iLaw
a day ago
·
วันอาทิตย์นี้จะมีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ในระดับจังหวัด ชวนประชาชนทดสอบระบบการสังเกตการณ์การเลือกสว.กันอีกสักรอบ หลังรอบอำเภอผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าไปภายในสถานที่เลือกได้ ต้องอยู่ด้านนอกดูจอโทรทัศน์ถ่ายทอดสดที่มีแต่ภาพกว้างๆไม่มีเสียง ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ แม้บางสถานที่เลือกจะมีพื้นที่กว้างขวางแต่ “ปิดโอกาส” สำหรับการสังเกตการณ์ภายในสถานที่เลือก
รอบจังหวัดเรายังพยายามสังเกตการณ์ต่อไป ยืนยันในหลักการว่า ประชาชนทุกคนต้องสามารถเข้าสังเกตการณ์ได้
ชวนทุกคนร่วมกันสังเกตการณ์กระบวนการเลือกกันเองของผู้สมัครได้ตามสถานที่เลือกระดับจังหวัดใกล้บ้าน ตอนนี้บางจังหวัดมีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนร่วมสังเกตการณ์เลย เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ติดป้ายไวนิลเชิญชวนกันเลย (https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=437504515865330&id=100088173544243&mibextid=ox5AEW&rdid=8l14h0yaK9UR6Y9u) และวันที่ 10 มิถุนายน 2567 ไอลอว์ทำหนังสือขอสังเกตการณ์ระดับจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่ไปและได้รับการตอบกลับมาแล้วว่า “ตามที่ไอลอว์ได้แจ้งขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยขอให้พิจารณาอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์จากไอลอว์เข้าไปสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดภายในสถานที่เลือกไม่ใช่การสังเกตการณ์ผ่านจอโทรทัศน์ด้านนอก เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์นั้น
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่ ยินดีให้ผู้สังเกตการณ์จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัดภายในสถานที่เลือก ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔...โดยก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่เลือกขอความร่วมมือติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับบัตรประจำตัวสำหรับผู้สังเกตการณ์ภายในสถานที่เลือก และในระหว่างที่อยู่ภายในบริเวณสถานที่เลือก ขอความร่วมมือผู้สังเกตการณ์อยู่ภายในบริเวณที่จัดให้ และไม่กระทำการในลักษณะที่เป็นการกระทบหรือเป็นอุปสรรคระหว่างดำเนินการเลือก และไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๖๑”
ขณะที่วันที่ 14 มิถุนายน 2567 เวลา 11.13 น. กกต. (https://www.facebook.com/photo?fbid=810611161171881&set=a.275306914702311) ออกข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนมาร่วมสังเกตการณ์ โดยผู้สนใจสามารถยื่นแบบคำขอสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้ที่สำนักงานกกต.ประจำจังหวัดสำหรับการเลือกระดับจังหวัด และสำนักงานกกต.กลาง สำหรับการเลือกระดับประเทศ
สรุปแล้วทีมสังเกตการณ์ลงพื้นที่ เราขอแนะนำให้เตรียมเอกสารแบบคำขอสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาและตื่นเช้าไปที่สถานที่เลือกใกล้บ้านหรือที่ที่สะดวก โดยยื่นคำขอให้ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด ให้พิจารณาใช้ดุลพินิจตามพ.ร.ป.สว. 61 มาตรา 37 ในการอนุญาตให้เข้าสังเกตการณ์ในพื้นที่สังเกตการณ์ “ใกล้ชิด” ที่จัดไว้สำหรับผู้สังเกตการณ์ แต่หากเข้าไม่ได้ประชาชนยังสามารถสังเกตการณ์ที่ด้านหน้าสถานที่เลือก ซึ่งกกต.ระบุว่า จะมีการจัดสถานที่ให้สังเกตการณ์การนับคะแนนผ่านจอโทรทัศน์
แล้วต้องดูอะไรกันบ้าง?
ด้านหน้าสถานที่เลือกมีการจัดสถานที่สำหรับให้ประชาชนสังเกตการณ์ตามที่กกต.ประกาศไว้หรือไม่
⛍ มีการอำนวยความสะดวกผู้พิการหรือผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง
สังเกตเห็นการขนผู้สมัครสว.มาที่สถานที่เลือกหรือไม่
การสวมเสื้อหรือติดสัญลักษณ์แบบเดียวกันที่ชี้ให้เห็นว่า เป็นพวกเดียวกันและ “จัดตั้ง” กันมา
การนับคะแนนถูกต้องหรือไม่ ขานบัตรดีเป็นบัตรเสีย (วิดีโอทำความเข้าใจบัตรดี-บัตรเสีย : https://www.facebook.com/watch/?v=370708738890298)
ส่วนทีมออนไลน์ สายนักสืบสามารถเข้าเว็บไซต์กกต. (https://senator.ect.go.th) เพื่อค้นประวัติของผู้สมัครสว. ลองไปดูกันหน่อยว่า ประวัติของพวกเราถูกต้องตามที่ระบุหรือมีความสอดคล้องกับกลุ่มที่สมัครหรือไม่ ส่วนสายโซเชียลหากกำลังไถฟีดอยู่เจอโพสต์เล่าเหตุการณ์ความไม่ปกติในการเลือกสว. มีหลักฐานแน่นหนา สามารถเก็บข้อมูลไว้และรายงานเข้ามาได้ที่เพจ We Watch หรือ 02-114-3189 หรือทางโซเชียลมีเดียของเราได้
ฮาวทูจับโกงแบบมัดตัวคนผิดและมัดใจกกต.
หากเจอสิ่งผิดปกติที่เข้าข่ายการโกงการเลือกตั้ง ผู้เห็นเหตุการณ์ควรจะถ่ายภาพและวิดีโอไว้เป็นหลักฐานโดยสามารถส่งต่อให้ทีมงานของเราหรือ We Watch เราจะเก็บข้อมูลผู้รายงานไว้เป็นความลับ ในทางการสืบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษนั้นหลักฐานภาพและวิดีโอเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ในความเป็นจริงเราทราบดีว่า การได้มาซึ่งหลักฐานสำหรับประชาชนทั่วไปแล้วเป็นเรื่องยากลำบากเพราะเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และพื้นที่ดังกล่าวอาจตกอยู่ภายใต้ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ซึ่งส่งผลสร้างความหวาดกลัว ความเป็นกังวลต่อความปลอดภัย ดังนั้นเราขอแนะนำให้ผู้เห็นเหตุการณ์ประเมินความเสี่ยงของการเก็บหลักฐานด้วย
แบบคำขอ : https://drive.google.com/.../1LyxUpWpgCMb8y3EOYMQqqC.../view
https://www.facebook.com/photo/?fbid=862880359218918&set=a.625664032940553
วันอาทิตย์นี้จะมีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ในระดับจังหวัด ชวนประชาชนทดสอบระบบการสังเกตการณ์การเลือกสว.กันอีกสักรอบ หลังรอบอำเภอผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าไปภายในสถานที่เลือกได้ ต้องอยู่ด้านนอกดูจอโทรทัศน์ถ่ายทอดสดที่มีแต่ภาพกว้างๆไม่มีเสียง ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ แม้บางสถานที่เลือกจะมีพื้นที่กว้างขวางแต่ “ปิดโอกาส” สำหรับการสังเกตการณ์ภายในสถานที่เลือก
รอบจังหวัดเรายังพยายามสังเกตการณ์ต่อไป ยืนยันในหลักการว่า ประชาชนทุกคนต้องสามารถเข้าสังเกตการณ์ได้
ชวนทุกคนร่วมกันสังเกตการณ์กระบวนการเลือกกันเองของผู้สมัครได้ตามสถานที่เลือกระดับจังหวัดใกล้บ้าน ตอนนี้บางจังหวัดมีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนร่วมสังเกตการณ์เลย เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ติดป้ายไวนิลเชิญชวนกันเลย (https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=437504515865330&id=100088173544243&mibextid=ox5AEW&rdid=8l14h0yaK9UR6Y9u) และวันที่ 10 มิถุนายน 2567 ไอลอว์ทำหนังสือขอสังเกตการณ์ระดับจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่ไปและได้รับการตอบกลับมาแล้วว่า “ตามที่ไอลอว์ได้แจ้งขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยขอให้พิจารณาอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์จากไอลอว์เข้าไปสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดภายในสถานที่เลือกไม่ใช่การสังเกตการณ์ผ่านจอโทรทัศน์ด้านนอก เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์นั้น
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่ ยินดีให้ผู้สังเกตการณ์จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัดภายในสถานที่เลือก ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔...โดยก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่เลือกขอความร่วมมือติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับบัตรประจำตัวสำหรับผู้สังเกตการณ์ภายในสถานที่เลือก และในระหว่างที่อยู่ภายในบริเวณสถานที่เลือก ขอความร่วมมือผู้สังเกตการณ์อยู่ภายในบริเวณที่จัดให้ และไม่กระทำการในลักษณะที่เป็นการกระทบหรือเป็นอุปสรรคระหว่างดำเนินการเลือก และไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๖๑”
ขณะที่วันที่ 14 มิถุนายน 2567 เวลา 11.13 น. กกต. (https://www.facebook.com/photo?fbid=810611161171881&set=a.275306914702311) ออกข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนมาร่วมสังเกตการณ์ โดยผู้สนใจสามารถยื่นแบบคำขอสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้ที่สำนักงานกกต.ประจำจังหวัดสำหรับการเลือกระดับจังหวัด และสำนักงานกกต.กลาง สำหรับการเลือกระดับประเทศ
สรุปแล้วทีมสังเกตการณ์ลงพื้นที่ เราขอแนะนำให้เตรียมเอกสารแบบคำขอสังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภาและตื่นเช้าไปที่สถานที่เลือกใกล้บ้านหรือที่ที่สะดวก โดยยื่นคำขอให้ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด ให้พิจารณาใช้ดุลพินิจตามพ.ร.ป.สว. 61 มาตรา 37 ในการอนุญาตให้เข้าสังเกตการณ์ในพื้นที่สังเกตการณ์ “ใกล้ชิด” ที่จัดไว้สำหรับผู้สังเกตการณ์ แต่หากเข้าไม่ได้ประชาชนยังสามารถสังเกตการณ์ที่ด้านหน้าสถานที่เลือก ซึ่งกกต.ระบุว่า จะมีการจัดสถานที่ให้สังเกตการณ์การนับคะแนนผ่านจอโทรทัศน์
แล้วต้องดูอะไรกันบ้าง?
ด้านหน้าสถานที่เลือกมีการจัดสถานที่สำหรับให้ประชาชนสังเกตการณ์ตามที่กกต.ประกาศไว้หรือไม่
⛍ มีการอำนวยความสะดวกผู้พิการหรือผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง
สังเกตเห็นการขนผู้สมัครสว.มาที่สถานที่เลือกหรือไม่
การสวมเสื้อหรือติดสัญลักษณ์แบบเดียวกันที่ชี้ให้เห็นว่า เป็นพวกเดียวกันและ “จัดตั้ง” กันมา
การนับคะแนนถูกต้องหรือไม่ ขานบัตรดีเป็นบัตรเสีย (วิดีโอทำความเข้าใจบัตรดี-บัตรเสีย : https://www.facebook.com/watch/?v=370708738890298)
ส่วนทีมออนไลน์ สายนักสืบสามารถเข้าเว็บไซต์กกต. (https://senator.ect.go.th) เพื่อค้นประวัติของผู้สมัครสว. ลองไปดูกันหน่อยว่า ประวัติของพวกเราถูกต้องตามที่ระบุหรือมีความสอดคล้องกับกลุ่มที่สมัครหรือไม่ ส่วนสายโซเชียลหากกำลังไถฟีดอยู่เจอโพสต์เล่าเหตุการณ์ความไม่ปกติในการเลือกสว. มีหลักฐานแน่นหนา สามารถเก็บข้อมูลไว้และรายงานเข้ามาได้ที่เพจ We Watch หรือ 02-114-3189 หรือทางโซเชียลมีเดียของเราได้
ฮาวทูจับโกงแบบมัดตัวคนผิดและมัดใจกกต.
หากเจอสิ่งผิดปกติที่เข้าข่ายการโกงการเลือกตั้ง ผู้เห็นเหตุการณ์ควรจะถ่ายภาพและวิดีโอไว้เป็นหลักฐานโดยสามารถส่งต่อให้ทีมงานของเราหรือ We Watch เราจะเก็บข้อมูลผู้รายงานไว้เป็นความลับ ในทางการสืบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษนั้นหลักฐานภาพและวิดีโอเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ในความเป็นจริงเราทราบดีว่า การได้มาซึ่งหลักฐานสำหรับประชาชนทั่วไปแล้วเป็นเรื่องยากลำบากเพราะเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และพื้นที่ดังกล่าวอาจตกอยู่ภายใต้ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ซึ่งส่งผลสร้างความหวาดกลัว ความเป็นกังวลต่อความปลอดภัย ดังนั้นเราขอแนะนำให้ผู้เห็นเหตุการณ์ประเมินความเสี่ยงของการเก็บหลักฐานด้วย
แบบคำขอ : https://drive.google.com/.../1LyxUpWpgCMb8y3EOYMQqqC.../view
https://www.facebook.com/photo/?fbid=862880359218918&set=a.625664032940553