วันอังคาร, เมษายน 23, 2567
วาสนา นาน่วม แจง 5 สาระสำคัญ 12 ข้อเท็จจริง และ ข้อสังเกตุ ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ฉบับ “บิ๊กทิน”
Wassana Nanuam
·
5 สาระสำคัญ
12 ข้อเท็จจริง และ ข้อสังเกตุ
ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
ฉบับ “บิ๊กทิน”
เพื่อจะแก้ไข พรบ.ฯกลาโหม 2551 ที่ออกในยุคหลังรัฐประหาร 2549
ในช่วงรัฐบาลของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี
.
#BangkokPost
สาระสำคัญ
-สกัดรัฐประหาร ให้ รมว.กห.เสนอ นายกฯเสนอ ครม. ออกคำสั่ง “พักราชการ” ทหารที่จะก่อการรัฐประหาร เพื่อระงับยับยั้งการรัฐประหาร
- เหตุที่ใช้ “พักราชการ” ไม่ “ปลด” เพราะทหารระดับนายพล เป็นตำแหน่งที่โปรดเกล้าฯ มา จึงแค่ “พักราชการ” เท่านั้น
- ไม่แตะ “บอร์ด7 เสือกลาโหม” ที่มีอำนาจโยกย้ายนายพล
- แก้ไขสัดส่วนสมาชิกสภากลาโหม จากเหล่าทัพใหม่ และ เพิ่มเติม สมาชิกฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 เป็น5 คน
ไม่เกี่ยวข้อง กับการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล
- “สภากลาโหม” ไม่มีหน้าที่ในการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล แต่ เป็นอำนาจของ“บอร์ด7 เสือกลาโหม ”เท่านั้น ตามเดิม
…
ข้อเท็จจจริง และ ข้อสังเกตุ
1. ทำตามนโยบาย ของพรรคเพื่อไทย และกลาโหม ปฏิรูปกองทัพ ปรับโครงสร้างกองทัพ ลดขนาดกองทัพ และลดจำนวนนายพล
2. ตั้ง บิ๊กอั๋น พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม เป็นประธาน ร่วมด้วย นายจำนงค์ ไชยมงคล ผช.รมต. ประจำ รมว.กลาโหม ฝ่ายกม.ของ นายสุทิน และ เจ้ากรมพระธรรมนูญ และ ผอ.สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็นคณะทำงาน
3. ที่ประชุมสภากลาโหม 19 เม.ย.2567 แค่ “รับทราบ”ว่า มีการแก้ไข พรบ.กลาโหม และมี คณะทำงานในการแก้ไขฯ พรบ.กลาโหม แต่ ยังไม่ได้ “อนุมัติ” หรือ “เห็นชอบ” เพราะยังร่างไม่เสร็จสมบูรณ์
4. การเริ่มต้น การแก้ไข ร่างพรบ.จัดระเบียบราชการกลาโหม 2551 ทำให้ นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ขอนายกฯ นำเข้าครม. แต่งตั้ง นายจำนงค์ ไชยมงคล ผช.รมต. ประจำ รมว.กลาโหม อีกคนหนึ่ง ที่เป็นฝ่ายกม.ของ นายสุทิน เมื่อต้น พย.2566 ไม่ใช่เพิ่งมาร่าง หรือคิด ตอนไปพบ นาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เมื่อ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา
5. เพิ่มระบบการคัดกรองนายพล ด้วยการการเพิ่ม คุณสมบัติของ ผู้ที่เหมาะสมเป็น นายพล จะต้องไม่มี คุณสมบัติต้องห้าม 3 ข้อ คือ1. ต้องไม่เคยเป็นผู้มีอิทธิพล ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ค้ามนุษย์ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 2.ต้องไม่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม ประกอบธุรกิจหรือกิจการ 3.ต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาฯ เพื่อให้ ภาพลักษณ์ของนายพล เป็นที่ยอมรับของประชาชน ว่า ผ่านการพิจารณาคัดกรอง มาแล้ว นอกเหนือจากการลดจำนวนนายพล
6. การสกัดรัฐประหาร ที่ร่างแก้ไข พรบ.กห. ให้ รมว.กลาโหม เสนอนายกฯ เสนอครม. สั่ง“พักราชการ” ทหารที่จะก่อรัฐประหาร ก่อกบฏทันที โดยไม่ใช้การ“ปลด” เพราะการแต่งตั้ง หรือการปลดนายพล นายทหารระดับสูง จะต้องนำขึันทูลเกล้าฯ คณะกรรมการฯจึงไม่แตะต้องใน พระราชอำนาจนี้
7. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจ ตามพรบ. บริหารราชการแผ่นดิน ในการโยกย้ายข้าราชการประจำได้อยู่แล้ว แต่หากระบุไว้ในพรบ.กลาโหม จะเป็นการระงับยับยั้ง การรัฐประหาร ได้โดยตรงมากกว่า ก่อนที่ทหารจะฉีกรัฐธรรมนูญ แม้ในความเป็นจริง หากทหารจะรัฐประหาร ก็จะฉีกกฏหมายทุกฉบับได้ก็ตาม แต่การแก้กม.นี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ ที่ประชาชนส่งสัญญาณถึงทหาร ว่าไม่ต้องการให้มีการรัฐประหาร เพราะ กม.นี้ จะต้องผ่านสภาฯ ออกเป็นพรบ. (ที่ต้องรอดูว่า สส.พรรคร่วมรัฐบาล จะโหวตให้ผ่านหรือไม่ โดยเฉพาะพรรคสายอนุรักษ์นิยม เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ และ พรรคพลังประชารัฐ)
8. การแทรกแซงอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายทหาร จากฝ่ายการเมือง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ร่างแก้ไข พรบ.กลาโหม นี้ ยังไม่มีข้อมูลว่า จะ ”ปรับแก้ใดๆ “ คณะกรรมการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพลของกลาโหม หรือ บอร์ด7 เสือกลาโหม หรือไม่ อย่างไร (บอร์ดนีั ประกอบด้วย รมว.กลาโหม รมช.กลาโหม ปลัดกลาโหม ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ.) ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล
9. “สภากลาโหม” ไม่ได้มีอำนาจ ในการแต่งตั้งโยกย้ายนายพลแต่อย่างใด สมาชิกสภากลาโหม มี นายทหารระดับ5 เสือของ แต่ละเหล่าทัพ ตั้งแต่ สมุหราชองครักษ์ สำนักปลัดกลาโหม บก.ทัพไทย ทบ. ทร.ทอ. ( รมว.กลาโหม รมช.กลาโหม จเรทหารทั่วไป ปลัดกระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม สมุหราชองครักษ์ รองสมุหราชองครักษ์ เสนาธิการกรมราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการทหาร ผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือเสนาธิการทหารเรือ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เสนาธิการทหารอากาศ รวม 24 คน และ มีสมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ อีก3 คน และยังมี ผอ.สนผ. เป็นเลขาฯสภากลาโหม )
10. ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ กลาโหม ให้มีการเพิ่ม สมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 คน เป็น5 คน และให้ รมว.กลาโหม เสนอชื่อให้ ครม. แต่งตั้ง ส่งมา ทดแทน จากเดิมที่ รมว.กลาโหม แต่งตั้ง และเสนอให้สภากลาโหม เห็นชอบ จึงทำให้ถูกจับตามองว่า จะมีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ ของสมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือไม่ ในเมื่อ ครม. แต่งตั้งมา
11. มีการแก้ไขสัดส่วน และจำนวนสมาชิกสภากลาโหม ลง โดยตัด รองปลัดกลาโหม และ ผช.ผบ.เหล่าทัพ ออกจาก สมาชิกสภากลาโหม แล้วมาเพิ่ม สมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 คน เป็น 5 คน จากเดิมที่เป็น ทหารเกษียณ ( ที่น่าจับตาคือ อาจแต่งตั้ง บุคคลที่ไม่ใช่ทหาร มาได้ เพราะตามระเบียบ ระบุว่า ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ ในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม)
12. แม้จะมีการแก้ไขสัดส่วน สมาชิกสภากลาโหม แต่จะไม่มีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ของ สภากลาโหม ให้มาเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล แต่อย่างใด อำนาจในการ แต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพลยังคงเป็นอำนาจ บอร์ด7 เสือกลาโหม ต่อไปตามเดิม ไม่ใช่ “สภากลาโหม”
(null) https://www.facebook.com/share/p/jfxYJhkmr2eXARJs/?mibextid=WC7FNe