"ผลของการปิดประเทศและนโยบายที่ไม่สนใจการค้าขาย ก็มาสู่ยุคที่ “ต่อแต่นี้กรุงสยามก็ยังชีพอยู่ด้วยภาษีผักบุ้ง ภาษีเกลือ ตามมีตามเกิดเถิด” กระทั่ง พระโหราธิบดี หนึ่งในอดีตกองเชียร์พระเพทราชาก็กล่าวปลงในชะตากรรมของแผ่นดินว่า “วินาศะกาเล วิปริตพุทธิ ฤาหายนะจักมาเร็วกว่าที่คิด”และประวัติศาสตร์หลังจากนั้นก็บันทึกไว้ว่า ‘นั่งร้าน’ อย่างพระยาโกษาธิบดี ประสบชะตากรรมอย่างไรหลังจากการขึ้นครองอำนาจของพระเพทราชา"
คอลัมน์: way to read
เรื่อง: กล้า สมุทวณิช
ที่มา Way Magazine
January 6, 2016
ข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยกัน คือเราจะไม่เรียกผู้เขียนด้วยชื่อและคำนำหน้าอันมาจากประวัติชีวิตและผลงานอื่นๆ
คือจะไม่เรียกว่า รองนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ อาจารย์ หรือแม้แต่เนติบริกร
แต่เราจะเรียกเขาว่า ‘วิษณุ เครืองาม’ ในฐานะนักเขียนนิยาย วิษณุโดดๆ ไม่มีคำนำหน้าหรือคำตามหลัง ดังที่เราเรียก ว.วินิจฉัยกุล อุทิศ เหมะมูล อย่างนั้น
หากอาจจะมีแต้มต่อบ้างในฐานะ นักเขียนนิยายมือใหม่ที่ทำงานวิชาการและราชการด้านกฎหมายมาตลอดนับแต่เริ่มต้นชีวิตการทำงาน แต่เปิดตัวด้วย ‘นวนิยายอิงประวัติศาสตร์’ ขนาดเฉียดพันหน้า ก็ถือว่าเรื่องนี้เป็นการ ‘เล่นใหญ่’ เลยทีเดียวสำหรับการประกาศแจ้งเกิดในวงการนักเขียนนวนิยาย
การจัดเอาประวัติศาสตร์ไทยและฝรั่งเศสในยุค สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มหาราช ‘สุริยกษัตริย์’ ซึ่งประวัติศาสตร์ในยุคนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่มีวัตถุดิบให้เล่นได้มากสำหรับการเขียนนิยาย ด้วยว่าเป็นช่วงที่สยามเปิดประเทศ มีกองทัพและขุนนางต่างชาติที่มีทั้งที่มาและเนื้อหาที่น่าสนใจให้หยิบจับมาสร้างเป็นตัวละครได้หลายตัวในฉากประวัติศาสตร์ที่เข้มข้นในเกมแห่งราชบัลลังก์ ไม่ผิดกับเรื่องแนวเดียวกันของฝรั่งฝั่งยุโรป
ข้ามสมุทร เปิดฉากด้วย ‘พจน์’ หนุ่มนักเรียนไทยในฝรั่งเศสผู้ศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ ผู้มีฝีมือในการวาดภาพเป็นงานเสริมหาลำไพ่ ได้รับบูรณภาพหญิงสาวลึกลับภาพหนึ่งที่เชื่อว่าตกทอดมาแต่ยุคพระเจ้าหลุยส์ และเมื่อระฆังบอกสหัศวรรษดังขึ้นในคืนข้าม ค.ศ. 2000 ด้วยอำนาจหรือพลังอันอธิบายไม่ได้ก็ดึงเขาหลุดไหลลงสู่กรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2228 ยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลายเป็นลูกคหบดีนามว่า ‘แสน’ ในช่วงเวลาก่อนที่ ออกพระวิสุทธสุนทร กำลังระดมคนที่มีความรู้ความสามารถ ข้ามมหาสมุทรอินเดียสู่แอตแลนติก ไปถวายพระราชสาสน์ต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งมหาอาณาจักรฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซายล์
ออกพระวิสุทธสุนทรผู้ประวัติศาสตร์จารึกในนามของ ‘โกษาปาน’ ชาวไทยสยามคนแรกๆ ที่โลกรู้จัก
เราอาจแบ่งนิยายเรื่องนี้ออกเป็นสี่ภาคใหญ่ๆ ก็คือ ช่วงต้นเรื่องก่อนที่พจน์จะหลุดหลงสู่โลกอดีต ช่วงการเดินทางข้ามสมุทรและภารกิจที่อาณาจักรฝรั่งเศส มาสู่ช่วงเวลาแห่งศึกชิงอำนาจรัฐประหารโดย พระเพทราชา และช่วงอวสานที่เป็นบทสรุปของเรื่องราวทั้งหมด
แม้จุดประสงค์ของผู้เขียนนั้น อาจจะเป็นไปเพื่อเชิดชูวีกรรมของ ‘คนไทย’ ผู้ไม่ควรถูกลืมเลือนลงง่ายๆ ของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และความไม่เที่ยงของสงครามอำนาจในยุคท้ายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หากเส้นเรื่องหลักของตัวพระเอกก็ไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยภารกิจผจญภัย ‘เพื่อชาติบ้านเมือง’ อะไรหนักหนานัก หากอยู่บนการจับพลัดจับผลู และการเข้าไปพัวพันกับเรื่องรักหักสวาทของแสนหรือพจน์ตัวเอกเสียมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อเขาได้พบกับสตรีเจ้าของภาพต้นแบบ บุตรีของขุนนางฝรั่งเศส ลา เปอโร เดอบุยยอง
การดำเนินเรื่องเป็นการมองผ่านมุมมองของพจน์หรือแสน ผสมมุมมองของพระเจ้าที่อธิบายประวัติศาสตร์อย่างสารคดี
ข้อสังเกตส่วนตัวที่เมื่อพูดคุยกันแล้วก็สอดคล้องกับผู้อ่านท่านอื่นด้วย คือ จุดอ่อนของนิยายเรื่องนี้ คือความ ‘เสียดายของ’ ของผู้เขียน ที่ค้นคว้าข้อมูลทั้งในส่วนของภารกิจและวีรกรรมของคณะราชทูตสยามในดินแดนฝรั่งเศส และข้อมูลเรื่องการเมืองและเกมอำนาจในปลายรัชสมัยพระนารายณ์ ทำให้วิษณุใส่ ‘ทุกอย่าง’ ลงไป ทั้งในรูปแบบนิยายและเรื่องเล่าผ่านความรับรู้ของตัวเอก ซึ่งบางครั้งก็มากไป หรือบางครั้งก็เหมือนอ่านสารคดีหรือบทความใน ศิลปวัฒนธรรม หากในหลายส่วน ผู้เขียนก็เขียนได้ดีน่าติดตามจริงๆ จนบางช่วงน่าติดตามเส้นเรื่องหลักจนเผลออ่านข้ามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไปก็มี
ดังมีผู้วิจารณ์รวบยอดไว้ตรงใจหลายคนว่า “จะอ่านอย่างสารคดีประวัติศาสตร์ก็เบื่อเรื่องของพระเอก แต่จะอ่านอย่างนิยายข้อมูลประวัติศาสตร์ก็ล้นเหลือไป”
นอกจากนั้นก็ข้อติติงเรื่องเทคนิคการเล่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็พออภัยให้ได้สำหรับมือใหม่ หากส่วนใหญ่ในภาพรวมก็ถือว่าสอบผ่านแบบได้คะแนนค่อนข้างดี หากส่งนิยายเล่มนี้เข้าประกวดแบบนักเขียนหน้าใหม่นิรนามก็ดีพอจะเข้ารอบสุดท้าย ทั้งการเก็บตกตัวละครต่างๆ ก็ทำได้ดี แบบไม่ทิ้งตัวละครสำคัญ ทั้งตัวละครหลักและตัวรองไว้เลย ซึ่งต้องยอมรับว่าเก็บละเอียดแบบไม่พลาด ทั้งยังมีความคาดไม่ถึงหรือหักมุมเล็กน้อยพอให้ผู้อ่านร้องเฮ้ย และย้อนกลับไปอ่านเรื่องช่วงก่อนหน้าที่อาจจะลืมเลือนไปแล้วอยู่ด้วย รวมทั้งอารมณ์ขันและการยกเทียบเปรียบเปรย ซึ่งเป็นเหมือนลายเซ็นของผู้เขียน
ส่วนที่สนุกที่สุดของเล่ม ในเชิงนวนิยาย อยู่ที่ท่อนที่สอง การผจญภัยในท้องทะเลของแสน กับคณะราชทูตบนเรือ ‘อัวโซ’ วิหคทะเล ที่รอมแรมฝ่าคลื่นยักษ์และน้ำวน จากสยามสู่ดินแดนบันตัมที่เป็นอินโดนีเซียในปัจจุบัน อ้อมแหลมกู้ดโฮป เข้าสู่เมืองแบรสต์ของฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันถนนเส้นที่คณะราชทูตไทยเหยียบแผ่นดิน ถูกขนานนามว่า ‘ถนนสยาม’ (Rue du Siam) จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนชีวิตรักของแสนกับสาวน้อยผู้บริสุทธิ์อ่อนเยาว์ แม่กระต่ายป่า ลาเปอโร และการประกอบกรณียกิจของคณะราชทูตในราชสำนักฝรั่งเศส และต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในท่อนนี้มีความเป็นนิยายอยู่สูงที่สุด ประกอบกับข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ที่แทรกไว้ได้กลมกล่อมพองาม เป็นช่วงที่อ่านได้อย่างเพลิดเพลินในตอนกลาง
ส่วนภาคที่สาม อันได้แก่ส่วนที่เข้มข้นที่สุดของศึกชิงราชบัลลังก์นั้น กลับ ‘แรงตก’ ลงไป คล้ายกับผู้เขียนหมดแรงเสียแล้ว จึงเล่าเรื่องอย่างเกือบจะอัดย่อ ผ่านเรื่องเล่าและข่าวลือที่ตัวเอกรับรู้ หรือหลายครั้งก็เล่าเรื่องที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์กันตรงไปตรงมาเลยทีเดียว ซึ่งในทางวิชาการเขียนก็ทำได้อยู่ เพราะนี่คือเรื่องเล่าจากมุมมองพระเจ้าที่เข้าข้างพระเอก และตัวเอกเองโดยตำแหน่งแห่งที่ก็ไม่อาจไปอยู่ในเหตุการณ์ได้โดยง่าย เพียงแต่ความเรียบเนียนน่าติดตามก็ลดลง
ทั้งๆ ที่เนื้อเรื่องในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาที่ว่านั้นหากเอามาใส่รายละเอียดอย่างนิยาย จะสนุกขึ้นกว่านี้มาก แต่หากทำเช่นนั้นนิยายเล่มนี้อาจหนาขึ้นได้อีกราว 30 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว
และยิ่งกว่านั้น เหตุการณ์ในช่วงของการรัฐประหารของพระเพทราชา ก็เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์แห่งอำนาจที่น่าคิด โดยเฉพาะหากใครอ่านแล้วมองประวัติศาสตร์ในแง่ของบทเรียนแห่งความเป็นไปได้
‘ความเป็นไปได้’ ที่ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย นั่นก็เพราะแท้แล้วประวัติศาสตร์คือการบันทึกพฤติกรรมของมนุษย์เอาไว้ เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือเงื่อนไขถึงพร้อม ‘พฤติกรรม’ ในการตอบสนองของมนุษย์ก็น่าจะตอบสนองออกมาอย่างเดิม ดังเช่นเด็กที่โกหกสักครั้งแล้วรอดจากการถูกลงโทษ ก็มีแนวโน้มว่าหากเกิดเหตุอันอาจมีโทษขึ้น เด็กนั้นก็จะเลือกที่จะโกหกอีก หากไม่มีบทเรียนใดทำให้ต้อง ‘คิดใหม่’ ว่า การโต้ตอบแบบเดิมนั้นไม่ให้คุณหรือเป็นโทษ
ฉันนั้นเช่นกัน เมื่อขั้วอำนาจใดๆ ก็ตาม รู้สึกตัวเองว่าอำนาจของตนกำลังถูกรบกวนจากอำนาจภายนอก หรืออำนาจที่เหนือกว่าที่ตัวอาจต่อกรหรือรับมือไม่ได้ สิ่งที่ขั้วอำนาจนั้นจะกระทำ ก็คือการกระชับบีบอำนาจของตนไว้ให้มั่น และตัดท่อถมทางมิให้อำนาจที่เหนือกว่าเติบโตขยับขยายไปจนตนเองไม่อาจรับมือได้ นี่คือสิ่งที่ปรากฏซ้ำรอยไปมาในวงวัฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะชาตินี้หรือชาติไหน
เช่นที่ขุนนางจำนวนหนึ่งซึ่งเป็น ‘ขั้วอำนาจ’ ในอาณาจักรอยุธยานั้น ‘ไม่มั่นใจ’ ว่าพวกฝรั่งต่างชาติต่างศาสนา เริ่มขยายตัวมีอำนาจ และเริ่มเข้าครอบงำกษัตริย์อันมีฐานะเป็น ‘เจ้าแห่งรัฐ’ นั้น อำนาจของตัวเองจะเป็นอย่างไร และถ้าผู้ครองแผ่นดินพระองค์ใหม่ไม่ได้นับถือศาสนา ‘ประจำชาติ’ เก่าเล่า? จะเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนั้นเอง ทำให้พวกเขาต้องกลบเกลื่อนด้วยการอ้างว่า แผ่นดินจะเกิด ‘ทุรยศ’ จนจะต้องยกให้ใครสักคนที่มีอำนาจ บารมี และกำลัง พอที่จะ ‘กระชับ’ อำนาจเข้าไว้และขับไล่สิ่งแปลกปลอมให้ได้นั้น เข้ามาเพื่อ ‘กู้ชาติกู้แผ่นดิน’ หรือตรงไปตรงมาคือ เอาสภาพแห่งการปกครองเดิมๆ ที่พวกเขาได้เปรียบอยู่คืนกลับมา
แรกนั้นพระเพทราชาอาจหวังเพียงแค่จะ “…สกัดอำนาจไม่ให้คนต่างด้าวท้าวต่างแดนไม่ว่าชาติใดๆ เข้ามาครองกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น…” แต่คณะผู้ก่อการ ซึ่งรวมถึงโกษาปานด้วย ก็คะยั้นคะยอให้ท่านทำการยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ และปราบดาภิเษกขึ้นสู่อำนาจเสียเอง เพราะ “..ไม่ใช่ไล่ฝรั่งไปแล้ว ต้องมาปล่อยม้าอุปการหาเจ้าแผ่นดินกันอีก ก็ไอ้การที่จักสกัดอำนาจต่างชาตินั้นต้องมีผู้นำมิใช่ฤา เราจักให้ทหารฟังใคร จักสัญญากับขุนทหารว่าจบแล้วเหตุการณ์เป็นฉันใดไม่ใช่ให้เขาออกมารบอีก..”
กล่าวสรุปด้วยภาษาสมัยใหม่ คือบรรดาขุนนางอัญเชิญพระเพทราชาขึ้นยึดอำนาจเพื่อให้ท่านเป็นหัวหน้าในการกู้ชาติ และครองอำนาจเพื่อกระชับอำนาจไม่ให้รบราฆ่าฟันกันต่อไปในช่วงชุลมุนแห่งอำนาจเท่านั้นจนกว่ากรุงศรีที่เชื่อว่างดงามจะคืนกลับมา
นี่คือที่มาของ ‘รัฐประหาร’ โดยพระเพทราชา ผู้เป็นขุนนางกรมช้างกรมม้า ไม่มีความรู้เรื่องการขายค้าหรือพูดจากับฝรั่ง โดยกำลังและการสนับสนุนจากบรรดาขุนนาง ‘รักชาติ’ ก็สามารถรัฐประหารปราบดาเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ใหม่แห่งกรุงศรีอยุธยา แล้วทำการ ‘ปิดประเทศ’ ขับไล่ฝรั่งออกไป และล้างบางชาวต่างชาติและขุนนางที่ยังจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนารายณ์อย่างโหดเหี้ยม
โดยที่การกวาดล้างครั้งใหญ่ก็เริ่มต้นขึ้น ไม่แต่กับฝ่ายขั้วอำนาจเก่ากับชาวต่างชาติเท่านั้น แต่ยังกวาดกองมาถึงขุนนางฝ่ายที่สนับสนุนพระเพทราชา และ หลวงสรศักดิ์ เอง ด้วยถือคติว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์หรือมหาปราสาทสำเร็จสวยงามแล้ว ใครเล่าจะเก็บ ‘นั่งร้าน’ เอาไว้ เขาก็ต้องรื้อทิ้งเป็นธรรมดา จึงไม่แปลกอะไรที่จะกวาดล้างแม้แต่ขุนนางฝ่ายที่สนับสนุนตนเองขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งมีค่าเป็นแค่ ‘นั่งร้าน’ ที่รอวันรื้อทิ้งเท่านั้น
บางคนที่ถูกกวาดล้างนั้น มีความผิดเพียงเพราะแค่ ‘ไม่มาปรากฏตัวในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา’ หรือภาษาสมัยนี้ก็คงคล้ายๆ การไม่มา ‘เช็คชื่อ’ รายงานตัวต่อคณะรัฐประหารกระมัง
ผลของการปิดประเทศและนโยบายที่ไม่สนใจการค้าขาย ก็มาสู่ยุคที่ “ต่อแต่นี้กรุงสยามก็ยังชีพอยู่ด้วยภาษีผักบุ้ง ภาษีเกลือ ตามมีตามเกิดเถิด” กระทั่ง พระโหราธิบดี หนึ่งในอดีตกองเชียร์พระเพทราชาก็กล่าวปลงในชะตากรรมของแผ่นดินว่า “วินาศะกาเล วิปริตพุทธิ ฤาหายนะจักมาเร็วกว่าที่คิด” และประวัติศาสตร์หลังจากนั้นก็บันทึกไว้ว่า ‘นั่งร้าน’ อย่างพระยาโกษาธิบดี ประสบชะตากรรมอย่างไรหลังจากการขึ้นครองอำนาจของพระเพทราชา
จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้รสทางวรรณกรรมในช่วงส่วนท้ายของนิยายเล่มนี้อาจจะอ่อนลงไปจนคล้ายสารคดีที่ใช้ตัวละครจากนิยายเข้าร่วมแสดง แต่ความเข้มข้นทางเนื้อหาก็ทำให้เราติดตามอ่าน และคิดตามไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากบริบทปัจจุบัน บริบทแห่งประวัติศาสตร์ที่อาจตอบจักสนองคืนได้เช่นเดียวกับรอยกงล้อที่เคยวาดทางไว้ในยุคสมัยอันอ้างถึงในนิยายนั้น
และทำให้เราเผลอหลงลืม ‘ข้อตกลงเบื้องต้น’ กับตัวเองว่าจะพิจารณางานนี้อย่างนักเขียนไร้ตำแหน่งผู้หนึ่ง เมื่อเรารำลึกขึ้นได้ว่า ผู้เขียนนั้นก็เสมือนนั่งร้านตัวหนึ่งประกอบปราการแห่งอำนาจของระบอบที่ร่วมสมัยอยู่กับเรา
ข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยกัน คือเราจะไม่เรียกผู้เขียนด้วยชื่อและคำนำหน้าอันมาจากประวัติชีวิตและผลงานอื่นๆ
คือจะไม่เรียกว่า รองนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ อาจารย์ หรือแม้แต่เนติบริกร
แต่เราจะเรียกเขาว่า ‘วิษณุ เครืองาม’ ในฐานะนักเขียนนิยาย วิษณุโดดๆ ไม่มีคำนำหน้าหรือคำตามหลัง ดังที่เราเรียก ว.วินิจฉัยกุล อุทิศ เหมะมูล อย่างนั้น
หากอาจจะมีแต้มต่อบ้างในฐานะ นักเขียนนิยายมือใหม่ที่ทำงานวิชาการและราชการด้านกฎหมายมาตลอดนับแต่เริ่มต้นชีวิตการทำงาน แต่เปิดตัวด้วย ‘นวนิยายอิงประวัติศาสตร์’ ขนาดเฉียดพันหน้า ก็ถือว่าเรื่องนี้เป็นการ ‘เล่นใหญ่’ เลยทีเดียวสำหรับการประกาศแจ้งเกิดในวงการนักเขียนนวนิยาย
การจัดเอาประวัติศาสตร์ไทยและฝรั่งเศสในยุค สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มหาราช ‘สุริยกษัตริย์’ ซึ่งประวัติศาสตร์ในยุคนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่มีวัตถุดิบให้เล่นได้มากสำหรับการเขียนนิยาย ด้วยว่าเป็นช่วงที่สยามเปิดประเทศ มีกองทัพและขุนนางต่างชาติที่มีทั้งที่มาและเนื้อหาที่น่าสนใจให้หยิบจับมาสร้างเป็นตัวละครได้หลายตัวในฉากประวัติศาสตร์ที่เข้มข้นในเกมแห่งราชบัลลังก์ ไม่ผิดกับเรื่องแนวเดียวกันของฝรั่งฝั่งยุโรป
ข้ามสมุทร เปิดฉากด้วย ‘พจน์’ หนุ่มนักเรียนไทยในฝรั่งเศสผู้ศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ ผู้มีฝีมือในการวาดภาพเป็นงานเสริมหาลำไพ่ ได้รับบูรณภาพหญิงสาวลึกลับภาพหนึ่งที่เชื่อว่าตกทอดมาแต่ยุคพระเจ้าหลุยส์ และเมื่อระฆังบอกสหัศวรรษดังขึ้นในคืนข้าม ค.ศ. 2000 ด้วยอำนาจหรือพลังอันอธิบายไม่ได้ก็ดึงเขาหลุดไหลลงสู่กรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2228 ยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลายเป็นลูกคหบดีนามว่า ‘แสน’ ในช่วงเวลาก่อนที่ ออกพระวิสุทธสุนทร กำลังระดมคนที่มีความรู้ความสามารถ ข้ามมหาสมุทรอินเดียสู่แอตแลนติก ไปถวายพระราชสาสน์ต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งมหาอาณาจักรฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซายล์
ออกพระวิสุทธสุนทรผู้ประวัติศาสตร์จารึกในนามของ ‘โกษาปาน’ ชาวไทยสยามคนแรกๆ ที่โลกรู้จัก
เราอาจแบ่งนิยายเรื่องนี้ออกเป็นสี่ภาคใหญ่ๆ ก็คือ ช่วงต้นเรื่องก่อนที่พจน์จะหลุดหลงสู่โลกอดีต ช่วงการเดินทางข้ามสมุทรและภารกิจที่อาณาจักรฝรั่งเศส มาสู่ช่วงเวลาแห่งศึกชิงอำนาจรัฐประหารโดย พระเพทราชา และช่วงอวสานที่เป็นบทสรุปของเรื่องราวทั้งหมด
แม้จุดประสงค์ของผู้เขียนนั้น อาจจะเป็นไปเพื่อเชิดชูวีกรรมของ ‘คนไทย’ ผู้ไม่ควรถูกลืมเลือนลงง่ายๆ ของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และความไม่เที่ยงของสงครามอำนาจในยุคท้ายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หากเส้นเรื่องหลักของตัวพระเอกก็ไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยภารกิจผจญภัย ‘เพื่อชาติบ้านเมือง’ อะไรหนักหนานัก หากอยู่บนการจับพลัดจับผลู และการเข้าไปพัวพันกับเรื่องรักหักสวาทของแสนหรือพจน์ตัวเอกเสียมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อเขาได้พบกับสตรีเจ้าของภาพต้นแบบ บุตรีของขุนนางฝรั่งเศส ลา เปอโร เดอบุยยอง
การดำเนินเรื่องเป็นการมองผ่านมุมมองของพจน์หรือแสน ผสมมุมมองของพระเจ้าที่อธิบายประวัติศาสตร์อย่างสารคดี
ข้อสังเกตส่วนตัวที่เมื่อพูดคุยกันแล้วก็สอดคล้องกับผู้อ่านท่านอื่นด้วย คือ จุดอ่อนของนิยายเรื่องนี้ คือความ ‘เสียดายของ’ ของผู้เขียน ที่ค้นคว้าข้อมูลทั้งในส่วนของภารกิจและวีรกรรมของคณะราชทูตสยามในดินแดนฝรั่งเศส และข้อมูลเรื่องการเมืองและเกมอำนาจในปลายรัชสมัยพระนารายณ์ ทำให้วิษณุใส่ ‘ทุกอย่าง’ ลงไป ทั้งในรูปแบบนิยายและเรื่องเล่าผ่านความรับรู้ของตัวเอก ซึ่งบางครั้งก็มากไป หรือบางครั้งก็เหมือนอ่านสารคดีหรือบทความใน ศิลปวัฒนธรรม หากในหลายส่วน ผู้เขียนก็เขียนได้ดีน่าติดตามจริงๆ จนบางช่วงน่าติดตามเส้นเรื่องหลักจนเผลออ่านข้ามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไปก็มี
ดังมีผู้วิจารณ์รวบยอดไว้ตรงใจหลายคนว่า “จะอ่านอย่างสารคดีประวัติศาสตร์ก็เบื่อเรื่องของพระเอก แต่จะอ่านอย่างนิยายข้อมูลประวัติศาสตร์ก็ล้นเหลือไป”
นอกจากนั้นก็ข้อติติงเรื่องเทคนิคการเล่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็พออภัยให้ได้สำหรับมือใหม่ หากส่วนใหญ่ในภาพรวมก็ถือว่าสอบผ่านแบบได้คะแนนค่อนข้างดี หากส่งนิยายเล่มนี้เข้าประกวดแบบนักเขียนหน้าใหม่นิรนามก็ดีพอจะเข้ารอบสุดท้าย ทั้งการเก็บตกตัวละครต่างๆ ก็ทำได้ดี แบบไม่ทิ้งตัวละครสำคัญ ทั้งตัวละครหลักและตัวรองไว้เลย ซึ่งต้องยอมรับว่าเก็บละเอียดแบบไม่พลาด ทั้งยังมีความคาดไม่ถึงหรือหักมุมเล็กน้อยพอให้ผู้อ่านร้องเฮ้ย และย้อนกลับไปอ่านเรื่องช่วงก่อนหน้าที่อาจจะลืมเลือนไปแล้วอยู่ด้วย รวมทั้งอารมณ์ขันและการยกเทียบเปรียบเปรย ซึ่งเป็นเหมือนลายเซ็นของผู้เขียน
ส่วนที่สนุกที่สุดของเล่ม ในเชิงนวนิยาย อยู่ที่ท่อนที่สอง การผจญภัยในท้องทะเลของแสน กับคณะราชทูตบนเรือ ‘อัวโซ’ วิหคทะเล ที่รอมแรมฝ่าคลื่นยักษ์และน้ำวน จากสยามสู่ดินแดนบันตัมที่เป็นอินโดนีเซียในปัจจุบัน อ้อมแหลมกู้ดโฮป เข้าสู่เมืองแบรสต์ของฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันถนนเส้นที่คณะราชทูตไทยเหยียบแผ่นดิน ถูกขนานนามว่า ‘ถนนสยาม’ (Rue du Siam) จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนชีวิตรักของแสนกับสาวน้อยผู้บริสุทธิ์อ่อนเยาว์ แม่กระต่ายป่า ลาเปอโร และการประกอบกรณียกิจของคณะราชทูตในราชสำนักฝรั่งเศส และต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในท่อนนี้มีความเป็นนิยายอยู่สูงที่สุด ประกอบกับข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ที่แทรกไว้ได้กลมกล่อมพองาม เป็นช่วงที่อ่านได้อย่างเพลิดเพลินในตอนกลาง
ส่วนภาคที่สาม อันได้แก่ส่วนที่เข้มข้นที่สุดของศึกชิงราชบัลลังก์นั้น กลับ ‘แรงตก’ ลงไป คล้ายกับผู้เขียนหมดแรงเสียแล้ว จึงเล่าเรื่องอย่างเกือบจะอัดย่อ ผ่านเรื่องเล่าและข่าวลือที่ตัวเอกรับรู้ หรือหลายครั้งก็เล่าเรื่องที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์กันตรงไปตรงมาเลยทีเดียว ซึ่งในทางวิชาการเขียนก็ทำได้อยู่ เพราะนี่คือเรื่องเล่าจากมุมมองพระเจ้าที่เข้าข้างพระเอก และตัวเอกเองโดยตำแหน่งแห่งที่ก็ไม่อาจไปอยู่ในเหตุการณ์ได้โดยง่าย เพียงแต่ความเรียบเนียนน่าติดตามก็ลดลง
ทั้งๆ ที่เนื้อเรื่องในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาที่ว่านั้นหากเอามาใส่รายละเอียดอย่างนิยาย จะสนุกขึ้นกว่านี้มาก แต่หากทำเช่นนั้นนิยายเล่มนี้อาจหนาขึ้นได้อีกราว 30 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว
และยิ่งกว่านั้น เหตุการณ์ในช่วงของการรัฐประหารของพระเพทราชา ก็เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์แห่งอำนาจที่น่าคิด โดยเฉพาะหากใครอ่านแล้วมองประวัติศาสตร์ในแง่ของบทเรียนแห่งความเป็นไปได้
‘ความเป็นไปได้’ ที่ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย นั่นก็เพราะแท้แล้วประวัติศาสตร์คือการบันทึกพฤติกรรมของมนุษย์เอาไว้ เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือเงื่อนไขถึงพร้อม ‘พฤติกรรม’ ในการตอบสนองของมนุษย์ก็น่าจะตอบสนองออกมาอย่างเดิม ดังเช่นเด็กที่โกหกสักครั้งแล้วรอดจากการถูกลงโทษ ก็มีแนวโน้มว่าหากเกิดเหตุอันอาจมีโทษขึ้น เด็กนั้นก็จะเลือกที่จะโกหกอีก หากไม่มีบทเรียนใดทำให้ต้อง ‘คิดใหม่’ ว่า การโต้ตอบแบบเดิมนั้นไม่ให้คุณหรือเป็นโทษ
ฉันนั้นเช่นกัน เมื่อขั้วอำนาจใดๆ ก็ตาม รู้สึกตัวเองว่าอำนาจของตนกำลังถูกรบกวนจากอำนาจภายนอก หรืออำนาจที่เหนือกว่าที่ตัวอาจต่อกรหรือรับมือไม่ได้ สิ่งที่ขั้วอำนาจนั้นจะกระทำ ก็คือการกระชับบีบอำนาจของตนไว้ให้มั่น และตัดท่อถมทางมิให้อำนาจที่เหนือกว่าเติบโตขยับขยายไปจนตนเองไม่อาจรับมือได้ นี่คือสิ่งที่ปรากฏซ้ำรอยไปมาในวงวัฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะชาตินี้หรือชาติไหน
เช่นที่ขุนนางจำนวนหนึ่งซึ่งเป็น ‘ขั้วอำนาจ’ ในอาณาจักรอยุธยานั้น ‘ไม่มั่นใจ’ ว่าพวกฝรั่งต่างชาติต่างศาสนา เริ่มขยายตัวมีอำนาจ และเริ่มเข้าครอบงำกษัตริย์อันมีฐานะเป็น ‘เจ้าแห่งรัฐ’ นั้น อำนาจของตัวเองจะเป็นอย่างไร และถ้าผู้ครองแผ่นดินพระองค์ใหม่ไม่ได้นับถือศาสนา ‘ประจำชาติ’ เก่าเล่า? จะเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนั้นเอง ทำให้พวกเขาต้องกลบเกลื่อนด้วยการอ้างว่า แผ่นดินจะเกิด ‘ทุรยศ’ จนจะต้องยกให้ใครสักคนที่มีอำนาจ บารมี และกำลัง พอที่จะ ‘กระชับ’ อำนาจเข้าไว้และขับไล่สิ่งแปลกปลอมให้ได้นั้น เข้ามาเพื่อ ‘กู้ชาติกู้แผ่นดิน’ หรือตรงไปตรงมาคือ เอาสภาพแห่งการปกครองเดิมๆ ที่พวกเขาได้เปรียบอยู่คืนกลับมา
แรกนั้นพระเพทราชาอาจหวังเพียงแค่จะ “…สกัดอำนาจไม่ให้คนต่างด้าวท้าวต่างแดนไม่ว่าชาติใดๆ เข้ามาครองกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น…” แต่คณะผู้ก่อการ ซึ่งรวมถึงโกษาปานด้วย ก็คะยั้นคะยอให้ท่านทำการยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ และปราบดาภิเษกขึ้นสู่อำนาจเสียเอง เพราะ “..ไม่ใช่ไล่ฝรั่งไปแล้ว ต้องมาปล่อยม้าอุปการหาเจ้าแผ่นดินกันอีก ก็ไอ้การที่จักสกัดอำนาจต่างชาตินั้นต้องมีผู้นำมิใช่ฤา เราจักให้ทหารฟังใคร จักสัญญากับขุนทหารว่าจบแล้วเหตุการณ์เป็นฉันใดไม่ใช่ให้เขาออกมารบอีก..”
กล่าวสรุปด้วยภาษาสมัยใหม่ คือบรรดาขุนนางอัญเชิญพระเพทราชาขึ้นยึดอำนาจเพื่อให้ท่านเป็นหัวหน้าในการกู้ชาติ และครองอำนาจเพื่อกระชับอำนาจไม่ให้รบราฆ่าฟันกันต่อไปในช่วงชุลมุนแห่งอำนาจเท่านั้นจนกว่ากรุงศรีที่เชื่อว่างดงามจะคืนกลับมา
นี่คือที่มาของ ‘รัฐประหาร’ โดยพระเพทราชา ผู้เป็นขุนนางกรมช้างกรมม้า ไม่มีความรู้เรื่องการขายค้าหรือพูดจากับฝรั่ง โดยกำลังและการสนับสนุนจากบรรดาขุนนาง ‘รักชาติ’ ก็สามารถรัฐประหารปราบดาเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ใหม่แห่งกรุงศรีอยุธยา แล้วทำการ ‘ปิดประเทศ’ ขับไล่ฝรั่งออกไป และล้างบางชาวต่างชาติและขุนนางที่ยังจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนารายณ์อย่างโหดเหี้ยม
โดยที่การกวาดล้างครั้งใหญ่ก็เริ่มต้นขึ้น ไม่แต่กับฝ่ายขั้วอำนาจเก่ากับชาวต่างชาติเท่านั้น แต่ยังกวาดกองมาถึงขุนนางฝ่ายที่สนับสนุนพระเพทราชา และ หลวงสรศักดิ์ เอง ด้วยถือคติว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์หรือมหาปราสาทสำเร็จสวยงามแล้ว ใครเล่าจะเก็บ ‘นั่งร้าน’ เอาไว้ เขาก็ต้องรื้อทิ้งเป็นธรรมดา จึงไม่แปลกอะไรที่จะกวาดล้างแม้แต่ขุนนางฝ่ายที่สนับสนุนตนเองขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งมีค่าเป็นแค่ ‘นั่งร้าน’ ที่รอวันรื้อทิ้งเท่านั้น
บางคนที่ถูกกวาดล้างนั้น มีความผิดเพียงเพราะแค่ ‘ไม่มาปรากฏตัวในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา’ หรือภาษาสมัยนี้ก็คงคล้ายๆ การไม่มา ‘เช็คชื่อ’ รายงานตัวต่อคณะรัฐประหารกระมัง
ผลของการปิดประเทศและนโยบายที่ไม่สนใจการค้าขาย ก็มาสู่ยุคที่ “ต่อแต่นี้กรุงสยามก็ยังชีพอยู่ด้วยภาษีผักบุ้ง ภาษีเกลือ ตามมีตามเกิดเถิด” กระทั่ง พระโหราธิบดี หนึ่งในอดีตกองเชียร์พระเพทราชาก็กล่าวปลงในชะตากรรมของแผ่นดินว่า “วินาศะกาเล วิปริตพุทธิ ฤาหายนะจักมาเร็วกว่าที่คิด” และประวัติศาสตร์หลังจากนั้นก็บันทึกไว้ว่า ‘นั่งร้าน’ อย่างพระยาโกษาธิบดี ประสบชะตากรรมอย่างไรหลังจากการขึ้นครองอำนาจของพระเพทราชา
จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้รสทางวรรณกรรมในช่วงส่วนท้ายของนิยายเล่มนี้อาจจะอ่อนลงไปจนคล้ายสารคดีที่ใช้ตัวละครจากนิยายเข้าร่วมแสดง แต่ความเข้มข้นทางเนื้อหาก็ทำให้เราติดตามอ่าน และคิดตามไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากบริบทปัจจุบัน บริบทแห่งประวัติศาสตร์ที่อาจตอบจักสนองคืนได้เช่นเดียวกับรอยกงล้อที่เคยวาดทางไว้ในยุคสมัยอันอ้างถึงในนิยายนั้น
และทำให้เราเผลอหลงลืม ‘ข้อตกลงเบื้องต้น’ กับตัวเองว่าจะพิจารณางานนี้อย่างนักเขียนไร้ตำแหน่งผู้หนึ่ง เมื่อเรารำลึกขึ้นได้ว่า ผู้เขียนนั้นก็เสมือนนั่งร้านตัวหนึ่งประกอบปราการแห่งอำนาจของระบอบที่ร่วมสมัยอยู่กับเรา