พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา
รัฐบาลทหารเมียนมาใกล้ถึงจุดจบหรือไม่ หลังเสียเมียวดี เมืองชายแดนติดไทย
โจนาธาน เฮด
Role,ผู้สื่อข่าวบีบีซีนิวส์
7 เมษายน 2024
รัฐบาลทหารผู้ยึดอำนาจในเมียนมาเมื่อ 3 ปีก่อน ประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่อีกครั้ง และคราวนี้เกิดขึ้นที่ชายแดนทางตะวันออกติดกับประเทศไทย ขณะที่ทางรัฐบาลทหารเมียนมาขอใช้สนามบินแม่สอด จ.ตาก ระหว่างวันที่ 7-9 เม.ย. นี้ เพื่อรับทหารจำนวน 600 กว่าคนพร้อมครอบครัวกลับไปยังประเทศ หลังทั้งหมดยอมจำนนต่อกองกำลังฝ่ายต่อต้าน
ผู้เชี่ยวชาญด้านเมียนมาจาก ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นพ้องกันว่า เสถียรภาพของรัฐบาลทหารกำลังสั่นคลอน ขณะที่ฝ่ายต่อต้านกำลังได้เปรียบและทำงานสอดประสานกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเผด็จศึกกองทัพเมียนมาก่อนฤดูฝนมาเยือน
รัฐบาลทหารสูญเสียพื้นที่เมียวดี
ขณะนี้ ทหารในกองทัพเมียนมาจำนวนหลายร้อยนายที่ปกป้องเมืองชายแดน จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ยอมจำนนกับกลุ่มต่อต้านแล้ว หลังถูกกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองกำลังอื่น ๆ ที่ต่อต้านรัฐประหารเข้าโจมตีอย่างหนักเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เมียวดีคือเส้นทางการค้าทางบกที่สำคัญของเมียนมาและไทย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือเคเอ็นยู (Karen National Union – KNU) แถลงว่า ตนเองยอมรับการยอมจำนนของกองพันที่ตั้งอยู่ในเมืองติงกะหยิงหย่อง (Thingannyinaung) ซึ่งห่างจากเมียวดีไปทางทิศตะวันตกประมาณ 10 กิโลเมตร
ทาง KNU ลงภาพวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่าเหล่าทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงต่างปลื้มปิติยินดีเมื่อพวกเขาสามารถยึดคลังแสงอาวุธจำนวนมากไว้ได้ โดยตลอดช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง KNU ได้เจรจากับกองพันสุดท้ายของกองทัพเมียนมาที่เหลืออยู่ในเมียวดี ซึ่งตกลงยอมจำนนในเวลาต่อมา
นี่เป็นอีกหนึ่งความพ่ายแพ้อย่างร้ายแรงสำหรับรัฐบาลทหาร หลังจากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทางกองทัพเพิ่งเสียพื้นที่ควบคุมขนาดใหญ่ในรัฐฉานซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศจีน เช่นเดียวกับพื้นที่ชายแดนติดประเทศบังกลาเทศซึ่งอยู่ในรัฐยะไข่
โดยพบว่าทหารจำนวนหลายพันนายถูกสังหาร บ้างเลือกยอมจำนน หรือไม่ก็ย้ายข้างไปอยู่กับฝ่ายต่อต้าน ทำให้กองทัพเมียนมาต้องประกาศบังคับเกณฑ์ทหารพลเรือนทั้งหญิงและชาย เพื่อชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้น
KNU เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องการปกครองตนเองมาตั้งแต่เมียนมาได้รับเอกราชในปี 1948 แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็พ่ายแพ้ให้กองทัพเมียนมาหลายต่อหลายครั้งในช่วงทศวรรษ 1990 และหลังปี 2015 ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (National Ceasefire Agreement-NCA)
ต่อมาในปี 2021 กลุ่ม KNU ออกมาประกาศว่าข้อตกลงหยุดยิงถือเป็นโมฆะ หลังจากกองทัพเมียนมา นำโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ทำการรัฐประหารและโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งนำโดยนางออง ซาน ซู จี
รัฐกะเหรี่ยงอยู่ใกล้กับนครย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมา และเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดหากต้องการเดินทางไปยังชายแดนไทย ส่งผลให้รัฐกะเหรี่ยงกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้เห็นต่างที่ต้องการหลบหนีการปราบปรามอันโหดเหี้ยมของกองทัพเมียนมา หลังการรัฐประหารครั้งล่าสุด
รัฐบาลทหารเมียนมาใกล้ถึงจุดจบหรือไม่ หลังเสียเมียวดี เมืองชายแดนติดไทย
โจนาธาน เฮด
Role,ผู้สื่อข่าวบีบีซีนิวส์
7 เมษายน 2024
รัฐบาลทหารผู้ยึดอำนาจในเมียนมาเมื่อ 3 ปีก่อน ประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่อีกครั้ง และคราวนี้เกิดขึ้นที่ชายแดนทางตะวันออกติดกับประเทศไทย ขณะที่ทางรัฐบาลทหารเมียนมาขอใช้สนามบินแม่สอด จ.ตาก ระหว่างวันที่ 7-9 เม.ย. นี้ เพื่อรับทหารจำนวน 600 กว่าคนพร้อมครอบครัวกลับไปยังประเทศ หลังทั้งหมดยอมจำนนต่อกองกำลังฝ่ายต่อต้าน
ผู้เชี่ยวชาญด้านเมียนมาจาก ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นพ้องกันว่า เสถียรภาพของรัฐบาลทหารกำลังสั่นคลอน ขณะที่ฝ่ายต่อต้านกำลังได้เปรียบและทำงานสอดประสานกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเผด็จศึกกองทัพเมียนมาก่อนฤดูฝนมาเยือน
รัฐบาลทหารสูญเสียพื้นที่เมียวดี
ขณะนี้ ทหารในกองทัพเมียนมาจำนวนหลายร้อยนายที่ปกป้องเมืองชายแดน จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ยอมจำนนกับกลุ่มต่อต้านแล้ว หลังถูกกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองกำลังอื่น ๆ ที่ต่อต้านรัฐประหารเข้าโจมตีอย่างหนักเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เมียวดีคือเส้นทางการค้าทางบกที่สำคัญของเมียนมาและไทย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือเคเอ็นยู (Karen National Union – KNU) แถลงว่า ตนเองยอมรับการยอมจำนนของกองพันที่ตั้งอยู่ในเมืองติงกะหยิงหย่อง (Thingannyinaung) ซึ่งห่างจากเมียวดีไปทางทิศตะวันตกประมาณ 10 กิโลเมตร
ทาง KNU ลงภาพวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่าเหล่าทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงต่างปลื้มปิติยินดีเมื่อพวกเขาสามารถยึดคลังแสงอาวุธจำนวนมากไว้ได้ โดยตลอดช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง KNU ได้เจรจากับกองพันสุดท้ายของกองทัพเมียนมาที่เหลืออยู่ในเมียวดี ซึ่งตกลงยอมจำนนในเวลาต่อมา
นี่เป็นอีกหนึ่งความพ่ายแพ้อย่างร้ายแรงสำหรับรัฐบาลทหาร หลังจากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทางกองทัพเพิ่งเสียพื้นที่ควบคุมขนาดใหญ่ในรัฐฉานซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศจีน เช่นเดียวกับพื้นที่ชายแดนติดประเทศบังกลาเทศซึ่งอยู่ในรัฐยะไข่
โดยพบว่าทหารจำนวนหลายพันนายถูกสังหาร บ้างเลือกยอมจำนน หรือไม่ก็ย้ายข้างไปอยู่กับฝ่ายต่อต้าน ทำให้กองทัพเมียนมาต้องประกาศบังคับเกณฑ์ทหารพลเรือนทั้งหญิงและชาย เพื่อชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้น
KNU เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องการปกครองตนเองมาตั้งแต่เมียนมาได้รับเอกราชในปี 1948 แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็พ่ายแพ้ให้กองทัพเมียนมาหลายต่อหลายครั้งในช่วงทศวรรษ 1990 และหลังปี 2015 ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (National Ceasefire Agreement-NCA)
ต่อมาในปี 2021 กลุ่ม KNU ออกมาประกาศว่าข้อตกลงหยุดยิงถือเป็นโมฆะ หลังจากกองทัพเมียนมา นำโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ทำการรัฐประหารและโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งนำโดยนางออง ซาน ซู จี
รัฐกะเหรี่ยงอยู่ใกล้กับนครย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมา และเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดหากต้องการเดินทางไปยังชายแดนไทย ส่งผลให้รัฐกะเหรี่ยงกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้เห็นต่างที่ต้องการหลบหนีการปราบปรามอันโหดเหี้ยมของกองทัพเมียนมา หลังการรัฐประหารครั้งล่าสุด
ทหารเมียนมาในเมืองเมียวดีพร้อมกับครอบครัวที่ยอมจำนนต่อกองกำลังฝ่ายต่อต้าน ตอนนี้อยู่ความควบคุมโดย KNU
ด้าน KNU ยังช่วยฝึกรบให้กับอาสาสมัครจำนวนมากจากเมืองต่าง ๆ ที่ตัดสินใจเข้าร่วมกับ KNU เพื่อช่วยโจมตีกองทัพเมียนมา
นอกจากนี้ ทาง KNU ยังร่วมมือกับกองกำลังต่อต้านที่มีขนาดใหญ่กลุ่มอื่น ๆ เช่น กองกำลังชาติพันธุ์กะเรนนี หรือเคเอ็นดีเอฟ (Karenni Nationalities Defence Force - KNDF) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐกะเหรี่ยง รวมถึงกองทัพเอกราชคะฉิ่นหรือเคไอเอ (Kachin Independence Army - KIA) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเมียนมา
การที่กองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยง หรือกะเหรี่ยงบีจีเอฟ (Karen Border Guard Force - Karen BGF) หนึ่งในกองกำลังติดอาวุธที่ทรงพลังและเป็นผู้ควบคุมพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสแกมเมอร์ติดชายแดน จ.ตากของไทย ได้ออกมาประกาศตัดความสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ยังทำให้ดุลอำนาจในรัฐกะเหรี่ยงเปลี่ยนไปและสร้างความได้เปรียบให้กับฝ่ายต่อต้าน
ล่าสุด ทางกองทัพเมียนมายังไม่สามารถเสริมกำลังเข้ามาในรัฐกะเหรี่ยงได้ และสูญเสียการควบคุมในถนนสายหลักที่เชื่อมต่อไปยังชายแดนไทย เนื่องจากต้องรับมือกับศึกรอบด้านในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
รัฐบาลทหารตอบโต้ความสูญเสียดังกล่าวด้วยการเพิ่มการโจมตีทางอากาศมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเป็นพื้นที่ที่ตกอยู่ในความควบคุมของกองกำลังฝ่ายต่อต้าน ส่งผลให้พลเรือนในรัฐกะเหรี่ยงจำนวนหลายพันคนสูญเสียบ้านเรือน และอีกจำนวนมากที่อพยพไปยังชายแดนไทย เพื่อหลบเลี่ยงการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่องซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
อาวุธทหารเมียนมาที่ทาง KNU ยึดไว้ได้
ล่าสุด (7 เม.ย.) สำนักข่าวชายขอบรายงานว่า รัฐบาลทหารเมียนมาทำหนังสือมายังกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อขอนำเครื่องบินเดินทางมายังสนามบินแม่สอด จ.ตาก ระหว่างวันที่ 7-9 เม.ย. เพื่อรับทหารเมียนมาและครอบครัวที่ยอมแพ้ต่อฝ่ายต่อต้านจำนวนกว่า 600 คน เดินทางกลับไปยังเมียนมา โดยทางสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กำลังเรียกประชุมด่วนเพื่อหารือเรื่องนี้
ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมียนมา จากคณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า รัฐบาลไทยควรพิจารณาเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง เพราะนี่คือการอนุญาตให้ประเทศเพื่อนบ้านใช้ดินแดนที่อยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของไทย นอกจากนี้ ถ้าหากไทยทำตามการร้องขอของรัฐบาลทหารเมียนมาครั้งนี้ จะส่งผลให้ถูกประณามจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งกำลังจับตามองบทบาทของไทยต่อปัญหาความขัดแย้งในเมียนมา
“มันไม่ได้มีกล้อง CCTV ที่ทำให้เห็นว่าในเที่ยวบินดังกล่าวมีใครไป-ใครมาบ้าง เราไม่มีทางรู้เลยว่าผู้โดยสารทั้งหมดคือใคร จะส่งหน่วยรบพิเศษอะไรเข้ามาด้วยหรือเปล่า” ผศ.ดร.ลลิตา ระบุ
ล่าสุด มีรายงานข่าวว่าทางไทยอนุญาตตามคำขอของรัฐบาลเมียนมา และเที่ยวบินแรกจะเดินทางมายังสนามบินแม่สอด คืนวันนี้
ความพ่ายแพ้ที่เมียวดีครั้งนี้ส่งผลต่อรัฐบาลทหารเช่นไร
รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพเมียนมา จากคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ บอกกับบีบีซีไทยว่า ยังเร็วไปที่จะบอกว่ารัฐบาลทหารสูญเสียพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงอย่างสมบูรณ์ และจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ต่อว่ากองพันของกองทัพเมียนมาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงฝั่งตรงข้าม อ.อุ้มผาง และ อ.พบพระ จ.ตาก ลงไปนั้น จะยอมจำนนให้กับกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจนหมดหรือไม่
“ยอมรับว่ากองทัพเมียนมาสูญเสียพื้นที่ควบคุมที่อยู่ทางตอนบนของรัฐกะเหรี่ยงไปมากแล้ว และกำลังส่งผลต่อศักยภาพปฏิบัติการทางทหารของกองทัพภาคตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีศูนย์บัญชาการอยู่ที่เมืองมะละแหม่ง ประกอบด้วยแม่ทัพภาคและศูนย์บัญชาการพิเศษ แต่ยังไม่ได้ส่งผลต่ออำนาจควบคุมหรือยุทธการรบของกองทัพพม่าในภาพรวม ต้องดูว่าแม่ทัพภาคที่ประจำอยู่มะละแหม่งจะแก้เกมอย่างไร หรือส่วนกลางจากเนปิดอว์จะส่งความสนับสนุนเช่นไร” ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพเมียนมาจาก ม.ธรรมศาสตร์ กล่าว
กรุงเนปิดอว์
กรุงเนปิดอว์ถูกโจมตีด้วยโดรนของฝ่ายต่อต้าน
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมาทางรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือเอ็นยูจี (National Unity Government - NUG) ซึ่งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น บอกว่าได้ร่วมมือกับกองกำลังต่าง ๆ เพื่อส่งโดรนติดอาวุธจำนวน 29 ลำ เข้าโจมตีกรุงเนปิดอว์พร้อม ๆ กัน โดยมีเป้าหมายเป็นสนามบินเอรา ฐานทัพอากาศ และกองบัญชาการทหาร ซึ่งตั้งอยู่ภายในกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของประเทศเมียนมา
ด้านรัฐบาลทหารกล่าวว่าทางกองทัพได้สกัดกั้นและยิงโดรนจำนวน 7 ลำ ตกลงมา รวมถึงลำหนึ่งที่ระเบิดบนรันเวย์สนามบิน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตจากการโจมตีครั้งนี้
การโจมตีเมืองหลวงเมื่อเช้าวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการบุกรุกอันอุกอาจที่พบได้ยาก แต่เป็นอีกครั้งที่ทำให้เห็นว่ากองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารกำลังมีศักยภาพในการรบเพิ่มมากขึ้น
รศ.ดร.ดุลยภาค บอกกับบีบีซีไทยว่า กรุงเนปิดอว์ถือว่าเป็นศูนย์บัญชาการรบของกองทัพเมียนมาและเป็นที่อยู่ของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย รวมถึงนายทหารระดับสูง จึงเรียกได้ว่าที่นี่คือหัวใจของรัฐบาลทหาร
ผังเมืองกรุงเนปิดอว์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันศัตรูทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ เนปิดอว์ซึ่งเป็นศูนย์บริหารราชการ เปียงมะนาซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพลเรือน และเขตทหารซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของผังเมืองกรุงเนปิดอว์ ตั้งเรียงรายไปตามป่าเขาและที่ราบสูงฉาน ห้อมล้อมไปด้วยปราการธรรมชาติและถ้ำต่าง ๆ จำนวนมาก ดังนั้น พื้นที่นี้จึงถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของกองทัพเมียนมาที่ผู้โจมตีต้องบุกเข้ามาให้ได้และยังไม่เคยมีใครทำได้สำเร็จ
“ที่อยู่ของมิน อ่อง หล่าย ทั้งเปิดและลับ อยู่ในโซนนี้ทั้งหมด” รศ.ดร.ดุลยภาค กล่าว และบอกกับบีบีซีไทยต่อว่า การส่งโดรนโจมตีในลักษณะกามิกาเซ่ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรก ๆ ที่กลุ่มต่อต้านเจาะพื้นที่ฉนวนของเขตทหารได้ ถึงแม้ว่าทางกองทัพเมียนมาสามารถสกัดกั้นได้บ้างก็ตาม แต่ในทางจิตวิทยาแล้ว “นี่คือการข่มขวัญและทำให้เห็นว่าโดรนของฝ่ายต่อต้านสามารถเจาะเกราะป้องกันหัวใจของกรุงเนปิดอว์ได้” แต่ยังไม่ได้ส่งผลต่อกำลังรบของกองทัพเมียนมาแต่อย่างใด
แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพเมียนมาชี้ให้เห็นว่าเมืองหลวงแห่งใหม่ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับภัยคุกคามทุกรูปแบบเช่นนี้ ยังมีการก่อสร้างบังเกอร์หรือป้อมปราการใต้ดินรวมถึงหลุมหลบภัยต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไปว่าพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย หรือผู้นำทหารคนอื่น ๆ จะเลือกอำนวยการรบจากป้อมปราการใต้ดินหรือไม่ หากทางฝ่ายต่อต้านรุกหนักมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลทหารกำลังสั่นครอน
ด้าน ผศ.ดร.ลลิตา บอกกับบีบีซีไทยว่า ทั้งเหตุการณ์โดรนโจมตีกรุงเนปิดอว์และการเสียเมืองเมียวดีกำลังบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลทหารเมียนมาอย่างหนัก
“กองทัพไม่ได้สูญเสียเมียวดีเพียงพื้นที่เดียว ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันมาก ๆ ก็เสียเมืองบูติดอง ทางภาคเหนือของรัฐยะไข่เช่นกัน ขณะที่ทางกลุ่มชีนและคะฉิ่นก็ร่วมกันโจมตีกองทัพพม่าอย่างหนัก ส่วนตัวจึงมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เขามีการพูดคุยกันว่าเลือกเข้าตีวันไหนหรือช่วงไหน ทำให้กองทัพพม่ารับมือยากขึ้นหรือแทบเป็นไปไม่ได้” ผศ.ดร.ลลิตา กล่าว
เธอวิเคราะห์ต่อว่าช่วง 2-3 เดือนก่อนเข้าหน้าฝนคือโอกาสการรบที่ดีที่สุดของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้น ยุทธศาสตร์การรบจำเป็นต้องช่วงชิงจังหวะนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบและเผด็จศึกกองทัพเมียนมาให้ได้ “ซึ่งทาง NUG ยืนยันมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาว่า ปี 2024 จะเป็นวาระสุดท้ายของรัฐบาลทหาร มิน อ่อง หล่าย และเป็นจุดสิ้นสุดของการปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิ (Spring Revolution)” ซึ่งเป็นความพยายามขัดขืนการยึดอำนาจของคณะรัฐประหารโดยประชาชนชาวเมียนมา
อาจารย์จาก ม.เกษตรศาสตร์กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกันกับที่กองทัพเมียนมาเสียเมืองเมียวดี ก็พบว่าพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย เดินสายทำบุญที่วัดนากะ นะเกาง์ เจาง์ในเมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ซึ่งมีพระเกจิชื่อดังจำวัดอยู่และเป็นที่รู้กันว่าพระรูปนี้คือหมอดูประจำตัวของผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา
“เราจะเห็นว่ามิน อ่อง หล่าย ไปพบพระเพื่อปรึกษาหมอดู มันเป็นสัญญาณที่ทำให้เราเห็นว่าเขามีความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยอีกต่อไป ถึงแม้หน้าตาจะยิ้มแย้มแจ่มใสก็ตาม แต่เขากำลังต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ”
สมาชิกกองกำลัง PDF
ปัจจัยที่ทำให้ฝ่ายต่อต้านได้เปรียบในช่วงนี้
ผศ.ดร.ลลิตา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมียนมา จาก ม.เกษตรศาสตร์ บอกว่ากำลังใจของทหารเมียนมาแทบไม่เหลือแล้ว เพราะรู้สึกว่ารบไปก็ไม่มีวันที่จะชนะ ดังนั้น วิธีการที่เห็นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ทหารเมียนมาเลือกที่จะยอมแพ้และจำนนต่อฝ่ายต่อต้าน
“ตอนแรกก็เริ่มจากทหารยศนายพัน พันเอก ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้คุมกองร้อย ที่ยอมแพ้และวางอาวุธ แต่ต่อมาในเมียวดี เราเห็นกรณีทหารยอมแพ้จำนวน 500-600 คน ในเวลาเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าเขาไม่มีทั้งขวัญกำลังใจและไม่ต้องการรบอะไรให้ใครอีกต่อไปแล้ว เราจะเห็นแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ แบบโดมิโน เอฟเฟ็ค (Domino Effect)”
นักวิชาการจาก ม.เกษตรศาสตร์ยังมองว่า นโยบายการบังคับเกณฑ์ทหาร เก็บภาษีเพิ่ม รวมถึงขูดรีดส่วยจากประชาชน ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บ่อนทำลายเสถียรภาพรัฐบาลทหารจากภายในด้วยเช่นกัน
ด้าน รศ.ดร.ดุลยภาค บอกว่า อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ที่กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉานตอนเหนือและรัฐคะฉิ่น รวมถึง NUG นำมาใช้นั้น ส่วนใหญ่รับมาจากจีนซึ่งผ่านการรับ-ส่งต่อกันเป็นทอด ๆ เช่น ดูได้จากความได้เปรียบของกลุ่มภราดรภาพซึ่งเป็นผู้นำปฏิบัติการ 1027 ก็มาจากพลานุภาพของอาวุธหนักและแรงหนุนจากทหารของจีน
“จีนต้องการควบคุมเกมภูมิรัฐศาสตร์ในเมียนมาและไม่ต้องการให้มหาอำนาจอย่างอินเดีย สหรัฐอเมริกา เข้ามามีอิทธิพลในเมียนมาอยู่แล้ว จึงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเหล่านี้รับอิทธิพลจากจีนมากกว่าประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ดังนั้น จึงส่งผลให้ฝ่ายต่อต้านเข้มแข็งเหนือทหารพม่าได้ แต่ขณะเดียวกันก็ล็อคให้ทหารพม่ายังอยู่ในวงเจรจากับฝ่ายต่อต้านด้วย ซึ่งนี่คือกลยุทธ์ของจีน” อาจารย์จาก ม.ธรรมศาสตร์ ระบุ
นอกจากนี้ทางฝ่ายต่อต้านซึ่งนำโดยรัฐบาลพลัดถิ่น NUG ยังมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับกองกำลังชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านรัฐบาลทหารเช่นเดียวกัน อันเห็นได้การทำงานด้านการรบที่สอดคล้องประสานกันระหว่างกองกำลังพิทักษ์ประชาชนหรือพีดีเอฟ (People’s Defense Force – PDF) ซึ่งเป็นปีกทหารของ NUG กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความชำนาญการรบในพื้นที่
จุดจบของรัฐบาลทหารใกล้มาถึงหรือไม่ ?
พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ยึดอำนาจรัฐบาลทหารพลเรือนและบริหารประเทศผ่านสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมาหรือเอสเอซี (State Administration Council-SAC) มากว่า 3 ปีแล้ว แต่หนทางทางการเมืองของเขากลับไม่ราบรื่นอย่างที่คิดและถูกต่อต้านอย่างหนักรัฐบาลพลัดถิ่นและกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ส่งผลให้เมียนมาตกอยู่ในสภาพสงครามการเมือง ทำให้ประชาชนกว่า 2.6 ล้านคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ และพลเรือนจำนวนหลายพันคนถูกคร่าชีวิต จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ
แต่ความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องของกองทัพเมียนมานับตั้งแต่เกิดปฏิบัติการ 1027 ซึ่งนำโดยกลุ่มภราดรภาพ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่ารัฐบาลทหารกำลังเพลี่ยงพล้ำและกำลังเข้าใกล้จุดจบเร็ว ๆ นี้
แต่ รศ.ดร.ดุลยภาค ตั้งคำถามว่าความพ่ายแพ้ของ SAC ที่หลายฝ่ายมองว่ากำลังจะเกิดขึ้นนั้น มีนิยามคำว่า “ความพ่ายแพ้” อย่างไร
“หากความพ่ายแพ้ในที่นี่ มันหมายถึงว่า ทหารพม่ายอมเจรจากับฝ่ายต่อต้านหรือนักรบกลุ่มชาติพันธุ์หลาย ๆ พื้นที่ที่ตนเองพ่ายแพ้หรือยอมจำนน และยอมให้กลุ่มที่ชนะยึดครองพื้นที่ไปก่อน หนทางนี้มีความเป็นไปได้สูง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นแล้วในบางพื้นที่ และคงเกิดขึ้นต่อเนื่องเพราะทหารพม่าในหลายพื้นที่เริ่มยอมรับความพ่ายแพ้และยอมวางอาวุธ โดยทางทหารพม่าคงยอมให้อีกฝ่ายดูแลพื้นที่ไปเลย และถอนกำลังออกมากระจุกกันอยู่ที่ใจกลางของประเทศซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญแทน
แต่ถ้าหากเป็นการยอมแพ้ในแง่ที่ว่าทหารพม่าทั้งประเทศรวมถึง SAC จะประกาศออกจากการเมือง ยอมรับอำนาจเหนือของพลเรือน และให้ NUG กับกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกันปกครองประเทศ อันนำไปสู่การสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตย คงไปไม่ถึงจุดนั้น เพราะกองทัพพม่าไม่ต้องการให้ชนกลุ่มน้อยเข้าถือครองดินแดนเป็นจำนวนมากจนเกินไป เพราะว่ามันเป็นอันตรายและนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพเมียนมาในความคิดของกลุ่มทหารชนชั้นนำซึ่งมีมาอย่างยาวนาน”
อาจารย์จาก ม.ธรรมศาสตร์ยังเห็นว่า ถึงแม้กองทัพเมียนมาสูญเสียพื้นที่ควบคุมให้กับฝ่ายต่อต้านมากขึ้น แต่หากมองในภาพรวม ทางกองทัพยังไม่สูญเสียจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ๆ เช่น เมืองล่าเสี้ยวซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางรัฐฉานตอนเหนือ รวมถึงเมืองมยิจีนาซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐคะฉิ่นและเป็นที่ตั้งของศูนย์บัญชาการทหารเมียนมาซึ่งดูแลพื้นที่ภาคเหนือของประเทศทั้งหมด ถึงแม้ NUG ประกาศออกมาแล้วว่าจะให้ KIA เป็นปีกทหารที่ดูแลแนวรบทางภาคเหนือเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้แนวรบทางตอนเหนือของประเทศจะรุนแรงมากขึ้น
“กองทัพพม่ายังมีปริมณฑล มีเมืองทหาร ที่ยังพอเพียงอยู่ และการออกกฎหมายบังคับเกณฑ์ทหารจะช่วยเพิ่มกองหนุนให้กองทัพเมียนมาได้ ซึ่งเขาก็รอเวลานี้อยู่” รศ.ดร.ดุลยภาค กล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.ลลิตาประเมินว่าจุดจบของ SAC อาจมาไวกว่าที่คาด หากเราหมายถึงความพ่ายแพ้ของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย และองคาพยพของระบอบเผด็จการทหารที่เข้าสู่อำนาจจากการรัฐประหารครั้งล่าสุด แต่การสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยหลัง SAC ลงจากอำนาจนั้น จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตอันใกล้ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้
“โอกาสที่ NUG จะพูดคุยกับกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มและเห็นตรงกันเป็นเรื่องยากมาก ดังนั้น เราอย่าคาดหวังมากว่าเหตุการณ์ในพม่ามันจะกลับมาสู่ความปกติสุข เพราะเอาจริง ๆ ตั้งแต่เขาได้รับเอกราชมา ก็ไม่เคยมีความสงบสุขหรือความปกติเกิดขึ้นเลย แล้วถ้าหาก NUG ได้กลับมา [บริหารประเทศ] ไปไล่ดูรายชื่อแล้วจะพบว่าคนที่เข้าร่วมในตอนหลัง ส่วนใหญ่มาจากพรรค NLD (สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย) หมดเลย จึงทำให้หลายฝ่ายมองว่า NUG ไม่ต่าง NLD ซึ่งทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ก็ไม่ยอมรับด้วย” ผศ.ดร.ลลิตา กล่าว
รายงานเพิ่มเติมโดย จิราภรณ์ ศรีแจ่ม ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
https://www.bbc.com/thai/articles/c2585l84vxro