วันอาทิตย์, มีนาคม 12, 2566

คนพิการไม่มีอยู่จริง มีแต่สภาพแวดล้อมที่พิการ


The Potential
3d
“คนพิการไม่มีอยู่จริง มีแต่สภาพแวดล้อมที่พิการ”
บางทีความพิการอาจไม่ได้เริ่มต้นที่การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย แต่เกิดจากการที่เขาไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขเมื่อมีสภาพร่างกายต่างจากคนทั่วไป
เพียงฟ้า สุทธิพรมณีวัฒน์ แกนนำเครือข่ายชมรมคนพิการ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง มองว่าแม้คนพิการในปัจจุบันจะได้รับการดูแลจากทางภาครัฐพอสมควร แต่ที่ยังขาดอยู่คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่ทำให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป
โดยเฉพาะสถานที่ที่คนพิการต้องไปที่ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับคนทุกสภาพร่างกาย ในลักษณะ Universal Design แต่กลับทำให้คน-พิการมากกว่าเดิม ขีดเส้นใต้ที่ 'โรงเรียน' ซึ่งควรจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กๆ ได้ใช้ชีวิต เรียนรู้และเติบโต
“ผมได้รับปัญหาเรื่องของสถานที่ สิ่งแวดล้อม เช่น ห้องน้ำที่ผมไม่สะดวก การขึ้นไปเรียนบนอาคารชั้น 2 -3 ผมก็ขึ้นลำบาก ส่วนเรื่องวิชาความรู้ มันก็ไม่ค่อยตอบโจทย์”
“ผมมองว่า ทางสถานศึกษาหรือโรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อม คือคนพิการที่จริงเขาทำอะไรก็ได้ ไปโรงเรียนก็ไปได้ แต่พอไปถึงโรงเรียนแล้ว เขาเกิดความพิการเลย เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เขาก็ไม่ไปไง
ถ้าโรงเรียนปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อความพิการ คนพิการเขาก็อยากจะไปเรียน โดยที่เรียนกับคนปกติทั่วไปเลย ไม่ต้องไปแบ่งเป็นโรงเรียนเพื่อคนพิการ ให้คนพิการไปเรียนรู้กับคนปกติ ใช้ชีวิตตั้งแต่เด็กเลย เขาจะได้มีโอกาสมีเพื่อนเป็นคนทั่วไปด้วย อย่าไปให้เขาอยู่คนเดียว"
ผมก็ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ทางสถานศึกษาจะมีระบบแบบนี้หรือเปล่า แต่แถวท้องถิ่นเราไม่มี แล้วก็เรื่องอาชีพ ถ้าโรงเรียนมีการฝึกอาชีพ เป็นหลักสูตรเรียนอาชีพโดยตรงของคนพิการเลย โตมาเขาก็จะมีวิชาเป็นของตนเอง”
แต่เหนือสิ่งอื่นใด การเรียนรู้ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการอย่างแท้จริง ต้องทำให้เขาเห็นคุณค่าในตัวเอง
"เมื่อก่อนเขามีมุมมองทัศนคติที่ยังแคบ รอรับอย่างเดียว ไม่ยอมที่จะพึ่งพาตัวเอง รอแต่การสงเคราะห์ ไม่ออกจากชุมชน ไม่ออกจากบ้าน เราก็เลยมองว่าถ้าคนพิการเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมองทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง แล้วก็ออกมาสู่สังคม ช่วยเหลือชุมชนบ้าง ก็น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ”
อ่านบทความ วิชาพื้นฐานของคนพิการ คือการเห็นคุณค่าของตัวเอง: เพียงฟ้า สุทธิพรมณีวัฒน์ https://thepotential.org/social-issues/phiangfa/
เรื่อง: ชุติมา ซุ้นเจริญ



สมบัติ บุญงามอนงค์
13h
ผมนัดคุณน้ำพุ ซึ่งเป็นผู้พิการในการเดินเพื่อมาสัมภาษณ์งาน
เขาเดินทางออกจากที่พักแถวศาลายา นั่งรถเมล์ไฟฟ้า Smart Bus ซึ่งมีสะพานเชื่อมระหว่างฟุตบาทกับตัวรถเมล์ นั่งต่อรถมา 2 คันแล้วมาลงที่ป้ายรถเมล์ทุ่งสองห้อง ตรงข้าม TPBS
ระบบขนส่งไม่มีปัญหา แต่มาติดตรงที่ป้ายรถเมล์และสะพานข้ามฝั่งไม่สามารถผ่านได้ โดยมีเหล็กขวางอยู่ 4 อัน และเนื่องจากถนนวิภาวดีเป็นถนนที่กว้างมาก หนทางที่ควรจะเป็นคือต้องข้ามสะพานลอยซึ่งมีทางลาดเอียงให้อยู่แล้ว
ผมใช้เวลา 1 ชม ในการคิดหาวิธีการพาคุณน้ำพุข้ามไปอีกฝั่งถนนหนึ่ง สุดท้ายผมตัดสินใจไปเอาประแจมาถอดเหล็กที่ขวางทางออก
การกระทำดังกล่าวเป็นฝีมือของข้าพเจ้าไม่เกี่ยวกับคุณน้ำพุ จึงแจ้งมาเพื่อทราบ และผมจะนำเรียนเรื่องนี้พร้อมแนวทางการแก้ปัญหากับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์