วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 04, 2563

วันนี้ อนุญาโตตุลาการเบิกความครั้งแรก คดี “เหมืองทอง อัครา” ที่สิงคโปร์ คดีนี้คนไทยสบายใจได้ ปฎิหาริย์ทางกฎหมาย ไม่มีแน่นอน เพราะไม่ใช่ "ศาลไทย"




วันนี้ อนุญาโตตุลาการเบิกความครั้งแรก คดี “เหมืองทองอัครา” ที่สิงคโปร์ ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยจะใช้เวลาพิจารณา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 – 12 ก.พ.2563 หลังถูกสั่งปิดเหมืองแล้วกว่า 3 ปี
.
นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผยกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ออนไลน์ (29 ม.ค.63) ถึงความคืบหน้ากำหนดการพิจารณาคดีตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างราชอาณาจักรไทย กับ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ในจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) (กรณีที่มีคำสั่งให้เหมืองแร่ทองคำชาตรียุติการประกอบกิจการในปี 2559) โดยระบุว่า กระบวนการดังกล่าว ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม คือ ในวันที่ 3 ก.พ.2563 ณ ประเทศสิงคโปร์ หลังจากถูกเลื่อนการการพิจารณาคดี ที่ฮ่องกง เมื่อเดือน พ.ย.2562
.
อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยอีกว่า วันที่ 3 ก.พ.นี้ ถือเป็นการเข้าสู่กระบวนการเบิกความครั้งแรก โดยอนุญาโตตุลาการจะใช้เวลาพิจารณา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 – 12 ก.พ.2563 ทางการไทยได้เตรียมพยานหลักฐานอย่างเต็มที่ในการต่อสู้คดี แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะส่งผลต่อรูปคดี
.
ด้าน แหล่งข่าวจากบริษัท อัคราฯ กล่าวว่า ยังคงพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลไทย โดยในระหว่างนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการขอเข้าพบเพื่อหารือถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อหาทางออกร่วมกัน ส่วนการต่อสู้คดีนั้นได้เตรียมพยานไว้พร้อมแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้เช่นกัน
.
สำหรับเหมืองแร่ “ชาตรี” หรือ เหมืองทองคำอัครา เปิดให้สัมปทานขุดเหมืองบริเวณรอยต่อของ จ.พิจิตร, จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ.2543 ยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย โดยบริษัท คิงส์เกท คอนโซลิเดเต็ด จำกัด จากประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้ชนะ ได้สิทธิสัมปทาน พร้อมมอบหมายให้บริษัทลูกในประเทศไทย บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจการการขุดเหมือง
.
หลังขุดทองกันได้ 7 ปี ในปี พ.ศ.2550 มีกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบออกมาร้องเรียน และความขัดแย้งในพื้นที่ เพิ่มดีกรีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มชาวบ้านมีทั้งฝ่ายสนับสนุนเหมืองทองคำ และฝ่ายที่ต่อต้านอยากให้เหมืองยุติ จนในที่สุด วันที่ 14 ธ.ค. 2559 ด้วยคำสั่งของ คสช. ที่ 72/2559 ประกาศว่า “ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ จะต้องระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป”
.
“ส่วนคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ต้องระงับการอนุญาตให้สำรวจ หรือทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงระงับการต่ออายุสัมปทานเหมืองแร่ทองคำ นอกจากนั้น ผู้ประกอบการ ต้องฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ตามที่กำหนดไว้ในรายการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม”
ถือเป็นการใช้ มาตรา 44 ระงับข้อขัดแย้ง ซึ่งก็มีเสียงวิจารณ์ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
.
อ่านเพิ่มเติมที่นี่:
https://workpointnews.com/2019/11/21/kingsgate/