วันอังคาร, มีนาคม 03, 2563

'เพจหนุนประยุทธ์' หาเรื่อง 'จุฬาฯ รวมพล' เรื่องชักธง พอเค้าแจง... เงิบเลย...


'จุฬาฯ รวมพล' แจงเหตุเกิดวันที่ 24 ก.พ.หลัง 6 โมงเย็น และ จนท.นำธงชาติออกก่อนแล้ว

ต่อมา กลุ่มผู้จัดกิจกรรม “จุฬาฯ รวมพล” ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว ผ่านเพจ 'จุฬาฯ รวมพล CU Assemble' ชี้แจงว่า 

1. การนำธงชาติลงเป็นเวลาหลังเคารพธงชาติ เมื่อเวลา 18.00 น. อันเป็นเวลาชักธงชาติลงตามปกติของประเทศไทย หลังจากเจ้าหน้าที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำธงชาติออกจากเชือกตามหน้าที่แล้ว นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ที่อยู่ในคลิปดังกล่าวจึงได้เข้าไปผูกธงสีดำไว้กับเชือกก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาห้ามปราม ภายในการจัดกิจกรรม “จุฬาฯ รวมพล” มิได้มีความพยายามในการชักธงชาติไทยลงเพื่อแทนที่ด้วยธงสีดำแต่อย่างใด

2. การชักธงสีดำขึ้นครึ่งเสานั้น เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อไว้อาลัยให้แก่กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ธงสีดำครึ่งเสาเคยถูกหยิบยกมาใช้ในการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์มาก่อนแล้วในประเทศไทย เช่น ในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 อันเป็นการชุมนุมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ( อ้างอิงจากบทความ เกิดอะไรใน “14 ตุลา” ก่อนมาสู่ชัยชนะสำคัญของประชาชนลุกฮือต้าน “คณาธิปไตย” จากเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com/history/article_40175)

3. คลิปที่ถูกเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์นั้นถูกบันทึกโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนิสิตผู้อยู่ในคลิป ขณะนี้นิสิตคนดังกล่าวได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเรียบร้อยแล้ว และจะมีการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป

จุฬาฯ รวมพล ชี้แจงด้วยว่า นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ที่อยู่ในคลิปดังกล่าวมิได้ประสบความสำเร็จในการชักธงดำครึ่งเสา เนื่องจากได้ถูกระงับโดยเจ้าหน้าที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“จุฬาฯ รวมพล” ในฐานะกลุ่มของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ต้องการรวมตัวกันเพื่อแสดงออกถึงความไม่พึงพอใจต่อความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย จึงได้ทำแถลงการณ์ฉบับนี้ขึ้นเพื่อแสดงจุดยืน ว่านิสิตคนดังกล่าวและกลุ่มผู้จัดกิจกรรมมิได้มีความต้องการให้ธงไตรรงค์อันเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยที่รักยิ่งของพวกเรานั้นแปดเปื้อนแต่อย่างใด หากแต่ต้องการพื้นที่ในการแสดงออกเมื่อเสียงของเราถูกกดทับจากรัฐบาลที่ไม่เป็นธรรม และการบังคับใช้กฎหมายที่ตีความเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนยากที่จะได้ยินแม้เสียงกระซิบ