วันพุธ, เมษายน 03, 2567

เขาแข่งกันไปดวงจันทร์แล้ว แต่ปัญหาของคนที่กลัวอนาคต ยังหยิบยกประเด็น เกี้ยวกับรถกอล์ฟ มาถกเถียงกันอย่างไม่ลดละ หารู้ไม่ว่าโลกเปลี่ยนไปไกลลิบ อย่าหวังคนรุ่นใหม่จะกลับมาหมอบกราบเชื่อฟัง แม้แต่ลูกหลานตัวเองก็เถอะ แค่เขาไม่บอกพวกเมริง


Puangthong Pawakapan
15h
·
ขอบอกพวกไดโนเสาร์ว่านิสิตเขาไม่ได้ทำเล่นๆ เขาตั้งใจคิดและทำกันเต็มที่ และยังให้เกียรติกับสัญลักษณ์ของจุฬาฯด้วย โดยขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวถูกรายล้อมไปด้วยสัญลักษณ์ตัวแทนแห่งองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่าง ๆ ได้แก่
• เข็มฉีดยาและขวดชมพู่ ตัวแทนของ วิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
• หนังสือเล่มหนา ตัวแทนของ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
• ไม้ฉากเรขาคณิต ตัวแทนของ คณิตศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
• เกียร์ ตัวแทนของ วิศวกรรมศาสตร์
• สเลทฟิล์ม ตัวแทนของ นิเทศศาสตร์
• ดัมเบล ตัวแทนของ วิทยาศาสตร์การกีฬา
• จานสี ตัวแทนแห่งศาสตร์ศิลปะ
สัญลักษณ์เหล่านี้เปรียบเสมือนองค์ความรู้ที่อยู่คู่กับจุฬาฯ ที่ได้พัฒนาวงการต่าง ๆ ในไทยและในระดับโลก ทำให้มหาวิทยาลัยก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแข็งแรง
และอีกสิ่งประดับตกแต่งขบวนที่ทุกท่านจะเห็นได้นี้คือ “อะตอม” ที่ส่วนเล็กๆ รวมกันกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เปรียบเสมือนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนิสิต บัณฑิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมแรงร่วมใจไปสู่การเป็นสถาบันเสาหลักที่ยั่งยืน
อีกทั้งขบวนยังถูกตกแต่งด้วยดอกไม้จากพลาสติกที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับคอนเซ็ปท์ของงานนั่นคือ Unity to Sustainability และร้อยเรียงเป็น “พวงดอกกล้วยไม้ที่ผลิบาน” ดั่งโบราณว่า
กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม
จงแก่แต่กาย แต่อย่าปล่อยให้ใจและสมองแก่ตามไปด้วยเลย หัดเปิดใจรับฟังคนรุ่นใหม่บ้างเถอะ
.....






Matichon Online @MatichonOnline

อดีต #ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว พูดเอง #จิระนันท์ ชี้ ปี 2515 จุฬาฯไม่แบกเสลี่ยง เปลี่ยนได้ตามยุคสมัย 
2 เมษายน - จากกรณีที่ #นิสิตจุฬาฯ ใช้ #รถกอล์ฟ อัญเชิญ #พระเกี้ยว ในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ “จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์” ปีนี้ จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากหลายบุคคล 

กรณีนี้ จิระนันท์ พิตรปรีชา อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ได้แชร์คลิปวิดีโอจาก #หอภาพยนตร์ เป็นภาพบรรยากาศงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 32 

ปี พ.ศ.2515 ซึ่ง จิระนันท์ เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในปีดังกล่าว พร้อมข้อความว่า “ปี 2515 จุฬาฯ ไม่แบกเสลี่ยงค่ะ.. ส่วนธรรมศาสตร์ เชิญถ้วยที่ได้ครองปีก่อนโดยให้นางนพมาศแต่งเป็นคลีโอพัตรา นั่งเสลี่ยงทรงเก้าอี้บัลลังก์มีคานหามแบบในหนัง (จำไม่ได้ว่าดาว มธ.เชิญธรรมจักรด้วยพาหนะแบบไหน ที่แน่ๆ คือแต่งตัวเป็นเทพี / นางพญาโรมัน) 

ส่วนตัวเห็นว่าการแบกเสลี่ยงเชิญตราสัญญลักษณ์ไม่ใช่ “ประเพณี” ที่ตายตัวของสถาบันทั้งสอง หลังจากนั้นก็ใช้รถบ้างแบกบ้าง นั่งหลังช้างยังมีเลย.. ตามแต่ยุคสมัยและทีมจัดงานออกแบบ 
*ขอให้ข้อมูลหลักฐาน จะได้ไม่มั่วโมเมเวลากล่าวหาหรือโต้เถียงกันค่ะ” 
#มติชนออนไลน์
.....
วิบูลย์ บุญภัทรรักษา
18h
·
เขาแข่งกันไปดวงจันทร์
กันอย่างไม่ลดละ ไทย
เรายังหยิบยกประเด็น
เกี้ยวกับรถกอล์ฟ มาถกเถียงกันอย่างไม่ลดละ
แก่ๆหลายคนบ่น หดหู่ใจ
(ยกเลิก112)
.....
Atukkit Sawangsuk
12h·

พวกไดโนเสาร์ดักดานที่ออกมาดิ้นพล่านเนี่ย
พวกมันคงจะคิดว่า
หลังศาลจ่อยุบก้าวไกล
หลังเกณฑ์ทหารไปดูการ์ตูน 2475
หลังคุมขังตะวันแฟรงค์ บุ้ง อานนท์
คนรุ่นใหม่จะกลับมาหมอบกราบเชื่อฟัง
พวกมันเลยฮึกเหิมกันใหญ่
หารู้ไม่ว่าโลกเปลี่ยนไปไกลลิบ
แม้แต่ลูกหลานตัวเองก็เถอะ
แค่เขาไม่บอกพวกเมริง