วันพุธ, กุมภาพันธ์ 24, 2564

อย่าปล่อยให้เพื่อนเราอยู่ในนั้น จนหมดความหวัง หมดกำลังใจ ความหวังของ"คนข้างใน" คือพลังจาก "คนข้างนอก"



Thantawut Twewarodomgul
Yesterday at 6:40 AM ·

ตอนที่เราโดน 112 เข้าไปในคุกใหม่ๆ
ความหวังเดียวที่มีคือพลังจาก "คนข้างนอก"
ที่หวังว่า.. จะช่วยให้เราออกจากคุกได้
.
จากวันเป็นเดือน.. เดือนเป็นปี
จากที่เคยหวัง.. กลายเป็นหมดกำลังใจ
.
มีเพียงกำลังใจน้อยๆ จากเพื่อนบางกลุ่ม
โดยเฉพาะทนาย อานนท์ นำภา และทีมงาน
ที่ทำให้ชีวิตแต่ละวันของเรา.. มีความหวัง
.
วันนี้ "ทนาย" พาเราเดินมาไกลมาก นับจากวันนั้น
คนข้างนอก หูตาสว่าง มากกว่าตอนนั้นหลายเท่า
.
อย่าปล่อยให้เขาอยู่ในนั้น
จนหมดความหวัง หมดกำลังใจ
.
ช่วยเพื่อนเรานะ.. เราจะไม่ทิ้งกันใช่ไหม?
.
#ปล่อยเพื่อนเรา #ไม่จบที่รุ่นเรารุ่นลูกเราก็ต้องสู้ต่อ

.....

Pavin Chachavalpongpun
13h ·

ไม่เคยเขียนถึง อานนท์ นำภา เลย วันนี้ขอเขียนอะไรสั้นๆ ดิชั้นรู้จักอานนท์มานานพอดู รู้จักห่างๆ สาเหตุเพราะดิชั้นไม่ได้อยู่เมืองไทย พอสมัยก่อนที่ยังกลับไทยได้ ก็ดันไม่มีโอกาสได้เจอ แต่เราคุยกันบ้างบางครั้ง โดยเฉพาะหลังรัฐประหารที่ดิชั้นกลายมาเป็นผู้ลี้ภัย ก็ได้อานนท์นี่แหละ ที่เป็นทั้งคนแจ้งข่าวเรื่องการดำเนินคดีของรัฐต่อดิชั้น แถมเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย เป็นคนวิ่งเต้นเดินเรื่องทางกฎหมายให้ทางเมืองไทย เป็นทุกอย่าง พอเกิดเรื่องทางกฎหมายใดๆ ดิชั้นนึกถึงอานนท์คนแรก

....อานนท์อยู่เรือนจำสองอาทิตย์แล้ว ยังไม่รู้จะได้อิสรภาพเมื่อไหร่ ดิชั้นรู้ว่าคนข้างในกำลังช่วยอานนท์อย่างเต็มที่ ส่วนคนข้างนอก เราได้ติดต่อองค์กรต่างๆ เพื่อให้ช่วยกดดันให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวอานนท์ สิ่งที่อานนท์ทำ เป็นความกล้าหาญทางจริยธรรม คือจะไม่ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวก็ได้ และก็จะไม่ต้องลำบาก แต่การลุกขึ้นมาแบบนี้ อานนท์ไม่เพียงแต่ต้องการให้มันเกิดความเปลี่ยนแปลง แต่อานนท์ยังเป็นโรลโมเดลของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการกำหนดอนาคตตัวเอง

....ในปี 2019 ดิชั้นจัดการสัมมนาที่กัวลาลัมเปอร์ ก็ได้ชวนอานนท์มาด้วย ได้มีโอกาสพูดคุยกันสั้นๆ แต่ก็ดีใจที่ได้เจอ

...จากการเป็นทนายที่ไปช่วยผู้ต้องหา 112 คนอื่น วันนี้กลายเป็นผู้ต้องหาเสียเอง ความกล้าหาญอันนี้ทำให้อานนท์ได้รับรางวัลกวางจู และยังได้เป็น 1 ใน 100 คนที่ Time Magazine จัดว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลแห่งปีด้วย

...นึกถึงอานนท์ในวันนี้
ooo

อานนท์ นำภา
15h ·

ข้อความฝากวันที่ 23 ก.พ. 64

คิดถึงสมัยเรียนปี 1 ที่ธรรมศาสตร์รังสิต ที่นั่นเหมือนปริญญาใบแรกที่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มอบให้ผมกับมือ เวลาแค่ 3 เดือนที่นั่นทำให้ผมมีมิตรสหายที่สำคัญกับชีวิตผมหลายคน การตัดสินใจลาออกจากคณะสังคมวิทยามาเรียนนิติศาสตร์ที่รามคำแหงเป็นการตัดสินใจที่ยากยิ่งในช่วงนั้น มันคือการทิ้งค่านิยมที่โรแมนติกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และภาพจำเรื่องการต่อสู้ของมหาวิทยาลัยไปอย่างสิ้นเชิง
 
การได้เป็นรุ่นน้องหรือสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็น่าจะเป็นเหมือนสินค้าที่ถูกติดฉลากให้ดูมีคุณค่ามากขึ้น แต่คุณค่าที่ว่ามา ก็อาจเป็นเรื่องจอมปลอมถ้าเราไม่ได้ออกมาเรียนในสิ่งที่เรารักและสามารถใช้มันเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง คืนก่อนจะยื่นใบลาออก อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ บอกกับผมว่า “เธอจบการศึกษาจากที่นี่แล้ว จงออกไปทำหน้าที่ลูกที่ดีของประชาชน”
 
จากนั้นผมจึงไปเรียนกฎหมายที่รามคำแหงจบปริญญาตรีจากที่นั่น ผมใช้เวลาเรียนที่รามคำแหง 3 ปี พอเรียนจบก็เป็นทนายความ ว่าความต่อให้กับชาวบ้านในคดีสิทธิมาโดยตลอด ชนะคดีบ้างแพ้คดีบ้าง สิ่งที่ยืนยันกับผมว่าผมตัดสินใจถูกต้องที่ออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเรียนกฎหมายที่รามคำแหงคือการได้ใช้ความรู้ รับใช้สังคมอย่างแท้จริง

เราทุกคนมีความฝัน ฝันครึ่งหนึ่งของผม ทำสำเร็จแล้ว ฝันอีกครึ่งผมทำคนเดียวไม่ได้ต้องอาศัยคนจำนวนมากมาร่วมทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ นั่นคือทำให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค

ทุกวันนี้ความฝันนั้นยังอยู่และผมกำลังทำมันอย่างเต็มที่ “จนกว่าจะพบกันอีก”

อานนท์ นำภา
23 ก.พ. 64