วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 04, 2564

เรียบร้อยโรงเรียนเวเนซุเอลา #ความจริงประเทศไทย


คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan
Yesterday at 2:17 AM ·

ถ้ายังจำกันได้ เมื่อคราวที่รัฐบาลเสนองบประมาณรายจ่ายปี 2564 ต่อสภาผู้แทนราษฏร รัฐบาลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปี 2563 จะติดลบร้อยละ 5-6 ส่วนเศรษฐกิจปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 4-5 อันจะทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีสิ้นสุดปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 58 โดยมีเงื่อนไขว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะต้องผ่อนคลายลง

ล่าสุดเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563 สภาพัฒน์แถลงข่าวคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะติดลบร้อยละ 6 ส่วนปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 แต่เป็นการแถลงข่าวก่อนเกิดการแพร่ระบาดซ้ำของ COVID รอบ 2 ซึ่งจะทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนลดลง ดังนั้น เศรษฐกิจปี 2564 ที่ครั้งแรกคาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4-5 ต่อมาปรับลดลงเหลือ 3.5-4.5 จะขยายตัวจริงลดลงมากกว่าที่คาด ทั้งหมดเกิดจากความบกพร่องของนายกรัฐมนตรีและกองทัพที่รับผิดชอบการดูแลแรงงานข้ามชาติตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ใช่ความผิดประชาชนเลย

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยแย่ลงเรื่อยๆ ล่าสุดสำนักงบประมาณเผยแพร่ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิในปี 2565 ที่ประมาณว่า การจัดเก็บภาษีจะเหลือเพียง 2.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ถึง 277,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10.3 อันเป็นการจัดเก็บที่ลดลงสูงที่สุดตั้งแต่มีประเทศไทย โดยในปี 2557 ที่มีการยึดอำนาจ สถิติการจัดเก็บภาษีลดลงร้อยละ 10.1 และติดลบเรื่อยมาจนปัจจุบันและต่อไปในอนาคตตราบเท่าที่พลเอกประยุทธ์ยังเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ฐานะทางการคลังของรัฐบาลมีความเปราะบางมากที่สุดจนอาจนำไปสู่การ “ล้มละลาย” ทางการคลัง

วันนี้ล่วงเลยเวลาที่จะมาตำหนิกัน แต่จะขอแนะนำแบบคนที่หวังดีและห่วงบ้านเมืองว่า สถานการณ์ขณะนี้สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือความเชื่อมั่น รัฐบาลจะต้องทำให้ประชาชนมองเห็นอนาคต เพื่อที่ประชาชนจะกล้าจับจ่ายใช้สอยและลงทุน อันเป็นการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายใน รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่ออกมา ควรถามผู้ที่จะได้รับผลกระทบ เช่น มาตรการช่วยเหลือ SMEs ควรถามผู้ที่อยู่ในกลุ่ม SMEs ว่าต้องการอะไร (outside in approach) ไม่ใช่คิดเอาเองแบบรัฐราชการ จนกลายเป็นมาตรการที่ออกมาไม่ได้ช่วยอะไร ที่สำคัญคือรัฐบาลต้องดูแลประชาชนและผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย เพราะการฟื้นฟูเศรษฐกิจครั้งนี้ต้องอาศัยพลังของคนตัวเล็ก ตัวน้อย มาเป็นฐานพยุงเศรษฐกิจของไทยไม่ให้ล่มสลาย ส่วนนายทุนใหญ่ตรงไหนมีโอกาสเค้าก็เอาทุนไปลงที่นั่น แต่ไม่ใช่ที่ประเทศไทยแน่นอน

#สู้เพื่อคนตัวเล็ก
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
.....

Prawais Prapanugool
23h · 

เข้ามาปราบโกง....บทความก๊อปจากไลน์
___________________________
โลกประณาม!! ‘ประยุทธ์’ โกงหนักสุดในประวัติศาสตร์ ปล้นชาติ-เจ๊งทั้งแผ่นดิน
.
‘ประยุทธ์’ โกงหนักสุดในประวัติศาสตร์ ปปช.ยืนยันทำลายสถิติโกงตลอดกาล ปล้นชาติเละเทะ เงินรั่วไหลปีละ 300,000 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีโลกประจานไทย โกงหนักมาก ร่วงอยู่อันดับ 5 ของอาเซียน เจ๊งกว่าเวียดนามทั้งด้านเศรษฐกิจและทุจริตคอร์รัปชั่น
.
ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันประจำปี 2020 (Corruption Perception Index) ที่ให้คะแนนการทุจริตรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ตกลง 3 ลำดับจาก 101 เป็น 104 ถือเป็นการโกงหนักกว่ายิ่งลักษณ์-ทักษิณ ด้านองค์กรปราบคอร์รัปชั่นอย่าง ปปช.แถลงข่าวยอมรับว่ายุคประยุทธ์ คอรัปชั่นตกต่ำที่สุดในไทย ทุจริตเฉียดปีละ 3 แสนล้านบาท ในปี 2562 มีการรับเรื่องกล่าวหาการทุจริต จำนวน 10,382 เรื่อง
.
ประเด็นที่ถูกตั้งคำถามเรื่องทุจริตคล้ายกันคือการใช้ ‘กฎหมา’ การบิดเบือนกฎหมายเปิดช่องทุจริตเอื้อพวกพ้อง บังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐาน ความล้มเหลวของระบบตุลาการที่แต่งตั้งมาโดยเผด็จการ จนมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกำจัดคนเห็นต่าง สอดคล้องกับความเป็นนจริงที่หนักถึงขั้นใช้กฎหมายเช็คบิลพวกเดียวกันเอง เช่น เทพไท เสนพงษ์ หรือการงัดคดีบ้านเอื้ออาทร ออกมาขู่ สมศักดิ์ เทพสุทิน รมต.ของพรรคพลังประชารัฐ ช่วงปรับ ครม.
.
[[[ โกง-จน-เจ๊ง]]]
.
ธนาคารโลกระบุถึงสาเหตุหลักที่เศรษฐกิจไทยถดถอย จนกลายเป็นชาติที่เศรษฐกิจเติบโน้อยที่สุดในอาเซียน 3 ปีซ้อน คือ ปัญหาการคอร์รัปชั่นของภาครัฐบาล นำไปสู่ ‘ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน’ ซึ่งเป็นปัญหาการขับเคลื่อนจีดีพีตามหลักเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะปัญหาธรรมาภิบาล หรือการทุจริต มีปัญหาทั้งภาคราชการและฝ่ายการเมือง นำไปสู่ปัญหาเกี่ยวเนื่องที่ไทยกำลังเผชิญ คือ การโกงงบประมาณ ความเหลื่อมล้ำ หรือการบังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐาน
.
‘ผู้นำบ้าอำนาจ’ คือเหตุผลที่ธนาคารโลกประจานไทยว่าเป็นต้นตอของการคอร์รัปชั่นในยุครัฐบาลประยุทธ์ เนื่องจากคนที่เข้ามามีอำนาจและมีหน้าที่ทางการเมืองไม่สามารถประนีประนอม (compromise) และหาจุดร่วมกันได้เพื่อนำพาประเทศให้ดีขึ้นได้ตามนโยบายที่ตนวางไว้ ผลคือในสายตาต่างประเทศ ประเทศเรามีปัญหาสนามแข่งขันที่ไม่ตรงหรือเอียง (Unlevel Playing Field) ระหว่างบริษัทไทยขนาดเล็ก บริษัทต่างชาติ เทียบกับบริษัทไทยขนาดใหญ่
.
เห็นได้จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ การจัดซื้อจัดจ้าง การให้สัมปทานสิทธิในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่จัดสรรโดยรัฐมักจะไม่มีบริษัทที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศในธุรกิจนั้นๆ เข้าแข่งขัน ผู้ได้สัมปทานจะเป็นบริษัทใหญ่ของประเทศกับบริษัทแนวร่วมต่างชาติที่จัดตั้งขึ้น ผลคืออำนาจทางเศรษฐกิจของบริษัทใหญ่นับวันจะมากขึ้น ผลวิจัยของธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2562 ชี้ว่า บริษัทขนาดใหญ่ 5% แรกของประเทศมีสัดส่วนรายรับสะสมสูงถึง 85% ของรายรับทั้งหมด มีส่วนแบ่งยอดขายมากถึง 46% และสัดส่วนกำไรกว่า 60% อำนาจทางธุรกิจแบบนี้ไม่จูงใจให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าแข่งขัน ขณะที่ผู้บริโภคเสียประโยชน์
.
[[[ ยืด พรก.ต่อโกง ]]]
.
คอลัมน์นิสต์ชื่อดังจากสำนักพิมพ์มติชน เปิดเผยข้อความเรื่อง การต่อ พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาลนั้น อาจส่อเอื้อกระบวนการทุจริตของรัฐบาล เนื่องจาก พรก.ฉุกเฉินให้อำนาจรัฐ
.
1.จัดซื้อจัดจ้างแบบด่วนพิเศษไม่ต้องเปิดประมูล (เช่น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น 2-3 แสนล้านบาท)
2.ให้อำนาจล้างผิด ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆหากเกิดความเสียหาย
3.เอาไว้เบิกงบฉุกเฉินได้เรื่อยๆ แบบไม่จำกัด
4.เอาไว้ควบรวมอำนาจทุกอย่างอยู่ที่นายกฯ แบบไม่สนรัฐมนตรีจากพรรคร่วมรัฐบาล
.
สอดคล้องกับการเปิดเผยของ นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า
"รัฐบาลต้องพิจารณาเรื่องการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีผลกระทบกับเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวของไทย รัฐบาลต้องชั่งใจว่าการมี พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และยังไม่สามารถทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเมืองไทยได้ เป็นการดำเนินการที่ถูกต้องหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก เพราะนโยบายการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย รัฐบาลต้องตัดสินใจว่า สมดุลต่อไปในอนาคตจะสร้างสมดุลเรื่องสาธารณสุขกับเรื่องเศรษฐกิจให้ไปกันได้อย่างไร"
#ความจริงประเทศไทย