The101.world
16h ·
วจนา วรรลยางกูร สนทนากับ บัณฑิต อาร์ณีญาญ์ นักเขียนและนักแปล 'กึ่งบ้ากึ่งอัจฉริยะ' ผู้ปราศจากมลทินมัวหมอง หลังเผชิญคดี 112 มา 4 คดี
.
เมื่อเวลาผ่านไป หลายเรื่องที่เขาเคยพูดกลายเป็นถ้อยคำทั่วไปที่คนจำนวนมากพร้อมสนับสนุน เช่น การพูดว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน, กระบวนการยุติธรรมไม่ควรเชิดชูบางบุคคลให้อยู่เหนือกฎหมาย, ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนไทยต้องอยู่สูงกว่าฝุ่นละออง
16h ·
วจนา วรรลยางกูร สนทนากับ บัณฑิต อาร์ณีญาญ์ นักเขียนและนักแปล 'กึ่งบ้ากึ่งอัจฉริยะ' ผู้ปราศจากมลทินมัวหมอง หลังเผชิญคดี 112 มา 4 คดี
.
เมื่อเวลาผ่านไป หลายเรื่องที่เขาเคยพูดกลายเป็นถ้อยคำทั่วไปที่คนจำนวนมากพร้อมสนับสนุน เช่น การพูดว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน, กระบวนการยุติธรรมไม่ควรเชิดชูบางบุคคลให้อยู่เหนือกฎหมาย, ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนไทยต้องอยู่สูงกว่าฝุ่นละออง
หากการพูดเรื่องเหล่านี้กลายเป็นความผิด ก็สมควรที่จะตั้งคำถามว่า ‘ความวิกล’ นั้นเกิดขึ้นกับผู้พูดหรือแท้จริงแล้วเป็นสังคมนั่นเองที่วิกล
.
"เราพูดสิ่งที่ถูกต้อง ต้องบอกไอ้พวกนั้นว่าอย่ามาแว้งกัดผม ผู้เป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ใช่มาบอกให้ผมระวัง สังคมมันไม่มีความเป็นธรรมเราก็ต่อสู้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม"
.
"มาตรา 112 โทษมันโหดร้ายเกินไป ผิดวิสัยมนุษย์ที่จะลงโทษคนที่พูดไม่ถูกใจแล้วจะเอาเข้าคุกตั้ง 3 ปี 15 ปี หลายสิบปี ผู้ปกครองเขามองเมืองไทยเป็นเหมือนเหยื่อ เป็นเหมือนทาสที่จะทำอย่างไรก็ได้ ซึ่งมันไม่ถูก"
.
"คุณค่าแห่งความเป็นคนและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนไทยทั้งแผ่นดินจะต้องอยู่สูงกว่าฝุ่นละอองที่ติดอยู่ที่เท้าของคนบางคน ถ้าเท่าเทียมกันไม่ได้ อย่างน้อยก็อย่าให้ต่ำต้อยถึงขนาดนั้น"
.
อ่านบทสัมภาษณ์ได้ที่ : https://www.the101.world/bundit-aneeya-interview/