วันเสาร์, มีนาคม 25, 2566
นักเรียนที่อยู่รอบโรงงานหลอมเหล็กที่พบซีเซียม-137 ในปราจีนบุรี มีอาการไข้ เจ็บคอ กว่า 30 คน
บอล ธนวัฒน์ วงค์ไชย
@tanawatofficial
·8h
อย่าให้เรื่องนี้เงียบครับ ช่วยกันดันต่อไป #ซีเซียม137
.....
นักเรียนที่อยู่รอบโรงงานหลอมเหล็กที่พบซีเซียม-137 ในปราจีนบุรี มีอาการไข้ เจ็บคอ กว่า 30 คน บางรายไม่สามารถเดินทางมาโรงเรียนได้
วันนี้ ( 24 มี.ค. 66 )แพทย์และพยาบาล โรงพยาบาลกบินทร์บุรี ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านโคกกระท้อน ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี หลังได้รับแจ้งจากครูของโรงเรียนแห่งนี้ว่า มีนักเรียนทั้งชาย หญิง จำนวนหลายราย มีอาการเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ และบางรายไม่สามารถเดินทางมาโรงเรียนได้เนื่องจากมีไข้สูง จากการตรวจสอบ พบว่า เด็กมีอาการไข้ เจ็บคอ มาแล้วหลายวัน บางคนเริ่มมีอาการตาแดง ทางแพทย์ได้ทำการรักษาพร้อมจ่ายยาเบื้องต้นไปก่อน
ด้าน นายสงคราม ศรีสวัสดิ์ ประธานกลุ่มพื้นที่สุขภาพอำเภอกบินทร์บุรี กล่าวว่า เด็กส่วนใหญ่จะเป็นอาการในระบบทางเดินหายใจ มีไข้สูงมากเป็นบางคน มีไอ มีน้ำมูก เบื้องต้นเด็กมีอาการป่วยประมาณ 30 กว่าคนอยู่ในทุกระดับชั้น
ทั้งนี้ ฝากถึงผู้ปกครองถ้าบุตรหลาน มีอาการป่วยก็ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลกบินทร์บุรีได้ทันที ประกอบกับช่วงนี้มีสถานการณ์ซีเซียม -137 ทำให้ต้องเฝ้าระวัง และ ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด
สำหรับ โรงเรียนบ้านโคกกระท้อน เปิดทำการสอน ในระดับชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีพื้นที่ห่างจากโรงงานหลอมเหล็กที่พบซีเซียม -137 ในตำบลหาดนางแก้ว ประมาณ 3 กิโลเมตร
ข้อมูลจาก : ผู้สื่อข่าวจังหวัดปราจีนบุรี
ภาพจาก : ผู้สื่อข่าวจังหวัดปราจีนบุรี
ที่มา TNN Online
.....
Tara Buakamsri
Mar 22
การแถลงเช่นนี้ คือการลดทอนเรื่องราวของ “เหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี” กรณีซีเซียม-137 ให้กลายเป็นเรื่อง “รังสี” ในความหมายที่คับแคบ
กล่าวให้ชัดเจนลงไป นี่คือการตัดตอน “นิติวิทยาศาสตร์” ของการสืบค้นแท่งซีเซียม-137ที่สูญหายไปอย่างเป็นปริศนาและไร้ร่องรอย กล่าวคือ รังสีซีเซียม-137 ที่ตรวจพบมีระดับเท่ากับ CT-scan 1 ครั้ง = แท่งซีเซียม-137 ที่หายไป(ซึ่งไม่รู้ว่าไปไหน)มีอันตรายน้อย = ไม่ต้องไปสืบว่าแท่งซีเซียม-137 มันหายไปได้อย่างไร
ด้านหนึ่งยกเรื่อง CT-Scan ส่วนอีกด้านหนึ่ง บอกว่าจะมีมาตรการพิเศษเฝ้าระวัง มันย้อนแย้งและขัดกับสามัญสำนึกโดยสิ้นเชิง
การแถลงเช่นนี้คือความพยายามปกป้องผลประโยชน์อุตสาหกรรม คือโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งที่ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี และโรงหลอมเหล็ก ให้ลอยนวลจากความโปร่งใสและภาระรับผิด(accountability and liability)
เป็นการรับรองว่ากลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาค(ผลิตไฟฟ้าและผลิตโลหะที่เศษเหล็ก) สามารถที่จะก่อมลพิษหรือทำอะไรที่ไหนก็ได้ในประเทศนี้ พวกเขาไม่ผิด ไม่ผิดและไม่ผิด
การแถลงเช่นนี้ เท่ากับหน่วยงานรัฐทั้งหลาย ผู้เชี่ยวชาญที่รับใช้กลไกของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาที่มีส่วนในการสร้างวาทกรรมคับแคบเช่นนี้ กำลังกลืนน้ำลายตัวเอง ในขณะที่พร่ำบอกถึง หลักการผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และอะไรก็แล้วแต่ที่ บลา บลา บลา กลายเป็นเพียงลมปาก
สุดท้าย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส)จะต้องทำอย่างไรกับ พรบ. นิวเคลียร์เพื่อสันติ 2559 ในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศ จะต้องไปถอนฟ้อง “การแจ้งล่าช้า” ต่อโรงไฟฟ้าที่ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี เช่นนั้นหรือ
แล้ว ปส. จะเอาหน้าไปสู้กับความเป็น Nuclear Regulator มืออาชีพระดับอาเซียนได้อย่างไร และจะต้องอธิบายกับ IAEA ซึ่งเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการกับความเสี่ยงทางนิวเคลียร์และรังสีอย่างไร