มีโรงกษาปณ์ในไทย ทำไมต้องจ้างต่างชาติผลิต
ที่มา บีบีซีไทย
อธิบดีกรมธนารักษ์เปิดเผยว่าได้รับหนังสือชี้แจงและขอโทษจาก La Monnaie de Paris แต่ยังเดินหน้าศึกษาหนทางฟ้องร้องโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศสฐานเปิดเผยแม่แบบของเหรียญกษาปณ์รุ่นใหม่ในรัชกาลที่ 10 โดยไม่ได้รับอนุญาต
นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวกับบีบีซีไทย การจ้างโรงงานต่างชาติผลิตเหรียญกษาปณ์ เป็นเรื่องเกิดได้ในช่วงกำลัง การผลิตในประเทศของโรงกษาปณ์ รังสิต บนเนื้อที่ 128 ไร่ ไม่เพียงพอ
"ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ต้องดำเนินการตามเดิมในเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายจากเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง" นายพชร กล่าว
จ้างต่างชาติเป็นเรื่องปกติ เมื่อกำลังผลิตไม่เพียงพอ
นายพชร กล่าวว่า การจ้างโรงกษาปณ์ในต่างประเทศเป็นเรื่องปกติสำหรับโรงกษาปณ์ทั่วโลก เพราะในบางครั้งกำลังการผลิตอาจไม่เพียงพอ ในช่วงเวลาที่ต้องการผลิตจึงต้องว่าจ้างโรงกษาปณ์ภายนอกดำเนินการแทน ที่โรงกษาปณ์ รังสิต มีเครื่องผลิตเหรียญกษาปณ์ขนาดใหญ่ 2 เครื่อง และเครื่องเล็กอีกราว 10 เครื่อง โดยหน้าที่หลักคือการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในระบบการเงิน เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึกและผลิตภัณฑ์สั่งจ้างต่างๆ
"นอกจากโรงกษาปณ์ฝรั่งเศสแล้ว ที่ผ่านมากรมธนารักษ์เคยว่าจ้างผ่านการเปิดประมูลหลายรอบ โดยโรงกษาปณ์หลายแห่งในต่างประเทศ เช่น โปแลนด์ เกาหลีใต้"
คนแห่สะสมเหรียญกษาปณ์ ใน ร.9
อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวอีกว่า ในความเป็นจริงปัจจุบัน มีเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราว 3 หมื่นล้านเหรียญ แต่ละปี เกิดการสูญหายหรือเสียหายชำรุดออกจากระบบไปบ้าง ประมาณ 5-10%
แต่ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประชาชนมีความต้องการเก็บสะสมเหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 9 เป็นที่ระลึกและบูชามากขึ้นทำให้มีเหรียญกษาปณ์หายออกจากระบบมากกว่าปกติ
"ขณะนี้กรมธนารักษ์กำลังรวบรวมข้อมูลว่า เหรียญกษาปณ์ที่หายไปจากระบบแล้วจำนวนเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะนี้กรมธนารักษ์ก็ได้สั่งให้เพิ่มกำลังผลิตในโรงกษาปณ์เพิ่มขึ้นจากช่วงปกติราว 20%" นายพชรกล่าว
WWW.ROYALTHAIMINT.NET
โรงกษาปณ์ รังสิต
Cashless Society ความท้าทายใหม่
ความกังวลจากผลกระทบในเรื่องสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society กำลังกลายเป็นความท้าทายใหม่ในอุตสาหกรรมผลิตเหรียญกษาปณ์ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่รัฐบาลเอาจริงเอาจังกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการชำระเงินใหม่ๆ ภายในแผน National E-Payment ด้วยการส่งเสริมให้คนไทยใช้จ่ายผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์มากขึ้น
Cashless Society ความท้าทายใหม่
ความกังวลจากผลกระทบในเรื่องสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society กำลังกลายเป็นความท้าทายใหม่ในอุตสาหกรรมผลิตเหรียญกษาปณ์ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่รัฐบาลเอาจริงเอาจังกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการชำระเงินใหม่ๆ ภายในแผน National E-Payment ด้วยการส่งเสริมให้คนไทยใช้จ่ายผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์มากขึ้น
GETTY IMAGES
กรมธนารักษ์ คาดการณ์ว่าแนวโน้มดังกล่าวจะทำให้ความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ในระยะยาวลดลง
แต่ในความเห็นของอธิบดีกรมธนารักษ์ยืนยันว่า คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในต่างจังหวัดยังมีความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์นี้ต่อไป จึงทำให้การผลิตเหรียญกษาปณ์ยังคงจำเป็นต้องมีต่อไป ทางรอดของโรงกษาปณ์ก็คือต้องหารายได้จากการรับจ้างทำเหรียญที่ระลึกและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น เพื่อพยุงต้นทุนในการผลิต
...
เรื่องเกี่ยวข้อง...
La Monnaie de Paris โรงกษาปณ์ฝรั่งเศสอายุพันปี ขอโทษหลังเผยแพร่ วิดีโอเหรียญ ร.10
(บีบีซีไทย)