สมศักดิ์ เจียมระหว่างแปดคนที่ถูกตัดสินว่าผิด ติดคุกกันคนละหลายปี กับ สี่คนที่เพียงถูกตั้งข้อหา และล้วนแต่ปฏิสธข้อกล่าวหา ยังไม่ได้สู้คดี
— สมศักดิ์ เจียม (@somsakjeam) February 27, 2021
ห่างกันไม่ถึงวัน
"ระบบยุติธรรมไทย" มีหลงเหลืออีกหรือ?
"We love them all the same."
@somsakjeam
·17h
ผมสังหรณ์ใจตั้งแต่เมื่อวานว่า จะออกมาแบบนี้
งานนี้เป็นคำสั่ง... สั่งแล้วไม่มีคำสั่งอีก คนระดับล่างก็ทำตามกันมา ไม่ว่าจะขัดความจริงอย่างไร
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
17h ·
27 ก.พ. 64 เวลา 10.15 น. ศาลอาญาได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว 4 นักกิจกรรม แกนนำ “ราษฎร” ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หลังจากเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 64 ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร รวมทั้งคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ ชิวารักษ์ ในคดี #ม็อบ14พฤศจิกา หรือ Mob Fest ทั้งสองคดีมีข้อกล่าวหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116
.
รายละเอียดของการอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวของศาลชั้นต้นมีเนื้อหา โดยสรุปว่า
1.จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 64 โดยใช้เงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 400,000 บาท เพิ่มสูงขึ้นจากการขอปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งก่อน และมีศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลคลที่น่าเชื่อถือ เป็นนายประกันจำเลยทั้งสี่ จึงมีเหตุผลอันควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยจะไม่หลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น และการปล่อยตัวไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาคดี
.
2. จำเลยไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี หรือไม่มาตามกำหนดนัด กล่าวคือ
เมื่อพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกจำเลยมารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยได้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและปฏิบัติตามนัดของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทุกนัด ในวันนัดส่งตัวฟ้องคดี จำเลยก็เดินทางมาศาลตามกำหนดของพนักงานอัยการโจทก์ และประการสำคัญโจทก์ก็ไม่คัดค้านการประกันตัว
สำหรับคดีความผิดลักษณะเดียวกันนี้ พริษฐ์เคยได้รับการประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.1012/2563 และ เมื่อวันที่ 19 ต.ค.63 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว ในคดีหมายเลขดำที่ ฝ.500/2563 ของศาลจังหวัดธัญบุรี พริษฐ์ก็ไม่เคยหลบหนีแต่อย่างใด หรือไม่ไปตามนัดแต่อย่างใด
อานนท์ นำภา เคยได้รับการปล่อยประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.1437/2563 ,ได้รับการประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.971/2563 และศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ก็เคยมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวอานนท์ นำภา ซึ่งอานน์ได้เดินทางไปศาลในทุกคดีตามกำหนดนัดโดยตลอดไม่มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด
.
3. จำเลยทั้งสี่คนเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องคดีเท่านั้น ยังไม่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด ควรจะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ กล่าวคือ
จำเลยเป็นเป็นเพียงคนที่ถูกฟ้องเท่านั้น ยังไม่มีการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นผู้กระทำผิด ควรจะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และสิทธิดังกล่าวยังได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรค 2 และในคดีข้อหาทางการเมืองคดีอื่น แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษาแล้วว่าจำเลยได้กระทำความผิดลงโทษจำคุกจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็อนุญาตให้ประกัน อันถือเป็นแนวบรรทัดฐานที่ดีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา จึงขอศาลอุทธรณ์ให้ประกันตัว เพื่อให้จำเลยได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรม
.
4. จำเลยทุกคนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน กล่าวคือ
4.1) พริษฐ์ ชิวารักษ์ เป็นนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างช่วงการเรียนการสอนที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด จึงมีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทำรายงานต่าง ๆ และเข้าสอบให้ครบตามกำหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย และหากต้องถูกคุมขังไว้ต่อ โดยไม่ได้รับการประกันตัว ก็จะไม่สามารถไปศึกษาต่อตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ อาจจะทำให้เรียนไม่จบ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาและอนาคตของเพนกวิน
4.2) อานนท์ นำภา ประกอบวิชาชีพทนายความ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องเดินทางมาศาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบว่าความหรือให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายในคดีสิทธิมนุษยชนหลายคดี และตลอดทั้งมีนาคม 64 และเดือนอื่น ๆ ก็ต้องทำหน้าที่ทนายความจำเลยที่ศาลอาญาและศาลอื่น ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย
4.3) หมอลำแบงค์ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม.ประกอบอาชีพเป็นหมอลำ ก็มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก หรือกำหนดนัด ก็มาตามนัดโดยตลอด
4.4) สมยศ พฤกษาเกษมสุข ประกอบอาชีพรับจ้างอิสระ
มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก หรือกำหนดนัด ก็มาตามนัดโดยตลอด ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย
.
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้เชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ และหลักสิทธิมนุษยชน ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังเดือดร้อน ประชาชนได้รับความทุกข์ยากลำบากทางด้านชีวิตความเป็นอยู่และทางด้านเศรษฐกิจ ระบบกฎหมายพังทลายลง ไร้ซึ่งหลักนิติรัฐ นิติธรรม เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกหย่อมหญ้าเช่นนี้ ก็คงมีเพียงอำนาจศาลเท่านั้น ที่จะช่วยถ่วงดุล ตรวจสอบ คานอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมิให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงเป็นเสาหลักอันสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ช่วยสร้างหลักประกันสิทธิและฟื้นฟูให้ระบบกฎหมาย หลักนิติรัฐ นิติธรรม กลับคืนสู่ประเทศโดยเร็ว
.
อาศัยเหตุผลตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยทั้งสี่จึงขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่ด้วย เพื่อให้จำเลยทั้งสี่ได้มีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และเป็นธรรม จำเลยขอให้คำมั่นว่าจำเลย จะไม่หลบหนี และจะปฏิบัติตามนัดของศาลโดยเคร่งครัด หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเท่าใด ขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดกำหนดวงเงินหลักประกันตามควรแก่กรณี และจำเลยทั้งสี่ยินดีวางหลักประกันตามวงเงินที่ศาลเรียกต่อไป
.
อ่านรายละเอียด : https://tlhr2014.com/archives/26336
.
TLHR Supporters - สนับสนุนศูนย์ทนายฯ
บัญชีออมทรัพย์ในนามบัญชี: มูลนิธิสิทธิเพื่อความยุติธรรม
ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซี ลาดพร้าว 2
ประเภทออมทรัพย์ เลขบัญชี 800-9-54209-4
พวกมึงชนะได้อย่างไร?
— redheart (@dady975) February 25, 2021
"กูยังไม่แพ้เลย".... pic.twitter.com/mx5MdtzVH0