วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 11, 2563

กรณี ศึกษา จาก หนัง เกาหลีใต้ ไม่ต้องไปอิจฉาคนทำหนังเกาหลีใต้... เรื่องเหล้าชวนให้คนเกลียด



PARASITE

เรื่องเหล้าชวนให้คนเกลียด
กรณี ศึกษา จาก หนัง เกาหลีใต้
ไม่ต้องไปอิจฉาคนทำหนังเกาหลีใต้
กับออสการ์หรือคานส์
กว่า วงการหนังเกาหลีใต้ และ
คนทำหนังเกาหลีใต้ จะขึ้นชั้นระดับโลกได้
ไม่ใช่ เรื่องส้มหล่น ฟลุ้ค หรือ โชคช่วย
มันมาจาก การ ทำงานหนัก วางแผน เอาจริง จาก 2 ฝ่ายรัฐบาลเกาหลี ทุกชุด ร่วมมือกับ
คนในอุตสาหกรรมหนังเกาหลีใต้

เกอเธ่เคย เชิญ สนจ. น้าเปรง เพิ่มพล เชยอรุณ. หง่าว ยุทธนา มุกดาสนิท ไป สัมนา ที่ HK .ตั้งแต่ยุค จาง อี้ โหมว. เฉิน ไค่ เก๋อ.อยู่ไหนไม่รู้ อู๋เสี่ยวเฉียน เพิ่ง เริ่ม มีชื่อ พร้อม หง่าว . บอง จุน โฮ น่าจะ ยัง ไม่เกิด
5555
เกือบ 30 ปี ก่อน พี่คมน์ อรรฆเดช นายกสมาพันธ์ หนีบ สนจ.ในฐานะล่ามอังกฤษ ไป เยี่ยม นายกฯ
สมาพันธ์ภาพยนตร์ เกาหลี กับพี่รัตนบุรี อติศัพท์
พี่พร พรพิมล มั่นฤทัย เมียแก ตุ๋ย ขนิษฐา จิตต์ประกอบ คนกรมประชา
ไอ้ห่าน นายกฯสมาพันธ์เกาหลีนี่แม่งมาเฟียชัดๆ มาเฟีย เจ้าพ่อโรงหนัง
เหมือนวันนี้วิชากับสุวัฒน์เป็นนั่นแหละ
หมายถึง ถ้าเรียกกันแบบขำ ๆ นะ ไม่ใช่กล่าวหา เพราะ เมืองไทยวันนี้ โรงหนังมีค่ายใหญ
เป็นเจ้าของโรงหนังอยู่แค่ 2 ค่าย
จบจากเกาหลีใต้ เราไปญี่ปุ่น
ถัดมา ยุคเสี่ยเจียงเป็นนายกฯสมาพันธ์
สนจ. กับ สุทธากร สันติธวัช ถูกส่งไป “ดูงาน “
หน่วยงาน “หลัก” ที่ รัฐบาล เกาหลีใต้ ให้การหนับหนุน ตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการ “อุตสาหกรรมภาพยนตร์” ในแบบ องค์กรอิสระ สร้าง “เมืองหนัง”ในหุบเขา และ ประกาศเป็น นโยบายชาติว่า ในอีก10 ปี ข้างหน้า
หนังเกาหลีใต้ และงานวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี ของ เกาหลีใต้จะต้องเป็น สินค้าส่งออก” ในฐานะ แบรนด์ ระดับโลก
องค์กร ที่ว่า มีชื่อย่อว่า KOFACE
แยกมา เป็น เฉพาะ หนังว่า Kofic
กลับมา เมืองไทย .. สนจ.กล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ
กูนี่แหละ 1 ใน คนที่ต่อสู้ดิ้นรน ที่จะให้รัฐบาลไทย พลักดันอุตสาหกรรมหนังไทยอย่างจริงจัง ร่วมกับ คนในอุตสาหกรรมหนังไทยด้วยกันเอง ตั้งแต่ ยุค สนจ. เริ่มมีชื่อในฐานะนักวิจารณ์หนังที่ สยามรัฐรายสัปดาห์ จนวันที่กลายเป็น ผกก.หนังสะเอง ทุกอย่างแม่งก็ยังเหมียนเดิม..
5545
หอภาพยนตร์ ที่กลายมาเป็น มูลนิธิหนังไทย
ของ โดม สุขวงศ์
สนจ. อัศศิริ ธรรมโชติ เอกนก นาวิกมูล เจนภพ จบกระบวนวรรณ คือ ผู้ก่อการ ที่อยู่เบื่องหลัง “คนบ้าหนังรักหนังตัวจริง” อย่าง โดม สุขวงศ์ โดยที่ไม่เคยถูก “กล่าวถึง” หรือมี ชื่อปรากฏอยู่ใน ตำนานหรือประวัติศาสตร์ การก่อตั้ง หอภาพยนตร์
เขียนนี้ไม่ได้เรียกร้อง หรือ อุธรณ์อะไร “พวกกู 4 คน” ทำให้ เพื่อน ในฐานะคนรักหนัง และรักงานศิลปวัฒนธรรมไทย “ตัวจริง” เสียงจริง
ยุคน้าชาติ เป็น นายกฯ
พี่นคร วีระประวัติ กับสนจ. นี่แหละ เข้าไปเจรจาขอ
ให้ พี่โต้ง ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ช่วย พลักด้น
“บริการจบครบในที่เดียว” สำหรับ กองถ่ายหนังต่างประเทศที่จะเข้ามาใช้ ประเทศไทยถ่ายทำ หรือกับ หนังไทยด้วยกันเองเพราะต้องการยกระดับ แรงงานฝีมิอในคนทำหนังไทย ให้ได้เรียนรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ จาก ทีม ฝรั่ง
ก่อนจะมีหน่วยงานดังกล่าววันนี้
ซึ่งกลายเป็นเรื่องหัวมงกุฎ ท้ายมังกร
เพราะ หน่วยงานว่าด้วย ภาพยนตร์ไทยและเทศ
ดันถูก แบ่งแยกไปสังกัด 2 กระทรวง
โดยไม่เอามันสักกระทรวงใด กระทรวงหนึ่ง
แค่นี้ก็เละ แล้ว.แต่ก็ยังดีกว่า ไม่มีอะไรเลย
5555
สนจ. ร่วมขบวนการดิ้นรนเพื่อ อุตสาหกรรมหนังไทย มาอย่างน้อย ๆ ไม่ต่ำกว่า6 รมต. ประจำสำนักนายกฯ ตั้งแต่ เทิดพงษ์ ไชยนันท์ พี่แอ๋ว สุพัตรา มาศดิสก์
ผู้ก่อการให้ตั้ง สมาพันธ์ ร่วมกับ ดร. ดรุณี อ.กริ๋ง นิเทศจุฬาฯ ยัน รมต.เรียงหิน ที่ไม่รู้หีรู้แตด ห่าอะไรเลย ในอุตสาหกรรมหนังไทยหนังเทศ
โดน สนจ .ด่า ในที่ประชุม จนต้องไปกระซิบถาม ปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชา เพื่อนซี้รุ่นพี่ของ สนจ.แต่เป็นนักข่าวการเมืองรุ่นเดียวกันว่า
"ไอ้เหี้ยผมยาวหนวดเครารุงรังนี่แม่งเป็นใคร “....ฮา
สนจ. พูดในที่ประชุมสัมมนาการก่อตั้ง สมาพันธ์ ซึ่งเป็น คล้ายข้อเสนอจากฝ่ายรัฐฯ ว่า “ถ้าพวกมึงอยากให้รัฐฯช่วย พวกมึงไปรวมตัวกันมาให้ได้ก่อน”
ก่อนการก่อเกิด สมาพันธ์
สนจ.พูดต่อหน้า “ขาใหญ่ในวงการอุตสหกรรมไทย “ที่หอประชุมจุฬาว่า
“วงการหนังไทยมันไม่รักกันจริง”..
พี่หลองกับพี่ฉึ่ง ฉลอง ภักดีวิจิตร ชรินทร์ นันทนาคร สองผู้กำกับใหญ่ของยุคนั้น
เดินมาทัก ตอนพักแดกกาแฟว่า “ เฮ้ย เสือเตี้ย มึงพูดแบบนั้นในที่ประชุม มึงไม่กลัวคนเขาเกลียดขี้หน้ามึงเหรอ แต่ที่มึงพูดน่ะ เรื่องจริงแท้แน่นอน “แล้วสองพี่เชื้อก็หัวเราะ เมื่อ สนจ. ตอบว่า
“ชั่งแม่ง ผม พูดเรื่องจริง ผมไม่ได้ขอเงินพวกเขาซื้อเหล้าแดก”
มาถึงวันนี้ สมาพันธ์ภาพยนสตร์ ล้มเหลวอย่างสิ้นเขิง ไม่เห็นทำห่านอะไรสักอย่าง ที่จะช่วยเหลือ “คนทำหนังไทย “ ทั้งค่ายหนังหรือ คนทำหนังอิสระ วัยหนุ่มวัยสาว
ในขณะที่ รัฐบาลทุกชุด แม่งก็แค่ “หลอกใช้” คนในวงการหนังไทย ตั้งแต่นักแสดง ยันทีมงาน ไม่เคยให้ค่า ให้ราคา ไม่เคยคิดจะกำหนดให้เป็น นโยบายแห่งชาติ สรุป คือ หลอกใช้ไปวันๆ
หรือเป็นงานๆ. ไป
หนังฝรั่ง หนังต่างชาติมาถ่ายในไทย เขาใช้ “เงิน” กับ คอนเน็คชั่นเป็น ใบเบิกทาง
แต่ กับ “หนังไทย” ขอใช้สถานที่ราชการ หรือ ที่ทำงานของหน่วยงานในสังกัด แม่งแทบต้องไปกราบก้มพนมกร ไม่นับ “ต้องจ่าย “อยู่แล้ว ทั้งบนโต๊ะ ใต้โต๊ะ
ความสำเร็จ ของ เจ้ย อภิชาติพงษ์ ที่ คานส์ ก็ดี ผกก.ไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศ ไม่ว่าจะ เรื่องอะไร ที่ เดินตามมาก็ดี
ทุกคน “ดิ้นรน”ด้วยตัวเองทั้งนั้น...
รัฐบาลไทย. ไม่เคย มาช่วย เหี้ยไร เลย
เมื่อก่อน โตเกียว ฟิล์ม เฟส ดังสุดใหญ่สุด ใน เอเชีย
แต่พอ เกาหลี ตั้งเป้า และกำหนดเป็น นโยบายแห่งชาติ
รัฐและเอกชนวงการหนังเกาหลีใต้
ทำทุกอย่าง อัดทุกอย่าง จน “ปูซาน ฟิล์ม “
แย่งลำดับความสำคัญไปครอง
เดือดร้อน ยากูซ่า ต้อง ยึด โตเกียว ฟิล๋ม กลับมา จัดการเอง เพราะ “อาย” ที่เสียฟอร์มให้คู่กัดอย่าง
กิมจิ..
บ้านเรา จัด บางกอกฟิล์ม สนจ. เป็น จูลี่ชุดใหญ่ ปีแรก หลายปีถัดมา
ซุ้มมือปืน หนังที่สนจ.เขียนบท กำกับ ได้ รับการเลือกให้ฉายเป็น “หนังปิด” เทศกาล บางกอกฟิส์ม
ซึ่ง ทำท่าว่ากำลังจะติดลม เป็น ท๊อป 5 ของ เทศกาลหนังนานาชาติ ในเอเชีย
อ้าว เกิดคดี “แดก” จน อดีตผู้ว่าฯททท.กับลูกสาว ติดคุก ชื่องานเน่า ต้องเลิกจัด
หลัง ดีเอสไอ ใบ้แดก สาวไปเจอ ตอ
และยื้อกันอยู่นานยันฏีกา
จนไอ้ฝรั่งตัวการออกมาจากคุกนานแล้ว
และ ไม่มี ใครกล้าหรือคิดจะฟื้น เทศกาลหนังนานาชาติใน ไทย. ขึ้นมาอีก
ทั้ง ๆ ที่ หาด และเมืองชายทะเลไทย อย่างพัทยา กระบี่ หรือภูเก็ต แม่ง “สวย”กว่า ริเวียร่าและคานส์ ล้านเจ็ด
เขียนไปก็เท่านั้น..
รัฐบาลไทย ทุก ชุด
ไม่เคยให้ ราคา อุตสาหกรรมหนังไทย
แบบเอา จริง เหมือน เกาหลีใต้
คนในวงการหนังไทย แม่งก็ “ไม่รักกันจริง” เหมือน เกาหลีใต้..
ก็ อยู่ ๆ กันปาย..
วน ๆ ดู บ้านทรายทอง สายโลหิต เลือดสุพรรณ บางระจัน กันไป
เอา คำถามส่วนตัวก็ได้
คิดเหรอว่า หนังที่เรียกกันว่า non- fiction ที่ สนจ. เขียนบทและอยากกำกับ เรื่อง 24hours before Massacre
เรื่องเล่าว่าด้วย การสังหารหมู่ นิสิต นักศึกษา นักเรียน ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ในมหาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ เช้าวันที่ 6 ตุลา 2519
ซึ่ง สนจ. “เห็นเหตุการณื” ทั้งหมด ด้วยสายตาตัวเอง เป็น เรื่องจริง .
จะ ได้มี “โอกาส”สร้าง แล้วเอาออกไปฉายทั่วโลก...
55555
เอาอีกโปรเจคก็ได้..
หนังUncle Ho - non fiction
ว่า ด้วย โฮ จิ มินห์ ช่วง เคลื่อนไหวใน ไทย
2471-88 ..
หนัง. ดราม่าแอ็คชั่น..
พูดอังกฤษ. ทุน 5 ล้าน ยูเอส
ที่ สนจ. เขียนบทและจะกำกับ
วิ่งหาทุนอยู่3-4 ปี จน
อดีต รมต.ท่องเที่ยว วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ซื้อ ไอเดีย. หนุน จน เข้า มติ ครม.
ไก่อูแถลง ว่า เป็น 1 ใน การ ช่วย พีอาร์
นโยบาย เที่ยวเมืองรอง
พิจิตร นครพนม มุกดาหาร นครพนม
เพื่อน ผกก. รุม ดีใจด้วย
พอ เปลี่ยน รมต.
โครงการ นี้ ก็ โดน ถุย ทิ้ง
5555
เขียนแล้ว ก็ ขำ ๆ
กูเขียนกูพูดมา 4 ทศวรรษ... วันนี้
คนทำหนังไทย ยังต้อง “ดิ้นรน “ปากกัดตีนถีบกันเอง เลย
อย่าไป เพ้อเจ้อ เลยว่า จะขึ้นไปยืน บนเวที ออสการ์ เหมือนที่
บอง จุง โฮ กับ ทีม เกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จให้เราคนเอเชียด้วยกัน ภาคภูมิใจ.เมื่อเช้า
ก็อยู่ ๆ กันไปกับ อดีตอันเรืองรอง ก็แล้วกัน..
5555555


เกษมศักดิ์ วงศ์รัฐปัญญา

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2719919321390478&id=100001173096374

ooo




Parasite ชนชั้นปรสิต: ความสำเร็จที่มาจากรากฐานการสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้
.
ปี 1994 คิม ย็อง-ซัม ผู้นำเกาหลีใต้ รับรายงานว่า รายได้ส่งออกภาพยนตร์ Jurassic Park เรื่องเดียว ทำเงินเท่าการส่งออกรถยนต์ฮุนไดถึง 1.5 ล้านคัน
.
นับตั้งแต่นั้น เกาหลีใต้มองเห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมบันเทิงที่สามารถสร้างได้ให้ประเทศไม่แพ้อุตสาหกรรมอื่นๆ ในประเทศ
.
เกาหลีใต้จึงออกมาตรการและกฎหมายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะ เช่น จัดสรรงบประมาณของประเทศร้อยละ 1 เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ กระตุ้นให้กลุ่มทุนใหญ่ของประเทศ (แชโบล) ลงทุนในธุรกิจภาพยนตร์และสื่อบันเทิง ส่งเสริมการศึกษาด้านสื่อและศิลปะในมหาวิทยาลัย จัดตั้งหน่วยงานด้านเพื่อการส่งเสริมและส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงไปยังต่างประเทศ
.
นโยบายนี้จัดทำขึ้นโดยมุ่งหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างชาติเกาหลีใต้ได้
.
20 กว่าปีต่อมา ภาพยนตร์เรื่อง Parasite (ชนชั้นปรสิต) สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการภาพยนตร์โลก โดยการเป็นภาพยนตร์เกาหลีใต้เรื่องแรก และภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศเรื่องแรก ที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ปี 2020
.
เราขอแสดงความยินดีกับรางวัลอันน่าภาคภูมิใจของชาวเกาหลีใต้ในครั้งนี้
.
อ้างอิง
https://business.financialpost.com/news/retail-marketing/how-korea-became-the-worlds-coolest-brand
https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0163443706059278
ที่มาภาพ Facebook: The Academy


National Geographic Thailand