https://www.facebook.com/reel/998132974779691
.....
Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม
11 hours ago
·
มองผลงานศิลปกรรมยุคคณะราษฎร ชาตรี-ศรัญญู ฉายภาพศิลปะสมัยใหม่ หลัง 2475
.
ในงาน สโมสรศิลปวัฒนธรรม สเปเชียล ๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์ “พลวัตวันชาติ” วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายนย 2567 เวลา 11.00-12.00 น. Talk กำเนิดศิลปะสมัยใหม่ หลัง 2475 โดย ศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี ประกิตนนทการ และ ผศ. ดร. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ดำเนินรายการโดย ธนกฤต ก้องเวหา บนเวทีอาจารย์ทั้งสองท่านนำเสนอฉากทัศน์ใหม่ของ “ศิลปะ” ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่
.
อ.ชาตรี ได้นำเสนอข้อมูลในประเด็นการจัดการศพของคนไทยสมัยนั้น แล้วการจัดการศพเกี่ยวข้องอย่างไรกับศิลปะสมัยใหม่ หลัง 2475 อ.ชาตรี ได้ฉายภาพให้เห็นว่า การจัดการศพของคนไทยสมัยก่อนทำกันอย่างหยาบๆ หากเป็นคนยากคนจนศพก็จะถูกปล่อยให้แร้งกามาจิกกิน
.
แต่สำหรับคนส่วนมากจะเผาศพบนเชิงตะกอน โดยก่อนการเผา คนไทยสมัยก่อนมีธรรมเนียมเก็บศพไว้ก่อน ซึ่งบ้างก็มักนำศพไปฝังดินตื้นๆ ไม่กี่สิบเซนติเมตร แล้วค่อยเอามาเผาภายหลัง
.
ซึ่งการจัดการศพในลักษณะเหล่านี้ ทำให้เกิดปัญหาอุจาด เป็นภาพที่ไม่น่ามอง มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดย อ.ชาตรี ชี้ว่า ศพที่ฝังระหว่างรอเผา เมื่อฝนตกน้ำชะล้างดิน สัตว์ก็มากัดกินศพ บ้างน้ำเหลืองของเน่าเสียก็ไหลนอง เป็นสภาพที่เลวร้ายมากสำหรับบ้านเมืองยุคก่อน
.
“ความอุจาด” สู่นโยบายการสร้างเมรุสมัยใหม่ของคณะราษฎร
.
สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นนโยบายเร่งด่วนของคณะราษฎรที่รีบเข้ามาจัดการหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งการจะจัดการศพให้เป็นระเบียบและทันสมัยได้ ก็ต้องใช้ “เมรุ” ที่มาพร้อมกับเตาเผาศพสมัยใหม่ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2478 ผู้ผลักดันคนสำคัญคือ “ปรีดี พนมยงค์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ
.
แม้ว่าการทำงานของคณะทำงานจะไม่ประสบผลสำเร็จ เมรุแบบทันสมัยจะไม่ได้ถูกก่อสร้างขึ้นมา แต่ก็นับว่ารัฐบาลคณะราษฎรได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการศพของประชาชน
.
จนกระทั่ง เมรุที่มาพร้อมกับเตาเผาศพสมัยใหม่ กระทำสำเร็จในปี 2483 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
.
ซึ่งเมรุแบบสมัยใหม่แห่งนั้น ตั้งอยู่ที่วัดไตรมิตรฯ อย่างไรก็ตาม มีบางกระแสเห็นแย้งว่า เมรุในลักษณะเช่นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว คือ เมรุปูนที่วัดสระเกศ แต่ประเด็นนี้ อ.ชาตรี ยกหลักฐานยืนยันว่า เมรุที่อ้างว่าเป็นเมรุตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้นไม่ได้มีเตาเผาศพสมัยใหม่ อ.ชาตรี ยืนยันว่า ก่อนปี 2475 ไม่มีเตาเผาศพสมัยใหม่เข้ามาในสยามอย่างแน่นอน
.
แล้วทำไมในยุคก่อนปี 2475 จึงไม่นำเข้าเตาเผาศพสมัยใหม่เข้ามา ?
.
ประเด็นนี้ อ.ชาตรี ได้ยกคำอธิบายของ “กรมดำรงฯ” มาอ้างอิง ซึ่งสรุปได้ว่า คนไทยไม่นิยมเผาศพในจุดเดียวกับที่เผาศพคนอื่น เป็นเรื่องชนชั้นของการเผาศพ หากนำเอาเตาเผาศพสมัยใหม่เข้ามาใช้ในยุคก่อนปี 2475 ก็จะไม่สำเร็จผล เพราะคนไทยยังรังเกียจที่จะเผาศพในจุดเดียวกันอยู่
.
อ.ชาตรี กล่าวส่งท้ายว่า การสิ้นสุดของเมรุที่วัดสระเกศ และการกำเนิดขึ้นของเมรุวัดไตรมิตรฯ ถือเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ของไทยจากรัฐจารีตสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ เป็นมรดกที่สำคัญของ “2475”
.
ความเฟื่องฟูของ “ศิลปะ” หลัง 2475 เป็นอย่างไร?
.
ด้าน อ.ศรัญญู ก็ได้มาบอกเล่าถึงประเด็นศิลปกรรมในแขนงต่างๆ ช่วงยุค 2475 ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะของไทย โดย อ.ศรัญญู กล่าวเน้นให้เห็นว่า ในยุคหลังปี 2475 การเติบโตของงานศิลปกรรมในแขนงต่าง ๆ เฟื่องฟูอย่างเห็นได้ชัด
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการก่อตั้ง “ศิลปากร” ในปี 2478 เกิดการเรียนการสอนที่เป็นระบบ นั่นจึงยิ่งทำให้ศาสตร์แห่งศิลป์ของไทยในยุคนี้พัฒนามากที่สุดยุคหนึ่งเลยก็ว่าได้
.
ผลงานศิลปะของคณะราษฎรที่สำคัญๆ เช่น อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญแห่งแรกที่จังหวัดมหาสารคาม สร้างในปี 2477 ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง, อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีประติมากรรมของชาวนาบนอนุสาวรีย์นี้ หรืออย่างหอกระจายเสียงที่ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ปรากฏพานรัฐธรรมนูญอยู่ด้วย
.
นอกจากนี้ยังมี การทำ “ขัน” ซึ่งแต่เดิมขันจะสอดแทรกลวดลายมงคล หรือนักษัตร แต่ในระบอบใหม่นั้นมีการนำพานรัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปเป็นลวดลายบนขันอีกด้วย
.
นอกจากนี้ยังมีเข็มขัดทองเหลืองที่มีตราเป็นรัฐธรรมนูญ หรือพวกเข็มกลัดต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เหล่านี้ สะท้อนบรรยากาศของยุคสมัย สะท้อนภาพการเมืองในยุค 2575 ผ่านศิลปะของคณะราษฎรบนวัตถุต่างๆ
.
โดยสรุปแล้ว อ.ศรัญญู ได้ฉายภาพให้เห็นว่า ศิลปะในยุคคณะราษฎรนั้นจะเน้นไปที่ความสมจริง และสัมพันธ์กับบริบทศิลปะของของโลกในยุคนั้น กล่าวคือ มีระบบระเบียบที่ชัดเจน มีแบบแผนตามสมัยใหม่ ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกอย่างชัดเจน อย่างเช่น ศิลปะแบบ Art Deco
.
แต่สิ่งที่เป็นความเด่นชัดมากที่สุดประการหนึ่งของศิลปะในยุคนี้คือ งานศิลปกรรมจะมีความเชื่อมโยงกับการเมือง ศิลปะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง เช่น แนวคิดหลัก 6 ประการ, ลัทธิรัฐธรรมนูญ, เรื่องชาติ ชาตินิยม ฯลฯ
.....
.....
Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม
11 hours ago
·
มองผลงานศิลปกรรมยุคคณะราษฎร ชาตรี-ศรัญญู ฉายภาพศิลปะสมัยใหม่ หลัง 2475
.
ในงาน สโมสรศิลปวัฒนธรรม สเปเชียล ๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์ “พลวัตวันชาติ” วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายนย 2567 เวลา 11.00-12.00 น. Talk กำเนิดศิลปะสมัยใหม่ หลัง 2475 โดย ศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี ประกิตนนทการ และ ผศ. ดร. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ดำเนินรายการโดย ธนกฤต ก้องเวหา บนเวทีอาจารย์ทั้งสองท่านนำเสนอฉากทัศน์ใหม่ของ “ศิลปะ” ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่
.
อ.ชาตรี ได้นำเสนอข้อมูลในประเด็นการจัดการศพของคนไทยสมัยนั้น แล้วการจัดการศพเกี่ยวข้องอย่างไรกับศิลปะสมัยใหม่ หลัง 2475 อ.ชาตรี ได้ฉายภาพให้เห็นว่า การจัดการศพของคนไทยสมัยก่อนทำกันอย่างหยาบๆ หากเป็นคนยากคนจนศพก็จะถูกปล่อยให้แร้งกามาจิกกิน
.
แต่สำหรับคนส่วนมากจะเผาศพบนเชิงตะกอน โดยก่อนการเผา คนไทยสมัยก่อนมีธรรมเนียมเก็บศพไว้ก่อน ซึ่งบ้างก็มักนำศพไปฝังดินตื้นๆ ไม่กี่สิบเซนติเมตร แล้วค่อยเอามาเผาภายหลัง
.
ซึ่งการจัดการศพในลักษณะเหล่านี้ ทำให้เกิดปัญหาอุจาด เป็นภาพที่ไม่น่ามอง มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดย อ.ชาตรี ชี้ว่า ศพที่ฝังระหว่างรอเผา เมื่อฝนตกน้ำชะล้างดิน สัตว์ก็มากัดกินศพ บ้างน้ำเหลืองของเน่าเสียก็ไหลนอง เป็นสภาพที่เลวร้ายมากสำหรับบ้านเมืองยุคก่อน
.
“ความอุจาด” สู่นโยบายการสร้างเมรุสมัยใหม่ของคณะราษฎร
.
สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นนโยบายเร่งด่วนของคณะราษฎรที่รีบเข้ามาจัดการหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งการจะจัดการศพให้เป็นระเบียบและทันสมัยได้ ก็ต้องใช้ “เมรุ” ที่มาพร้อมกับเตาเผาศพสมัยใหม่ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2478 ผู้ผลักดันคนสำคัญคือ “ปรีดี พนมยงค์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ
.
แม้ว่าการทำงานของคณะทำงานจะไม่ประสบผลสำเร็จ เมรุแบบทันสมัยจะไม่ได้ถูกก่อสร้างขึ้นมา แต่ก็นับว่ารัฐบาลคณะราษฎรได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการศพของประชาชน
.
จนกระทั่ง เมรุที่มาพร้อมกับเตาเผาศพสมัยใหม่ กระทำสำเร็จในปี 2483 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
.
ซึ่งเมรุแบบสมัยใหม่แห่งนั้น ตั้งอยู่ที่วัดไตรมิตรฯ อย่างไรก็ตาม มีบางกระแสเห็นแย้งว่า เมรุในลักษณะเช่นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว คือ เมรุปูนที่วัดสระเกศ แต่ประเด็นนี้ อ.ชาตรี ยกหลักฐานยืนยันว่า เมรุที่อ้างว่าเป็นเมรุตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้นไม่ได้มีเตาเผาศพสมัยใหม่ อ.ชาตรี ยืนยันว่า ก่อนปี 2475 ไม่มีเตาเผาศพสมัยใหม่เข้ามาในสยามอย่างแน่นอน
.
แล้วทำไมในยุคก่อนปี 2475 จึงไม่นำเข้าเตาเผาศพสมัยใหม่เข้ามา ?
.
ประเด็นนี้ อ.ชาตรี ได้ยกคำอธิบายของ “กรมดำรงฯ” มาอ้างอิง ซึ่งสรุปได้ว่า คนไทยไม่นิยมเผาศพในจุดเดียวกับที่เผาศพคนอื่น เป็นเรื่องชนชั้นของการเผาศพ หากนำเอาเตาเผาศพสมัยใหม่เข้ามาใช้ในยุคก่อนปี 2475 ก็จะไม่สำเร็จผล เพราะคนไทยยังรังเกียจที่จะเผาศพในจุดเดียวกันอยู่
.
อ.ชาตรี กล่าวส่งท้ายว่า การสิ้นสุดของเมรุที่วัดสระเกศ และการกำเนิดขึ้นของเมรุวัดไตรมิตรฯ ถือเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ของไทยจากรัฐจารีตสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ เป็นมรดกที่สำคัญของ “2475”
.
ความเฟื่องฟูของ “ศิลปะ” หลัง 2475 เป็นอย่างไร?
.
ด้าน อ.ศรัญญู ก็ได้มาบอกเล่าถึงประเด็นศิลปกรรมในแขนงต่างๆ ช่วงยุค 2475 ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะของไทย โดย อ.ศรัญญู กล่าวเน้นให้เห็นว่า ในยุคหลังปี 2475 การเติบโตของงานศิลปกรรมในแขนงต่าง ๆ เฟื่องฟูอย่างเห็นได้ชัด
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการก่อตั้ง “ศิลปากร” ในปี 2478 เกิดการเรียนการสอนที่เป็นระบบ นั่นจึงยิ่งทำให้ศาสตร์แห่งศิลป์ของไทยในยุคนี้พัฒนามากที่สุดยุคหนึ่งเลยก็ว่าได้
.
ผลงานศิลปะของคณะราษฎรที่สำคัญๆ เช่น อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญแห่งแรกที่จังหวัดมหาสารคาม สร้างในปี 2477 ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง, อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีประติมากรรมของชาวนาบนอนุสาวรีย์นี้ หรืออย่างหอกระจายเสียงที่ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ปรากฏพานรัฐธรรมนูญอยู่ด้วย
.
นอกจากนี้ยังมี การทำ “ขัน” ซึ่งแต่เดิมขันจะสอดแทรกลวดลายมงคล หรือนักษัตร แต่ในระบอบใหม่นั้นมีการนำพานรัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปเป็นลวดลายบนขันอีกด้วย
.
นอกจากนี้ยังมีเข็มขัดทองเหลืองที่มีตราเป็นรัฐธรรมนูญ หรือพวกเข็มกลัดต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เหล่านี้ สะท้อนบรรยากาศของยุคสมัย สะท้อนภาพการเมืองในยุค 2575 ผ่านศิลปะของคณะราษฎรบนวัตถุต่างๆ
.
โดยสรุปแล้ว อ.ศรัญญู ได้ฉายภาพให้เห็นว่า ศิลปะในยุคคณะราษฎรนั้นจะเน้นไปที่ความสมจริง และสัมพันธ์กับบริบทศิลปะของของโลกในยุคนั้น กล่าวคือ มีระบบระเบียบที่ชัดเจน มีแบบแผนตามสมัยใหม่ ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกอย่างชัดเจน อย่างเช่น ศิลปะแบบ Art Deco
.
แต่สิ่งที่เป็นความเด่นชัดมากที่สุดประการหนึ่งของศิลปะในยุคนี้คือ งานศิลปกรรมจะมีความเชื่อมโยงกับการเมือง ศิลปะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง เช่น แนวคิดหลัก 6 ประการ, ลัทธิรัฐธรรมนูญ, เรื่องชาติ ชาตินิยม ฯลฯ
.....
ชมคลิปเต็มที่ (https://www.facebook.com/watch/?v=2317563161781581&t=0)