข่ายเป็นโบราณสถานทั้งหมด แต่เมื่อได้ไปอ่าน ประกาศรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพฯ ที่ประกาศโดยกรมศิลปากร ลงราชกิจจาในปี 2561 ก็ต้องยอมเชื่อ เพราะในพื้นที่เขตพระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง กลับไม่มีชื่อ "พระบรมมหาราชวัง" เป็นโบราณสถานอย่างไม่น่าเชื่อ
- ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2144703.pdf
ทั้งนี้ต้องอธิบายเพิ่มว่า ประกาศนี่รวมเฉพาะรายชื่อโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งโบราณสถานดังๆ ส่วนใหญ่ในกรุงเทพที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้ว จึงไม่มีชื่ออยู่ในประกาศนี้ แบบนี้หลายคนคงสงสัย ที่ไม่มีชื่อ "พระบรมมหาราชวัง" ก็เพราะ"พระบรมมหาราชวัง"เป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วไง อันนี้ก็ไม่ใช่ เพราะถ้าขึ้นทะเบียนไปแล้ว นอกจากจะต้องปรากฎอยู่ในฐานข้อมูล GIS แล้วยังต้องมีการประกาศในราชกิจจาฯ ซึ่งจากการสืบค้นไม่พบว่าเคยมีการประกาศ "ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน" ของ "พระบรมมหาราชวัง" ในราชกิจจาฯมาก่อน
ดังนั้นด้วยข้อมูลหลักฐานที่พบถึงตอนนี้ จึงน่าจะสรุปได้อย่างเดียวว่า "พระบรมมหาราชวังฯ" ไม่ได้ถูกกรมศิลปากรจัดให้เป็น "โบราณสถาน"
นอกจากนี้อีกเรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิดก็คือ ถ้าเป็น "ทรัพย์สินส่วนตัว" จะไม่ถือเป็น "โบราณสถาน" ทั้งที่ตามกฎหมายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น "ทรัพย์สินแผ่นดิน" หรือ "ทรัพย์สินส่วนตัว" ก็เป็นโบราณสถาน (รอการขึ้นทะเบียน) ได้ทั้งคู่ ดังจะเห็นตัวอย่างในประกาศกรมศิลปากร ที่หลายสถานที่ซึ่งถูกประกาศให้เป็นโบราณสถาน(ที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน) ก็เป็นทรัพย์สินของเอกชน เช่น สาขาของธนาคาร หรือ ตึกแถว ฯลฯ เพียงแค่ในตอนที่กรมศิลปากรจะดำเนินการขึ้นทะเบียน กรณีเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ถ้าเจ้าของไม่ต้องการให้ขึ้นทะเบียน ก็สามารถจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนได้ แต่สถานที่นั้นก็ยังเป็นโบราณสถานต่อไปแต่เป็นโบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน เท่านั้น
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเจ้าของเอกชนจะไม่อยากให้สมบัติของตนกลายเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียน คำตอบก็คือ ถ้ากลายเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว แม้จะเป็นทรัพย์สินเอกชน การซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม ทำลาย จะทำไม่ได้เลย ยกเว้นเป็นการอนุญาตจากกรมศิลปากร ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยกตัวอย่างเช่น ตอนจะทุบโรงหนังสกาล่า มีความพยายามจะไปยื่นหนังสือเสนอให้กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเพื่อป้องกันผู้เช่าที่ดินจากจุฬาทุบโรงหนังทิ้งเพื่อสร้างอาคารใหม่ แต่กรมศิลปากรเห็นว่าไม่เข้าข่ายเป็นโบราณสถาน การพัฒนาพื้นที่จึงดำเนินการต่อไปได้
แต่ถึงเป็นทรัพย์สินแผ่นดิน หลายครั้ง หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ก็ไม่อยากจะได้สถานะ "โบราณสถาน" ใดๆทั้งสิ้น เพราะถึงจะเป็นโบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน ถ้ายึดตามตัวบทโดยเคร่งครัด เวลาจะปรับปรุง รื้อถอน ก็ต้องไปขอกรมศิลปากรก่อนเช่นกัน เช่นกรณี "อาคารศาลฎีกาเดิม" ที่สำนักงานศาลฎีกาต้องการจะทุบอาคารแบบอาร์ตเดโคสมัยคณะราษฎรทิ้ง แล้วสร้างอาคารทรงไทยใหม่ขึ้นแทน แต่เนื่องจาก กรมศิลปากร เคยจัดให้อาคารศาลฎีกาเป็นโบราณสถาน (ที่รอการขึ้นทะเบียน) เมื่อเห็นมีการก่อสร้างทุบอาคารจึงออกมาเตือนศาลฎีกา ว่าอาคารนี้เป็นโบราณสถาน ห้ามทุบ ห้ามทำลายน่ะ ไม่งั้นมีโทษจำคุก แต่มีหรือที่องค์กรอย่าง "ศาลฏีกา" จะกลัวคำขู่ทางกฎหมายจากหน่วยงานอย่าง กรมศิลปากร สุดท้ายสำนักงานศาลฎีกาก็ไม่สนใจ โดยอ้างว่าในเมื่อยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนประกาศในราชกิจจาก็ไม่ถือเป็นโบราณสถาน (ตรูจะทุบ มรึงจะทำไม ถ้ามีปัญหาก็ไปฟ้องศาลเอาสิ หุหุ) ทำให้ตอนอาคารศาลฎีกา ที่เป็นโบราณสถานถูกทุบทิ้ง กรมศิลปากรก็ได้แต่ยืนดูตาปริบๆ พออาคารใหม่สร้างเสร็จ สุดท้ายกรมศิลปากรก็ใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการไม่ใช่ชื่อ อาคารศาลฎีกา ในรายชื่อโบราณสถานแบบเนียนๆ (ก็อาคารมันโดนทุบไม่เหลือซากแล้ว)
-รื้อ...อาคารศาลฎีกา สองมาตรฐานทางกฎหมาย โดยองค์กรที่ถือกฎหมาย
https://isranews.org/.../18896-demolish-supreme-court.html
เข้าใจว่าที่กรมศิลปากร ต้องมารวบรวมรายชื่อโบราณสถาน (ที่อยู่ระหว่างขึ้นทะเบียน) แล้วออกประกาศในราชกิจจา ก็เนื่องมาจากกรณี "อาคารศาลฎีกา" ที่โดนทุบนั่นแหละ เพราะกรมศิลปากรจะบอกว่าเป็นโบราณสถานห้ามทุบ ศาลฎีกาก็อ้างว่าไม่ได้ประกาศในราชกิจจาไม่ถือเป็นโบราณสถาน คราวนี้กรมศิลปากรเลยแก้เกม ด้วยการรวบรวมรายชื่อโบราณสถานแล้วมาประกาศในราชกิจจา ทั้งๆที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเสียเลย
ถามว่ากรมศิลปากรทำแบบนี้ ได้ผลไหม? ก็ไม่ โดนทุบอยู่ดี ที่เห็นชัดก็คือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" (อนุสาวรีย์หลักสี่) ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อโบราณสถานที่รอการขึ้นทะเบียน ที่อยู่ในประกาศฉบับเดียวกัน ที่ได้เผยแพร่ในราชกิจจาวันที่ 12 ก.ค. 2561 แต่ในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในคืนวันที่ 27 ธ.ค. 2561 อนุสาวรีย์ทั้งหมดก็ถูก "อุ้ม" หายไปอย่างไร้ร่องรอย ไปถามหน่วยงานไหนก็ได้แต่ตอบว่า ม่ายรุๆ ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบ ทั้งๆที่ในแบบการก่อสร้างของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็มีอนุสาวรีย์อยู่ในแบบด้วย หลังจากพบว่าอนุสาวรีย์หาย กรมศิลปากรได้ไปแจ้งความดำเนินคดี แต่ผ่านมาหลายปีก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร ยังคงเป็นปริศนาดำมืดอีกเรื่องของสังคมไทย และล่าสุดในฐานข้อมูลโบราณสถานจากระบบ GIS ของกรมศิลปากรก็ไม่มีชื่อ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" อีกต่อไป
-อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โบราณสถานที่สูญหาย
https://prachatai.com/journal/2021/06/93729
สรุป ถ้าสถานะ "โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน" ที่ประกาศโดยกรมศิลปากรไม่สามารถช่วยปกป้องรักษาโบราณสถานนั้นได้ ขนาดมีการประกาศในราชกิจจาแล้วก็ยังไม่ช่วย ดังนั้นสำหรับคนที่เป็นห่วงสวัสดิภาพ อยากจะรักษา"พระบรมมหาราชวัง"ในฐานะ "โบราณสถาน"สำคัญของชาติ มีอยู่ทางเดียวก็ต้องทำหนังสือเร่งให้ "กรมศิลปากร" ดำเนินการขึ้นทะเบียน "พระบรมมหาราชวัง" เป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนให้เร็วที่สุด แม้ว่าภายใต้กฎหมายจัดระเบียบทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์ฉบับใหม่ ที่ออกมาในช่วงเผด็จการ คสช จะทำให้สถานะของ "พระบรมมหาราชวัง" เปลี่ยนจาก "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" กลายเป็น "ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" แต่ก็ไม่น่ามีเหตุผลอะไรที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ใหม่วจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไม่ใช่หรือ
.....
ค่าเข้านักท่องเที่ยวจีนเดี๋ยวนี้เท่าไหร่น่ะ
.
สรุปว่าเงินตรงที่นี้เข้ากระเป๋าวังโดยตรงเลยหรือป่าว
.
นั่นล่ะครับที่เราสงสัย
.
500 บาท ก่อนโควิดลง มีชาวต่างชาติเข้าชมเกิน 10000 คนต่อวัน
.....
Somsak Jeamteerasakul
1d
คัดมาจาก "มิตรสหายท่านหนึ่ง"
ว่าด้วยพระบรมมหาราชวังเป็นโบราณสถานหรือไม่?
พระบรมมหาราชวังในปัจจุบันไม่ได้มีสถานะเป็น "โบราณสถาน" และไม่ได้เป็น "ทรัพย์สินสาธารณะหรือของรัฐบาล" แล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะเมื่อ ปี พ.ศ. 2560 ได้มีการออกกฎหมาย "พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์" และต่อมาในปี 2561 เป็นกฎหมายที่ชื่อว่า "พ.ร.บ.ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" พูดง่าย ๆ คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินสาธารณะที่แต่เดิม วัดและวังที่เคยเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเคยขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง ได้เปลี่ยน มาเป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพียงถ่ายเดียว พระบรมมหาราชวังจึงถือเป็น "ทรัพย์สินส่วนตัว" ของในหลวง
ปัจจุบัน"พระบรมมหาราชวัง"จึงไม่ใช่สมบัติของชาติหรือของสาธารณะหรือเป็นโบราณสถานแต่อย่างใดตามกฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นเวลาใครบอกว่า วังหลวงเป็น โบราณสถาน หรือ สมบัติของชาติ จึง "ผิด" ซึ่งที่ถูกคือเป็นสมบัติของ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"