On 4th June last year a 37 year-old Thai citizen, Wanchalearm Satsaksit, was grabbed by a group of armed men and bundled into a black SUV as he left a convenience store in front of his apartment in the Cambodia capital Phnom Penh. He has not been seen or heard from since then. Wanchalearm was a political activist who had fled from Thailand after the 2014 coup. He was the ninth exiled Thai activist to be abducted from a neighbouring country in four years, two of whose mutilated bodies were discovered in the Mekong river. His disappearance coincided with the revival of anti-government protests last year, and became one of their central grievances as they expanded to include demands for reform of the monarchy.
Wahchalearm’s sister Jen was speaking to him on the phone when he was abducted, and quickly raised the alarm. But the Thai and Cambodian authorities have made little progress in finding out what happened to him, nor demonstrated much urgency. Jen raised money to travel to Cambodia in December to investigate the crime herself, and was interrogated by the investigating judge of Phnom Penh Municipality Court at the start of an official Cambodian inquiry.
Enforced disappearances are nothing new in this region, but the abduction of Wanchalearm, who only poked fun at the military government from exile, provoked outrage in Thailand over the apparent impunity of his kidnappers, and remains a running sore in relations between the government and opposition. The FCCT has invited Jen and some of those helping her to update us on the investigation. We have also invited representatives from the Thai government to explain what it has been doing.
Speakers:
Sitanan ‘Jen’ Satsaksit, Wanchalearm’s sister
Badar Farrukh, UN Office of the High Commissioner for Human Rights
Sunai Pasuk, Human Rights Watch
Chumaporn Taengkliang, Women for Freedom and Democracy
.....
Related information:
Cross Cultural Foundation (CrCF)
January 25 at 11:19 PM ·
CrCF Short Documentary: 7 เดือน กับการตามหาความยุติธรรมที่ยังลางเลือนของ “สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์”
“พี่ไม่รู้หรอก ว่าพี่สู้กับอะไร”
.
กว่า 7 เดือนกับการหายไปของ “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์”
.
การเดินทางกว่าหลายร้อยกิโลเมตรจากกรุงเทพมหานคร สู่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แม้จะไม่มีวี่แววการให้ความช่วยเหลือใดๆ จากรัฐไทยในการคลี่คลายคดี แต่ “สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” พี่สาวของผู้สูญหาย พร้อมด้วยทีมทนายความ ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการค้นหาหลักฐานยืนยันการมีอยู่ของ “วันเฉลิม” ในกัมพูชาและเหตุการณ์ที่เขาถูกลักพาตัวไปจากบริเวณหน้าคอนโดที่พัก ใจกลางกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 ยังผลให้การออกเดินทางตามหาความจริงของคดีดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2563
.
แม้เส้นทางในการขอให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์เป็นพยานเปิดเผยความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินกัมพูชานั้นหาใช่เป็นเรื่องง่าย เมื่อท่าทีของตำรวจและทางการกัมพูชากลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในการสืบสวนสอบสวนความเป็นจริง โดยยังคงยืนยันว่า ไม่มีหลักฐานว่าวันเฉลิมอยู่ในกัมพูชาและไม่มีเหตุการณ์ที่เขาถูกลักพาตัวไป ทั้งยังผลักภาระในการสืบหาพยานหลักฐานต่างๆมาให้สิตานันและทีมทนายความ
.
แต่ถึงอย่างนั้น จากบทสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ สิตานัน พี่สาวของวันเฉลิม ได้กล่าวว่า
.
“แต่พี่เชื่อสิ่งที่พี่มี และการต่อสู้ของวันเฉลิมตลอดระยะเวลา 7 ปีก่อนที่เขาจะหายไป พี่เชื่อว่าเขาดีใจที่มีคนไทยกล้าออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมกับสิ่งที่ถูกกดขี่มานาน”
.
และไม่ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องพบเจออะไร แต่สิ่งที่รับรู้ได้หลังจากนี้คือ
การหายไปของวันเฉลิมได้ปลุกจิตใจของนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไปตลอดกาล
.
#เพราะรัฐไทยไม่สมควรมีใครถูกบังคับสูญหาย #หยุดการอุ้มหาย #StopEnforceDisappearance #ร่างพรบป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหาย
.....
Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
February 1 at 8:47 AM ·
คุณสิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของ #Saveวันเฉลิม และทีมทนายความเดินทางไปประเทศกัมพูชา เพื่อเข้าให้การในฐานะผู้เสียหาย จากหมายเรียกของผู้พิพากษาไต่สวน ศาลแขวง ประจำกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา และด้วยอุปสรรคจากเรื่องโควิด-19 ทำให้การเดินทางค่อนข้างยากลำบาก ค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งต้องกักตัว 14 วันทั้งขาไปและขากลับจากประเทศกัมพูชา
แม้ประเทศกัมพูชาจะระบุเรื่องการบังคับสูญหายไว้ในกฎหมายอาญา มาตรา 118 (9) แต่อยู่ในความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งหมายความว่าต้องมีการกระทำจำนวนมากและอย่างเป็นระบบ ดังนั้นยังคงเป็นที่น่ากังวลว่า ประเทศกัมพูชายังคงไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการอุ้มหาย ซึ่งจะสามารถดำเนินคดีกับกรณีรายบุคคลได้อย่างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นหมายเรียกจากผู้พิพากษาไต่สวนในกรณีของวันเฉลิม จึงเป็นความผิด 2 ฐาน คือ กักขังหน่วงเหนี่ยวโดยมิชอบ และครอบครองอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ในขณะเดียวกัน สำหรับประเทศไทย ยังคงไม่มีกฎหมายที่เฉพาะเจาะจงความผิดทำให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรมเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาเคยมีการส่งร่างของภาคประชาชนเข้ามาที่ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อพิจารณาและขอแรง ส.ส. จากทุกพรรคลงชื่อเพื่อเข้าพิจารณาในสภาฯ แต่ก็ต้องต่อคิวเข้าวาระซึ่งดูท่าน่าจะนานเกินสมัยประชุมนี้
ส่วนร่างของกระทรวงยุติธรรมซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้วนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจพิจาณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป แต่อย่างไรก็ตามร่างนี้ยังไม่มีบทบัญญติที่ครบถ้วนตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและไม่ครอบคลุมมากเท่าที่ควร
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฉบับประชาชน ที่ครอบคลุมการทรมาณ การบังคับสูญหาย การลงโทษอย่างไร้มนุษยธรรม สร้างระบบความรับผิดชอบและรับผิดของรัฐ เพื่อยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดให้ได้ เพื่อให้ประเทศไทยไม่มีบุคคลที่ถูกซ้อมทรมาน และไม่มีบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายอีกต่อไป
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้กับ คุณสิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และครอบครัวของวันเฉลิม และยังคงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย รัฐบาลกัมพูชา รีบดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาตัววันเฉลิมและนำตัวผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาลงโทษให้ได้โดยเร็วที่สุด