"สมเด็จพระสงฆราช" กับ "สามเณรโฟล์ค" พระรูปใดรับใช้ประชาชน..?
“สมเด็จพระสังฆราช” ในฐานะประธาน กก.มหาเถรสมาคม มีมติสั่งให้ลงทัณฑกรรม“สามเณรโฟล์ค” หรือสามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า นักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในภาคีนักศึกษาศาลายา สมาชิกแก๊งแครอท ที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมา
โดยระบุความผิดไว้หลายกระทงเช่น มีพฤติกรรมขัดคำสั่งเถรสมาคม เที่ยวเตร่ พักค้างแรมตามบ้านเรือน อันเป็นที่น่ารังเกียจทางพระวินัย ยุ่งเกี่ยวข้องกับการเมือง รวมถึงมีพฤติกรรมเข้าข่ายหมิ่นสมเด็จพระสังฆราช ใส่ความคณะสงฆ์ ให้เสื่อมเสียแตกแยก
และเมื่อวันที่ 25 กุมพาพันธ์ที่ผ่านมา มีตำรวจนอกเครื่องแบบหลายนาย จะเข้าไปจับกุมตัว สามเณรโฟล์ค ในกุฏิที่พัก ที่วัดสุทธิฯ โดยอ้างว่า เณรโฟล์ค ขาดจากความเป็นพระแล้ว ต้องนำตัวไปสึก เนื่องจากมีพฤติกรรมหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาตฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระสังฆราช ทำให้คณะสงฆ์มีความแตกแยก ตามประกาศจากสำนักพุทธฯ
อ้าว..ตกลงแล้ว“เณรโฟล์ค”ผิดพระธรรมวินัยข้อไหนใน 4 ข้อ (เสพเมถุน ฆ่าคน ลักทรัพย์ และอวดอุตริมนุสธรรม) ถึงต้องจับสึกครับ และดูแล้ว .. ตำรวจ มุ่งความผิดเพียงเพราะ ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระสังฆราช ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ซึ่งความผิดนี้ มันอยู่ในพระธรรมวินัย ข้อไหนหรือ ..
อ้าวแล้ว..มส.จะยึดอะไรเป็นหลักใหญ่ ในการปกครองสงฆ์ ระหว่าง พระธรรมวินัย กับ กม.คณะสงฆ์ ที่กำหนดโดยปุถุชนที่มากด้วยกิเลส
“สมเด็จพระสังฆราช” เองก็น่าจะรู้ตัวดีว่า เข้ามามีอำนาจได้ ก็เพราะการอุ้มชูช่วยเหลือจากผู้คนมีอำนาจที่มากด้วยกิเลศ ตัณหา อย่าทำตัวเองให้ศาสนาพุทธต้องมัวหมองมีมลทินไปมากกว่านี้อีกเลย
จำคำที่ตัวเองพร่ำสอนคนอื่นในโอกาสต่าง ๆ ได้หรือไม่. โดยเฉพาะเมื่อวันมาฆบูชาที่ผ่านมาที่บอกให้คนไทย มีขันติธรรม อดทน อดกลั้นต่อความทุกข์ และการถูกวิจารณ์ล่วงเกิน แล้ววันนี้ตัวเองกลับมีมติให้ลงโทษ “เณรโฟล์ค”พ้นไปจากความเป็นพระ ตกลงใครกันแน่ที่ขาดขันติธรรม ไม่มีความอดทน อดกลั้นต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งๆ ที่เณรโฟล์ค ไม่ได้กระผิดพระธรรมวินัย แม้แต่ข้อเดียว.
จะบอกว่ามีพฤติกรรม ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระสังฆราช ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ..มีที่ไหน? เห็นแต่ “เณรโฟล์ค” เสียสละตัวเองออกมาเพื่อหาทางทำให้ คณะสงฆ์ไทย ทำหน้าที่รับใช้ชาวพุทธได้อย่างแท้จริงมากกว่า มากกว่าบรรดา กก.มส. และตัวสังฆราช เองด้วยซ้ำ ที่ทำตัวเป็นพระเทวดา ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ร้อนของชาวพุทธได้เลย มีแต่รับคอยใช้พวกกิเลศหนา ราคะเยอะ ผู้ดีจอมปลอม แต่ไม่ใส่ใจความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ขออยู่ขอกินจากพวกเขาทุกวัน
ท่านยังไม่รู้อีกหรือว่า ชาวพุทธรุ่นใหม่ ไม่เหลือความศรัทธาใด ๆ ต่อ มส. หรือไม่ว่าต่อ เทวดาหน้าไหนอีกต่อไปแล้ว
พูดมากเจ็บคอ ไปฟังความรู้สึกของ “เณรโฟล์ค” แล้วกันว่า คิดอย่างไรต่อข้อกล่าวหาที่มาจาก มติของ มส.ในวันนี้
(ผม)...ท่านจะชี้แจงต่อข้อกล่าวหานี้อย่างไร (ละเมิดพระวินัยปิฎก ติพระธรรม ติพระสงฆ์ มีความเห็นไม่เหมาะสมแห่งสมณะ หมิ่นประมาทดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ใส่ความคณะสงฆ์ ให้เสื่อมเสียหรือแตกแยก)
(เณรโฟล์ค)....เป็นข้อกล่าวหา ที่ไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย การกล่าววิพากษ์วิจารณ์ ในพรมชาลสูตร ก็เคยบอกกับสงฆ์ว่า ท่านอย่าโกรธเลย เมื่อมีคนติเตียน พระธรรม พระสงฆ์ อย่าถือความ ถือโทษโกรธเขาเลย
(ผม)...มีอะไรจะย้ำเพิ่มเติมอีกหรือไม่
(เณรโฟล์ค)...ผมอยากจะย้ำแค่ว่าเราเป็นผู้ที่ขอข้าวเขากิน พระอยู่ได้ด้วยสังคมอุปถัมภ์ ไม่ใช่แค่ใครคนหนึ่งที่เลี้ยงหรือให้ตำแหน่งท่าน หากการยุ่งการเมืองของผมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็อยากให้มีจิตเมตตามองเห็นความเป็นคนของคนที่ทุกข์ยากจากโครงสร้างทางสังคมที่กดขี่เขาอยู่ และอำนาจเผด็จการมันจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีใครร่วมมือกับเขาครับ เรายังมีความเป็นคนอยู่ เราไม่ใช่เครื่องจักรสังหาร หากพระทำแต่คำสั่ง โดยไม่พิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมแล้ว เขาคงไม่ใช่พระแล้วครับ. อันไหนเป็นสิ่งที่เขาพูดความจริง หรือไม่จริงก็ขอให้ท่านช่วยแจ้งไขนะครับ
(ผม)...หากถึงขั้นต้องถูกจับสึกจริง ๆ
(เณรโฟล์ค)..จริงๆ ก็จะไม่เอ๋ยคำสึกครับ
(หมายเหตุ..พูดคุยผ่านเฟสบุ๊ควันที่ 25 ก.พ.เกือบเที่ยงคืนตามเวลาไทย)
เป็นไงครับ ... คำชี้แจงข้อกล่าวหาของ “สามเณรโฟล์ค” เป็น “เณรน้อย” ที่น่ากราบไหว้บูชา มากกว่า “สมเด็จพระสงฆราช” ที่เป็นร่างทรงของเทวดาหน้าเลือดด้วยซ้ำ
.....
เส้นทางการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20
8 กุมภาพันธ์ 2017
บีบีซีไทย
วานนี้ (7 ก.พ.) ในหลวงรัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หลังจากตำแหน่งสำคัญนี้ว่างลงมากว่า 3 ปี
เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2559 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเห็นชอบการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์) โดยกำหนดให้เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นการตัดข้อความว่าด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมในการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะออกไป
ข้อมูลจากเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ระบุว่า สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ มีนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2470 (เกิดปีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวงรัชกาลที่ 9) ที่ ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี โยมบิดา-มารดาชื่อ นับ และ ตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย ปัจจุบันสิริอายุได้ 89 ปี
ปัจจุบันมีตำแหน่งมากมายด้านงานปกครองในคณะสงฆ์ อาทิ
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต)
กรรมการมหาเถรสมาคม
กรรมการคณะธรรมยุต
นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร)
กรรมการบริหารมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
แม่กองงานพระธรรมทูต
ประธานมูลนิธิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และเป็นศิษย์พระอาจารย์ฝั้นที่มีสมณศักดิ์สูงสุดในปัจจุบัน
ย้อนรอยเส้นทางการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช
24 ตุลาคม 2556 - สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ ณ เวลา 19.30 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ขณะมีพระชันษา 100 ปี หลังจากดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระสังฆราชนานกว่า 24 ปี
5 มกราคม 2559 - มหาเถรสมาคม (มส.) นัดประชุมวาระลับพิเศษและมีมติให้ สมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หลังว่างเว้นผู้ดำรงตำแหน่งมากว่า 2 ปี
11 มกราคม 2559 - พระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม นำหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชน 300,000 รายชื่อ ยื่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนา คัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 โดยอ้างเหตุผลว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
พระพุทธอิสระคัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20
19 มกราคม 2559 - นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้วินิจฉัยขั้นตอนการเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราช ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่เขียนไว้ว่า "ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"
15 กุมภาพันธ์ 2559 - เครือข่ายคณะสงฆ์ นำโดยพระเมธีธรรมมาจารย์ เลขาศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นแกนนำชุมนุมที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อสกัดแผนล้มล้างการปกครองคณะสงฆ์ และสนับสนุนมติ มส. ที่เสนอสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
18 กุมภาพันธ์ 2559 - กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สรุปว่า รถเบนซ์โบราณที่สมเด็จช่วงครอบครองอยู่ มีการใช้เอกสารปลอมในการจดประกอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
3 มีนาคม 2559 - ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติว่า มส. ทำผิดขั้นตอนเกี่ยวกับการเสนอชื่อสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 เนื่องจากต้องไปเริ่มต้นที่นายกรัฐมนตรีก่อน
11 กรกฎาคม 2559 - คณะกรรมการกฤษฎีกา มีมติว่า ขั้นตอนการแต่งตั้งสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คดีรถหรูเลี่ยงภาษีที่ดีเอสไอตรวจสอบได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีราคาเกิน 4 ล้านขึ้นไป จำนวน 5,000 คัน และอีกกลุ่มคือ ราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาท
11 กรกฎาคม 2559 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หากยังมีปัญหากันอยู่
29 ธันวาคม 2559 - ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติสามวาระรวดแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ให้พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม และไม่จำเป็นต้องเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุด ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 182 เสียง
6 มกราคม 2560 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นฉบับใหม่ ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAIสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
7 กุมภาพันธ์ 2560 - สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์