รู้จัก หวัง หู้หนิง กุนซือด้านต่างประเทศของ ปธน. จีนถึง 3 คน
6 พฤศจิกายน 2017
ที่มา BBC Thai
หวัง หู้หนิง เป็นนักวิชาการที่ผันตัวมาเป็นนักการเมือง ปัจจุบันเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดของจีน เขาเป็นที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศให้แก่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ฉายาว่าเป็น "คิสซิงเจอร์ของจีน" โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาแล้ว 3 คน
อี้ หวัง นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ล่ามทางการทูต และผู้ร่วมเขียนบทความเรื่อง "The Hidden Ruler: Wang Huning and the Making of Contemporary China" ได้เขียนบทความอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับหวัง หู้หนิง โดยเฉพาะเรื่อง "หวัง หู้หนิง: ยาถอนพิษของการเมืองเผด็จการ" บีบีซีไทย ได้รวบรวม 8 ข้อน่ารู้จากบทความดังกล่าวมานำเสนอดังนี้
1.วัยเด็ก: หวัง หู้หนิง เกิดในปี 1955 มีพื้นเพมาจากครอบครัวนักปฏิวัติในมณฑลซานตง สถานที่เกิดของขงจื๊อ เขาเป็นเด็กชายที่ค่อนข้างเงียบและเก็บตัว โปรดปรานการอ่านหนังสืออย่างมาก ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม (ระหว่างปี 1966-1976) ซึ่งหนังสือจำนวนมากถูกทำลาย เขาสามารถหาหนังสือต้องห้ามมาอ่านได้ รวมถึงวรรณกรรมคลาสสิกของต่างประเทศ
ประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์: จีนเลือกผู้นำอย่างไร?
พรรคคอมมิวนิสต์จีนชูอุดมการณ์ใหม่ของ สี จิ้นผิง
GETTY IMAGES
หวัง หู้หนิง (ซ้าย) ขณะเป็นสมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน พูดคุยกับ หลิว ฉีเป่า สมาชิกอีกคนของคณะกรรมการชุดเดียวกัน ระหว่างการเปิดการประชุมที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2015
ในปี 1978 หวังเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้เข้าร่วมการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ และเขาก็สอบผ่านด้วยคะแนนที่สูงลิ่ว โดยเขาได้รับให้เข้าศึกษาต่อด้านการเมืองระหว่างประเทศในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฟู่ต้านที่มีชื่อเสียง โดยไม่ต้องมีวุฒิปริญญาตรีมาก่อน
2.นักวิชาการที่ประสบความสำเร็จ: หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโท หวัง หู้หนิง ได้เป็นนักวิชาการที่มหาวิทยาลัยฟู่ต้าน และเจริญก้าวหน้าในสายงานอย่างรวดเร็ว เพราะความสามารถที่โดดเด่น ไม่เพียงแต่เป็นอาจารย์ที่นักศึกษาชื่นชอบ เขายังเป็นนักวิจัยที่มีผลงานมากมาย งานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาการเมืองและรัฐศาสตร์ของเขาได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางทั้งในวารสารวิชาการและสื่อทั่วไป
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 หวัง ได้เพิ่มพูนประสบการณ์นักวิชาการด้วยการเยือนสหรัฐฯ 6 เดือน และทำให้เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง America Against America ซึ่งเป็นการพูดถึงความขัดแย้งในหลายด้านภายในสังคมของสหรัฐฯ นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกการเมืองระหว่างประเทศ และคณบดีวิทยาลัยกฎหมายในวัยกว่า 30 ปีเท่านั้น
3.มากกว่าการเป็นนักวิชาการ: นอกจากงานด้านวิชาการแล้ว หวังยังช่วยฝึกซ้อมและให้คำแนะนำทีมโต้วาทีของมหาวิทยาลัยฟู่ต้าน จนสามารถชนะการแข่งขันระดับระหว่างประเทศที่ได้รับการถ่ายทอดทางโทรทัศน์และมีผู้ชมหลายล้านคนในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ทำให้เขายิ่งมีชื่อเสียงมากขึ้นในฐานะมันสมองของประเทศด้านประเด็นการเมืองในสมัยการปฏิรูปของเติ้ง เสี่ยวผิง ทำให้ผู้นำรัฐบาลในนครเซี่ยงไฮ้แนะนำเขาให้แก่ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมินของจีน
GETTY IMAGES
ในปี 1978 หวังเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้เข้าร่วมการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ และเขาก็สอบผ่านด้วยคะแนนที่สูงลิ่ว โดยเขาได้รับให้เข้าศึกษาต่อด้านการเมืองระหว่างประเทศในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฟู่ต้านที่มีชื่อเสียง โดยไม่ต้องมีวุฒิปริญญาตรีมาก่อน
2.นักวิชาการที่ประสบความสำเร็จ: หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโท หวัง หู้หนิง ได้เป็นนักวิชาการที่มหาวิทยาลัยฟู่ต้าน และเจริญก้าวหน้าในสายงานอย่างรวดเร็ว เพราะความสามารถที่โดดเด่น ไม่เพียงแต่เป็นอาจารย์ที่นักศึกษาชื่นชอบ เขายังเป็นนักวิจัยที่มีผลงานมากมาย งานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาการเมืองและรัฐศาสตร์ของเขาได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางทั้งในวารสารวิชาการและสื่อทั่วไป
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 หวัง ได้เพิ่มพูนประสบการณ์นักวิชาการด้วยการเยือนสหรัฐฯ 6 เดือน และทำให้เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง America Against America ซึ่งเป็นการพูดถึงความขัดแย้งในหลายด้านภายในสังคมของสหรัฐฯ นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกการเมืองระหว่างประเทศ และคณบดีวิทยาลัยกฎหมายในวัยกว่า 30 ปีเท่านั้น
3.มากกว่าการเป็นนักวิชาการ: นอกจากงานด้านวิชาการแล้ว หวังยังช่วยฝึกซ้อมและให้คำแนะนำทีมโต้วาทีของมหาวิทยาลัยฟู่ต้าน จนสามารถชนะการแข่งขันระดับระหว่างประเทศที่ได้รับการถ่ายทอดทางโทรทัศน์และมีผู้ชมหลายล้านคนในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ทำให้เขายิ่งมีชื่อเสียงมากขึ้นในฐานะมันสมองของประเทศด้านประเด็นการเมืองในสมัยการปฏิรูปของเติ้ง เสี่ยวผิง ทำให้ผู้นำรัฐบาลในนครเซี่ยงไฮ้แนะนำเขาให้แก่ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมินของจีน
GETTY IMAGES
คณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดใหม่ของจีน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของประเทศ ประกอบด้วย หาน เจิ้ง, หวัง หู้หนิง, หลี่ จ้านซู, ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง, นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง, วัง หยาง, เจ้า เล่อจี้
4.ผันตัวสู่วงการเมือง: หวังได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมงานกับรัฐบาลของประธานาธิบดีเจียงในปี 1995 ขณะมีอายุ 40 ปี โดยตอนแรกเขาได้เป็นหัวหน้ากลุ่มการเมืองของสำนักวิจัยนโยบายส่วนกลาง สื่อจีนรายงานเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงความประทับใจของประธานาธิบดีเจียงต่อความรู้ความสามารถของหวัง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประธานาธิบดีบิล คลินตัน ของสหรัฐฯ เยือนกรุงปักกิ่งในปี 1998 ประธานาธิบดีเจียงได้กล่าวถึงความสามารถด้านวิชาการของหวัง หู้หนิง ที่งานเลี้ยงอาหารค่ำ
5.ผลงานถูกใจประธานาธิบดี 3 คน: หวังได้ก้าวขึ้นเป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายส่วนกลางอย่างรวดเร็ว และได้เข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 2002 หลังจากที่ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ส่งมอบอำนาจต่อให้กับประธานาธิบดีหู จิ่นเทา หวังก็ยังคงทำงานให้แก่ผู้นำจีนคนใหม่ และขยับเข้าใกล้ศูนย์กลางอำนาจขึ้นไปอีก เมื่อเขากลายเป็นสมาชิกของเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์
จากนั้นเมื่อประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขึ้นมามีอำนาจ เขาก็ยังถูกเลือกให้ช่วยงานต่อ แทนที่จะถูกกำจัดออกจากตำแหน่งเช่นที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนในช่วงการส่งมอบอำนาจ นอกจากนี้ เขายังได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นด้วย โดยได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกรมการเมือง ซึ่งมีผู้นำระดับสูงของพรรคเป็นสมาชิก 25 คน และเมื่อสิ้นสุดการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 ที่ผ่านมา เขาก็ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในจีนจำนวน 7 คน รวมถึงประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน
การกวาดล้างครั้งใหญ่ใต้เงา สี จิ้นผิง
6.ปัจจัยความสำเร็จ 2 อย่าง: เหตุผลที่ทำให้เส้นทางการเมืองของหวัง หู้หนิง เติบโตอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีอยู่ 2 อย่างคือ สภาพแวดล้อมของระบบการเมืองในปัจจุบันของจีนและความเป็นจริงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้นำทั้ง 3 คนของจีนจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาจากหวัง เมื่อต้องแก้ปัญหาที่จีนเผชิญ ซึ่งไม่เพียงแต่ในทางเทคนิคหรือระบบเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้คำปรึกษาในแง่ของทฤษฎีและแนวคิดด้วย
ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือ คุณสมบัติส่วนตัวของหวังเอง เขาเป็นคนที่เต็มไปด้วยแนวคิดมากมาย ที่สามารถดึงดูดความสนใจของรัฐบาลในแต่ละสมัยได้ อย่างเช่น การเน้นย้ำความสำคัญของการเป็นผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ และความสำคัญลำดับแรกของรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ยังเขายังรู้ว่าควรจะนำเสนอแนวคิดเหล่านั้นเมื่อไหร่และอย่างไร
7.ความอ่อนสยบความแข็ง: ลักษณะการเป็นคนสุภาพ อ่อนโยน รู้ธรรมเนียมปฏิบัติ และชอบทำตัวเงียบ ๆ อี้ หวัง ระบุว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าลักษณะเหล่านี้มีส่วนต่อการที่ทำให้เขาอยู่รอดในทางการเมือง และทำให้คิดถึงสุภาษิตจีนโบราณว่า น้ำที่อ่อนสามารถเอาชนะหินและเหล็กได้ ไม่ว่ามันจะแข็งเพียงใดก็ตาม หวัง หู้หนิง จึงเปรียบเหมือนกับยาถอนพิษ ที่เข้ามาช่วยต้านพิษการเมืองแบบเผด็จการ
8.จิตใจอยู่เหนือวัตถุ: การผงาดขึ้นมาของหวัง หู้หนิง จากอดีตนักศึกษารัฐศาสตร์และปรัชญา ต่างไปจากแนวโน้มส่วนใหญ่ของผู้นำระดับสูงของจีนที่มักจะจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ อาจจะช่วยเปลี่ยนความคิดนักศึกษาในปัจจุบันที่รู้สึกว่าการเรียนวิชาอย่างปรัชญาและวรรณกรรมเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่เรียนด้านมนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์