ธอส.ออก 6 มาตรการ พักหนี้-ลดดอกเบี้ย ช่วยผู้ประสบอุทกภัย
By กองบรรณาธิการ ข่าวเศรษฐกิจ
Voice TV
31 ตุลาคม 2560
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ออก 6 มาตรการ พักหนี้-ลดดอกเบี้ย-ให้กู้ซ่อม/สร้าง-ปลอดหนี้บางส่วน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ตามที่ปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์ฝนตกหนักที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยในหลายจังหวัด ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ ธอส.ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ พร้อมจะเป็นกลไกหลักในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชนที่ประสบอุทกภัย รวมถึงมาตรการฟื้นฟูภายหลังน้ำลดระดับลง โดยได้เตรียมวงเงิน 500 ล้านบาท จัดทำ “โครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2560” พร้อมออก 6 มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยธนาคารจะพิจารณาตามระดับความเสียหาย
สำหรับมาตรการที่ 1 สำหรับลูกค้าเดิมของ ธอส. กรณีหลักประกัน(ที่อยู่อาศัยที่จดจำนองกับธนาคาร) ได้รับผลกระทบ ธนาคารจะลดภาระดอกเบี้ยและเงินงวดผ่อนชำระ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 3 เดือนแรก เดือนที่ 4-12 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% ต่อปี ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.00% ต่อปี ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี และปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้กรณีลูกค้าสวัสดิการ ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-0.50% ต่อปี กรณีกู้เพื่อชำระหนี้หรือซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. อยู่ที่ 6.75% ต่อปี)
มาตรการที่ 2 สำหรับลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่อาคารหรือบ้านได้รับความเสียหาย สามารถขอกู้เพิ่ม หรือกู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างทดแทนหลังเดิม หรือกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 3.00% ต่อปี นาน 3 ปี หลังจากนั้น กรณีลูกค้าสวัสดิการ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี ส่วนลูกค้ารายย่อย คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี
มาตรการที่ 3 ลูกหนี้ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย และกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ ให้ลูกหนี้ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรกโดยไม่ต้องชำระเงินงวด จากนั้นเดือนที่ 5-16 อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ ให้ลูกหนี้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้
มาตรการที่ 4 ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ ให้ลูกหนี้ประนอมหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ให้ลูกหนี้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้
มาตรการที่ 5 ลูกหนี้ที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้ผ่อนชำระโดยใช้อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่คงเหลือตามสัญญากู้
และมาตรการที่ 6 กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังและไม่สามารถซ่อมแซมได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของราคาอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อเฉพาะในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น
สำหรับผู้ที่ต้องการกู้เพื่อปลูกสร้างซ่อมแซมอาคาร ธนาคารกำหนดวงเงินให้กู้ต่อรายไว้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 หลักประกัน โดยคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้าร่วมโครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2560 จะต้องเป็นลูกหนี้เดิมของ ธอส. หรือลูกค้าใหม่ ซึ่งมีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสที่ได้รับความเสียหายจากการประสบอุทกภัย สามารถติดต่อได้ที่สาขาของธนาคารอาคารสงเคราะห์ตั้งแต่วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ออก 6 มาตรการ พักหนี้-ลดดอกเบี้ย-ให้กู้ซ่อม/สร้าง-ปลอดหนี้บางส่วน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ตามที่ปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์ฝนตกหนักที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยในหลายจังหวัด ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ ธอส.ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ พร้อมจะเป็นกลไกหลักในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชนที่ประสบอุทกภัย รวมถึงมาตรการฟื้นฟูภายหลังน้ำลดระดับลง โดยได้เตรียมวงเงิน 500 ล้านบาท จัดทำ “โครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2560” พร้อมออก 6 มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยธนาคารจะพิจารณาตามระดับความเสียหาย
สำหรับมาตรการที่ 1 สำหรับลูกค้าเดิมของ ธอส. กรณีหลักประกัน(ที่อยู่อาศัยที่จดจำนองกับธนาคาร) ได้รับผลกระทบ ธนาคารจะลดภาระดอกเบี้ยและเงินงวดผ่อนชำระ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 3 เดือนแรก เดือนที่ 4-12 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% ต่อปี ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.00% ต่อปี ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี และปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้กรณีลูกค้าสวัสดิการ ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-0.50% ต่อปี กรณีกู้เพื่อชำระหนี้หรือซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. อยู่ที่ 6.75% ต่อปี)
มาตรการที่ 2 สำหรับลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่อาคารหรือบ้านได้รับความเสียหาย สามารถขอกู้เพิ่ม หรือกู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างทดแทนหลังเดิม หรือกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 3.00% ต่อปี นาน 3 ปี หลังจากนั้น กรณีลูกค้าสวัสดิการ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี ส่วนลูกค้ารายย่อย คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี
มาตรการที่ 3 ลูกหนี้ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย และกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ ให้ลูกหนี้ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรกโดยไม่ต้องชำระเงินงวด จากนั้นเดือนที่ 5-16 อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ ให้ลูกหนี้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้
มาตรการที่ 4 ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ ให้ลูกหนี้ประนอมหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ให้ลูกหนี้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้
มาตรการที่ 5 ลูกหนี้ที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้ผ่อนชำระโดยใช้อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่คงเหลือตามสัญญากู้
และมาตรการที่ 6 กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังและไม่สามารถซ่อมแซมได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของราคาอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อเฉพาะในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น
สำหรับผู้ที่ต้องการกู้เพื่อปลูกสร้างซ่อมแซมอาคาร ธนาคารกำหนดวงเงินให้กู้ต่อรายไว้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 หลักประกัน โดยคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้าร่วมโครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2560 จะต้องเป็นลูกหนี้เดิมของ ธอส. หรือลูกค้าใหม่ ซึ่งมีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสที่ได้รับความเสียหายจากการประสบอุทกภัย สามารถติดต่อได้ที่สาขาของธนาคารอาคารสงเคราะห์ตั้งแต่วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป