วันอาทิตย์, มีนาคม 12, 2566

ฝุ่นพิษภาคเหนือมาจากไหน ?

Pipob Udomittipong
20h
"อนึ่ง ผู้เล่นรายใหญ่ในการผลิตข้าวโพดและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคือ Charoen Pokphand Produce Myanmar (CP Myanmar) ซึ่งผู้บริหารระบุว่าซีพีมีส่วนแบ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในพม่าคิดเป็นสัดส่วน 40% ของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในประเทศนั้นทั้งหมด" #ฝุ่นPM

BIOTHAI
23h
ปัญหาฝุ่นพิษที่สร้างความทุกข์ยากต่อประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยส่วนหนึ่งมาจากฝุ่นพิษข้ามพรมแดน
GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 9 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อน จำนวน 1,533 จุด ในขณะที่พม่ายังนำโด่งจำนวน 5,743 จุด ลาว 2,412 จุด กัมพูชา 1,622 จุด เวียดนาม 396 จุด และมาเลเซีย 33 จุด
กรีนพีซระบุว่า จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมของกรีนพีซที่ทำร่วมกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าในช่วงปี 2558-2563 พื้นที่ป่า 10.6 ล้านไร่ในประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงถูกทำลายและกลายเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด ในจำนวนนี้ราว 5.1 ล้านไร่ อยู่ในประเทศลาวตอนบน รองลงมาคือรัฐฉานของเมียนมา (2.9 ล้านไร่) และภาคเหนือตอนบนของไทย (2.5 ล้านไร่) การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวอย่างไร่ข้าวโพด ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อนที่ทำให้เกิดการกระจายตัวและเพิ่มความเข้มข้นของมลพิษ PM2.5 อย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า ราว 2 ใน 3 ของจุดความร้อนที่พบในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอยู่ในพื้นที่ป่าและ ราว 1 ใน 3 (ของจุดความร้อน) พบในพื้นที่ปลูกข้าวโพด
จากการติดตามข้อมูลการนำเข้าของไบโอไทยพบว่า ในปี 2564 ประเทศไทยนำเข้าข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์รวม 1.83 ล้านตัน มูลค่า 407.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีแหล่งนำเข้ามากที่สุดคือพม่า มีปริมาณนำเข้า 1.79 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 97.8% ของปริมาณการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย โดยที่เหลือเป็นการนำเข้าจากลาวประมาณ 0.6% และกัมพูชา 0.3% (ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร)
พม่ามีกำลังการผลิตข้าวโพดประมาณ 2.57 ล้านตัน (ที่มา : World Grain) นั่นหมายความว่าผลผลิตส่วนใหญ่ในการส่งออกของพม่า (69.65%) เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมานั้น เป็นการส่งออกมายังประเทศไทย
โดยการนำเข้าข้าวโพดจากพม่าเป็นการนำเข้าข้าวโพดที่มีอัตราภาษี 0% ตาม ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) รัฐบาลอนุญาตให้ อคส. นำเข้าได้ตลอดทั้งปี และผู้นำเข้าทั่วไป นำเข้าได้ระหว่าง 1 ก.พ. - 31 ส.ค. ของทุกปี
พื้นที่ปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่ของพม่า (56%) อยู่ในรัฐฉาน (โปรดดูภาพประกอบ) ซึ่งเป็นบริเวณติดกับพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยที่กำลังเผชิญฝุ่นพิษจนหลายจังหวัดติดอันดับพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลกไปแล้วในปัจจุบัน
อนึ่ง ผู้เล่นรายใหญ่ในการผลิตข้าวโพดและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคือ Charoen Pokphand Produce Myanmar (CP Myanmar) ซึ่งผู้บริหารระบุว่าซีพีมีส่วนแบ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในพม่าคิดเป็นสัดส่วน 40% ของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในประเทศนั้นทั้งหมด ในขณะที่ USDA ประเมินว่าสัดส่วนที่เป็นเมล็ดพันธุ์ไฮบริดนั้น ซีพีเป็นผู้ครอบครองตลาดเกือบทั้งหมดในพม่า (USDA GAIN report)
ซีพีเป็นบริษัทอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และส่วนแบ่งตลาดอาหารสัตว์รายใหญ่ในประเทศไทย (มากกว่า 32% ในขณะที่อันดับ 2, 3 และ 4 ได้แก่แหลมทอง เบทาโกร กรุงไทย มีส่วนแบ่งตลาดเพียงรายละ 6% เท่านั้น ) ในขณะที่ซีพีและมอนซานโต้ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจมีส่วนแบ่งตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทยเกินครึ่งหนึ่ง
การแก้ปัญหาฝุ่นพิษที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในบริเวณเขตแดนประเทศไทยเอง และที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับเอกชนรายใหญ่ในประเทศไทย
นี่จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาลไทยที่จะต้องเข้ามาจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง