EPA
ผู้ประท้วงถือป้ายขอไทยไม่ให้การยอมรับรัฐบาลทหารเมียนมา ที่ด้านหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในนครย่างกุ้ง วันที่ 24 ก.พ.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพบกับ รมว. ต่างประเทศของเมียนมา เป็นเวลาสั้น ๆ โดยไม่ให้ผู้สื่อข่าวทราบ หลังพิธีต้อนรับวัคซีนโควิด-19 จากจีน
"บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ไม่เป็นทางการ เข้าใจไหม ถามทุกเรื่อง เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการอยู่แล้ว เราเป็นมิตรประเทศก็ต้องรับฟังซึ่งกันและกัน... เราก็เป็นกำลังใจ เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่ต้องทำให้เกิดความร่วมมือ แล้วก็ส่งกำลังใจให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แค่นั้นก็พอแล้วข่าว" พล.อ.ประยุทธ์ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผู้ประท้วงถือป้ายขอไทยไม่ให้การยอมรับรัฐบาลทหารเมียนมา ที่ด้านหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในนครย่างกุ้ง วันที่ 24 ก.พ.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพบกับ รมว. ต่างประเทศของเมียนมา เป็นเวลาสั้น ๆ โดยไม่ให้ผู้สื่อข่าวทราบ หลังพิธีต้อนรับวัคซีนโควิด-19 จากจีน
"บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ไม่เป็นทางการ เข้าใจไหม ถามทุกเรื่อง เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการอยู่แล้ว เราเป็นมิตรประเทศก็ต้องรับฟังซึ่งกันและกัน... เราก็เป็นกำลังใจ เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่ต้องทำให้เกิดความร่วมมือ แล้วก็ส่งกำลังใจให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แค่นั้นก็พอแล้วข่าว" พล.อ.ประยุทธ์ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
REUTERS
การมาไทยของนายวันนะ หม่อง ลวิน ถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมานับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ.
ก่อนหน้านี้ รอยเตอร์รายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวในรัฐบาลไทยว่า นายวันนะ หม่อง ลวิน เดินทางเยือนไทยท่ามกลางความพยายามทางการทูตของชาติสมาชิกอาเซียนที่ต้องการคลี่คลายวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยนางออง ซาน ซู จี เมื่อวันที่ 1 ก.พ. โดยการมาไทยครั้งนี้ถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมานับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศ และเขาเลือกมาประเทศไทยในการมาเยือน
การมาไทยของนายวันนะ หม่อง ลวิน ถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมานับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ.
ก่อนหน้านี้ รอยเตอร์รายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวในรัฐบาลไทยว่า นายวันนะ หม่อง ลวิน เดินทางเยือนไทยท่ามกลางความพยายามทางการทูตของชาติสมาชิกอาเซียนที่ต้องการคลี่คลายวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยนางออง ซาน ซู จี เมื่อวันที่ 1 ก.พ. โดยการมาไทยครั้งนี้ถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมานับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศ และเขาเลือกมาประเทศไทยในการมาเยือน
GETTY IMAGES
ผู้ชุมนุมชาวเมียนมาถือป้ายประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้ง 24 ก.พ. 2564
ไทยขยับ หลังสหรัฐฯสะกิด
ความเคลื่อนไหวของไทยมีขึ้นหลังความพยายามทางการทูตของสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้ไทยแสดงบทบาทมากกว่าการประกาศว่าเห็นคล้อยตาม "จุดยืนอาเซียน"
เมื่อค่ำวันที่ 23 ก.พ. พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมแถลงว่า พล.อ. ลอยด์ ออสติน รมว.กลาโหม สหรัฐฯ ได้หารือร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะ รมว.กลาโหม ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกล ที่ทำเนียบรัฐบาล
โดยทั้งสองฝ่ายได้ชื่นชมความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างกันที่มีมายาวนาน ในฐานะไทยเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาค พร้อมทั้งได้หารือสานต่อความร่วมมือทางทหารและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน โดย พล.อ.ออสตินขอให้ไทยใช้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ช่วยแก้ปัญหาสถานการณ์ในภูมิภาค โดยสหรัฐฯ ยึดมั่นในหลักกฎหมายและหลักมนุษยธรรม และพร้อมให้การสนับสนุนไทย
ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า ไทยยึดมั่นในกฎบัตรอาเซียนและวิถีประชาธิปไตยและสนับสนุนการแก้ปัญหาในภูมิภาคตามหลักสันติวิธี โดยพร้อมที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกด้านกับสหรัฐฯ ให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และพร้อมสนับสนุนสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาในภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์ เพื่อความสงบมั่นคงและประโยชน์ของภูมิภาคร่วมกัน
โลกตะวันตกเพิ่มความกดดัน
23 ก.พ. กลุ่มรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ จี7 ได้ออกแถลงการณ์ประณามการข่มคู่คุกคามและกดขี่ประชาชนที่ออกมาประท้วงต่อต้านการทำรัฐประหาร โดยระบุว่า "ใครก็ตามที่ใช้ความรุนแรงตอบโต้การประท้วงอย่างสันติจะต้องได้รับการลงโทษ"
ในสัปดาห์นี้บรรดาชาติตะวันตกต่างเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลทหารเมียนมา โดยสหภาพยุโรป (อียู) เตือนว่าจะพิจารณาคว่ำบาตรธุรกิจต่าง ๆ ที่กองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ ขณะที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรสมาชิกรัฐบาลทหารเมียนมาเพิ่มอีก 2 คน พร้อมเตือนจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอีก
นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ออกมาเรียกร้องอีกครั้ง เมื่อ 23 ก.พ. ให้กองทัพเมียนมายุติการปราบปรามประชาชน ปล่อยนักโทษการเมือง และหยุดการใช้ความรุนแรงในทันที รวมทั้งเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและเจตจำนงของประชาชนที่ได้แสดงออกในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา
"ไม่มีที่ให้รัฐประหารในโลกสมัยใหม่" เลขาฯ ยูเอ็นระบุในข้อความที่โพสต์ทางทวิตเตอร์
ขณะที่บรรยากาศในวันที่ 24 ก.พ. ชาวเมียนมายังคงออกมาประท้วงการทำรัฐประหารอย่างต่อเนื่องในเมืองใหญ่ของประเทศ ทั้งนครย่างกุ้ง และเมืองเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อวานนี้มีประชาชนหลายหมื่นคนออกมาประท้วง รวมถึงห้างร้านทั่วประเทศก็ต่างพากันหยุดกิจการ เพื่อร่วมต่อต้านในครั้งนี้เช่นกัน
"ได้รับฟังโดยตรง" จากเมียนมา
ส่วนการเดินทางเยือนไทยของ รมว. ต่างประเทศเมียนมานั้น เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีพรมแดนทางบกร่วมกันกว่า 2,400 กิโลเมตร และเป็นโอกาสดีที่ฝ่ายไทยจะได้รับฟังโดยตรงจากฝ่ายเมียนมาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เมียนมาให้ความสำคัญ และแลกเปลี่ยนความเห็นกันระหว่างเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับประเด็นที่มีความสำคัญสำหรับประชาชนของทั้งสองฝั่งชายแดน อาทิ ความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความร่วมมือด้านแรงงาน
"ไทยได้ใช้โอกาสนี้ยืนยันการสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพในเมียนมา และความหวังที่จะเห็นสถานการณ์ในเมียนมาได้รับการคลี่คลายโดยสันติเพื่อประโยชน์ของประชาชนเมียนมา ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของอาเซียนและเป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศปรารถนา" นายธานีกล่าว
ที่มา บีบีซีไทย
อ่านบทความเต็มที่
https://www.bbc.com/thai/thailand-56182699
รัฐประหารเมียนมา: อินโดนีเซียเล่นบทนำอาเซียนหาทางออกวิฤต พบ รมว. ตปท. เมียนมาในไทย
สื่อพม่าตบหน้าประยุทธ์ แฉเป็นฝ่ายเชิญรัฐมนตรีคณะรัฐประหารพม่าเข้ามาประเทศไทย ทูตจวกประยุทธ์ยับ ผิดมารยาทรับรองเผด็จการ ซัดไม่ฉลาดที่แจ้นพบรัฐมนตรีต่างประเทศพม่า ทั้งที่ตัวเองเป็นถึงนายกรัฐมนตรี#WhatHappeningInMyanmar #SaveMyanmar #Coup25Febhttps://t.co/cnmslC0YrK
— sirote klampaiboon (@sirotek) February 25, 2021