โดย pravit
ที่มา ประชาไท Blogazine
17 มกราคม, 2016
ในสังคมที่รัฐประหารเกิดขึ้นเป็นระยะๆ อย่างดูไม่มีวันสิ้นสุดอย่างไทย สื่อเป็นมากกว่าเหยื่อของการคุกคามของเผด็จการทหารเพราะในหลายกรณี สื่อเป็นผู้ชื่นชม เชียร์ เลีย สนับสนุน แก้ต่างและให้ความร่วมมือกับแผด็จการทหารผู้ก่อรัฐประหารเสียเอง สื่อไทยจำนวนหนึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้การกระทำและระบอบที่ไร้ความชอบธรรมและเป็นเผด็จการ ดูมีความชอบธรรมและปกติธรรมดายิ่ง
ยกตัวอย่างบทวิเคราะห์การเมืองหน้าสามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายสูงสุดในประเทศที่มักเรียกอำนาจของหัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช. ภายใต้ ม.44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว (ฉบับทหาร) ว่า ‘อำนาจพิเศษ’
เวลาเราได้ยินคำว่า ‘พิเศษ’ มันมีนัยยะบวกและดีเสมอ เช่นสั่งก้วยเตี๋ยวน้ำพิเศษ หรือคนพิเศษ ช่วงเวลาพิเศษ แต่ในความจริงมันไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับอำนาจภายใต้ ม.44 และถ้าจะเรียกให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง ม.44 ก็คืออำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ไร้ความชอบธรรมนั่นเอง
การใช้คำขยายความแบบที่ไม่ตรงกับความจริงอาจทำให้ผู้อ่านไขว้เขวยอมรับและเคยชินว่าอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ไร้ความชอบธรรมเป็นสิ่งที่ดีพิเศษได้โดยไม่รู้ตัว
ในขณะเดียวกัน ถึงแม้รัฐบาลปัจจุบันมีนายพลเป็นนายกฯ รองนายกฯ และรัฐมนตรีจำนวนมากจนนับแทบไม่ถ้วนและมาจากรัฐประหาร แต่ก็มีหนังสือพิมพ์ระดับแนวหน้าอีกฉบับที่มีคำสั่งโดยบรรณาธิการใหญ่ว่าห้ามไม่ให้นักข่าวใช้คำว่า ‘รัฐบาลทหาร’ (military government) โดยเด็ดขาด
นี่ยังไม่รวมถึงบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่แบ่งรับแบ่งรับแบ่งสู้หรือแม้กระทั่งแก้ต่างให้คณะรัฐประหารเวลามีการยึดอำนาจ ไม่ว่าปี 57 หรือปี 49
แต่ที่โจ่งครึ่มกว่าคือการที่บรรดานักข่าวสายทำเนียบรัฐบาลจำนวนมิน้อยบรรจงแต่งชุดนักเรียนประถมออกต้อนรับประยุทธ์แบบคิขุเพื่อล้อเลียนวันเด็กแห่งชาติและถ่ายรูปเซลฟี่หมู่กับเผด็จการประยุทธ์ในลักษณะฟินเว่อร์เหมือนกำลังใกล้ถึงจุดสุดยอดทางอุดมการณ์สื่อ
ในสังคมที่รัฐประหารเกิดขึ้นเป็นระยะๆ อย่างดูไม่มีวันสิ้นสุดอย่างไทย สื่อเป็นมากกว่าเหยื่อของการคุกคามของเผด็จการทหารเพราะในหลายกรณี สื่อเป็นผู้ชื่นชม เชียร์ เลีย สนับสนุน แก้ต่างและให้ความร่วมมือกับแผด็จการทหารผู้ก่อรัฐประหารเสียเอง สื่อไทยจำนวนหนึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้การกระทำและระบอบที่ไร้ความชอบธรรมและเป็นเผด็จการ ดูมีความชอบธรรมและปกติธรรมดายิ่ง
ยกตัวอย่างบทวิเคราะห์การเมืองหน้าสามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายสูงสุดในประเทศที่มักเรียกอำนาจของหัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช. ภายใต้ ม.44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว (ฉบับทหาร) ว่า ‘อำนาจพิเศษ’
เวลาเราได้ยินคำว่า ‘พิเศษ’ มันมีนัยยะบวกและดีเสมอ เช่นสั่งก้วยเตี๋ยวน้ำพิเศษ หรือคนพิเศษ ช่วงเวลาพิเศษ แต่ในความจริงมันไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับอำนาจภายใต้ ม.44 และถ้าจะเรียกให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง ม.44 ก็คืออำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ไร้ความชอบธรรมนั่นเอง
การใช้คำขยายความแบบที่ไม่ตรงกับความจริงอาจทำให้ผู้อ่านไขว้เขวยอมรับและเคยชินว่าอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ไร้ความชอบธรรมเป็นสิ่งที่ดีพิเศษได้โดยไม่รู้ตัว
ในขณะเดียวกัน ถึงแม้รัฐบาลปัจจุบันมีนายพลเป็นนายกฯ รองนายกฯ และรัฐมนตรีจำนวนมากจนนับแทบไม่ถ้วนและมาจากรัฐประหาร แต่ก็มีหนังสือพิมพ์ระดับแนวหน้าอีกฉบับที่มีคำสั่งโดยบรรณาธิการใหญ่ว่าห้ามไม่ให้นักข่าวใช้คำว่า ‘รัฐบาลทหาร’ (military government) โดยเด็ดขาด
นี่ยังไม่รวมถึงบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่แบ่งรับแบ่งรับแบ่งสู้หรือแม้กระทั่งแก้ต่างให้คณะรัฐประหารเวลามีการยึดอำนาจ ไม่ว่าปี 57 หรือปี 49
แต่ที่โจ่งครึ่มกว่าคือการที่บรรดานักข่าวสายทำเนียบรัฐบาลจำนวนมิน้อยบรรจงแต่งชุดนักเรียนประถมออกต้อนรับประยุทธ์แบบคิขุเพื่อล้อเลียนวันเด็กแห่งชาติและถ่ายรูปเซลฟี่หมู่กับเผด็จการประยุทธ์ในลักษณะฟินเว่อร์เหมือนกำลังใกล้ถึงจุดสุดยอดทางอุดมการณ์สื่อ
ผู้เขียนดูรูปที่บรรดานกกระจอกข่าวออกอาการสุดปลื้มจนควบคุมสติไม่ได้เวลาห้อมล้อมเผด็จการประยุทธ์ที่คุกคามสื่อมาโดยตลอด (ดูรายงานสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในเรื่องนี้ประจำปี 2558 กันเอาเอง) แล้วฟันธงได้เลยว่าเราไว้ใจสื่อเหล่านี้ให้ตรวจสอบเผด็จการได้ล้านเปอร์เซ็นจริงๆ 555 (พอผู้เขียนทวีตรูปสองรูปนี้ที่ถ่ายโดย BBC Thai นักข่าวต่างชาติที่เป็นอดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT ส่งเมสเสจมาถามผมว่านี่เรื่องจริงหรือ เพราะไม่เชื่อว่ามันจะออกทะเลไปได้ไกลถึงขนาดนี้)
หากคุณคิดว่ารูปถ่ายเหล่านั้นมันอัปยศ คุณอาจแปลกใจเพราะสื่อจำนวนมิน้อยก็นำภาพเหล่านั้นไปเผยแพร่ในสื่อต่ออย่างไม่รู้สึกละอายหรือย้อนแย้งอะไรเลย แถมออกจากภูมิใจเสียอีกด้วย
ไม่กี่วันหลังการถ่ายรูปหมู่สุดซี้ฟินเว่อร์กับหัวหน้าคณะรัฐประหารที่ควบตำแหน่งนายกฯที่มาจากการยึดอำนาจ ก็ถึงเวลา ‘ตบรางวัล’ โดยกรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญเสนอเพิ่มอำนาจให้รัฐสามารถเซ็นเซอร์สื่อได้เวลาประกาศภาวะฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึกทั้งๆที่ในอดีตทำได้เพียงเมื่ออยู่ในภาวะสงครามเท่านั้น
ผมไม่อยากโทษแต่นักข่าว ‘เด็กๆ’ เหล่านั้นฝ่ายเดียวเพราะแม้แต่ ‘ผู้ใหญ่’ ในวงการก็ร่วมสังฆกรรมกับคณะรัฐประหารด้วยอย่างไม่รู้สึกละอายหรือย้อนแย้งใดๆ ซึ่งรวมถึงสองอดีตนายกสมาคมนักข่าวฯ
นาย ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นนายกสมาคมฯ ได้ยอมรับการแต่งตั้งโดยเผด็จการทหาร คสช. ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฎิรูปประเทศ ในขณะที่อดีตนายกสมาคมนักข่าวฯ นาย ภัทระ คำพิทักษ์ ปัจจุบันนี้ยังคงกำลังปฎิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันในฐานะหนึ่งในกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งโดยเผด็จการทหารชุดนายมีชัยที่เพิ่งเสนอให้เพิ่มอำนาจเซ็นเซอร์สื่อโดยรัฐนั่นเอง
ด้วยเหตุผลและตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด การสรุปว่าสื่อไทยเป็นเพียงเหยื่อการคุกคามของเผด็จการทหารจึงเป็นเรื่องที่คลาดเคลื่อนยิ่ง สื่อบางสำนักอาจเซ็นเซอร์ตนเองเพราะความกลัวในอำนาจเผด็จการทหาร แต่มีสื่อทั้งในระดับตัวบุคคลและระดับองค์กรจำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยและเชียร์ระบอบเผด็จการทหารอย่างออกหน้า เพราะเห็นด้วยกับระบอบอำนาจนิยม หรือมองว่า ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ เลวกว่า และบางคนบางองค์กรก็อาจจำไม่ได้เสียแล้วว่าหน้าที่หลักของสื่อต่อสาธารณะคืออะไร
ไม่ว่าเหตุผลเชียร์ เลีย แก้ต่าง ร่วมมือ หรือไม่ตรวจสอบเผด็จการทหารคืออะไร และไม่ว่าจะทำโดยรู้ตัวหรือไม่ สื่อไทยจำนวนมิน้อยได้มีบทบาทในการคงไว้ซึ่งวัฐจักรรัฐประหารยึดอำนาจและช่วยทำให้ระบอบเผด็จการทหารเป็นเรื่องปกติยอมรับได้ ซึ่งเป็นการบอนไซเสรีภาพและประชาธิปไตยในสังคมไทยไปโดยปริยาย
หมายเหตุ: บทความนี้แปลปรับปรุงจากคอลัมน์ผู้เขียนในข่าวสดอิงลิช Khaosodenglish.com ภายใต้ชื่อ Public’s Watchdogs Become Dictator’s Lapdogs (By Pravit Rojanaphruk) ลงวันที่ 16 มกราคม 2559