วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 02, 2567

แก๊งค์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน มาจากไหน?


- anchr (closed) @_femrt ·Jan 31

ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มาจากเผด็จการประยุทธ์ สว. ก็มาจากประยุทธ์ องค์กรอิสระทุกวันนี้มาจากประยุทธ์ทั้งหมด ศาลรัฐธรรมนูญตอนนี้ก็คือกลไกของระบบเผด็จการที่ยังอยู่ทำหน้าที่ปกป้องระบบเผด็จการต่อไป #ศาลรัฐธรรมนูญ #พรรคก้าวไกล #ยกเลิก112 #ม112
.....
iLaw
October 28, 2020
·
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนมาจากไหน?
.
จากคำวินิจฉัยกรณีการถือครองหุ้นสื่อของ ส.ส. พรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลของศาลรัฐธรรมนูญ ได้นำไปสู่คำถามถึง “หลักเกณฑ์” ในการวินิจฉัยของศาล เนื่องจากก่อนหน้านี้ ศาลเคยวินิจฉัยกรณีการถือครองหุ้นสื่อของ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” และมีสั่งให้พ้นสภาพการเป็น ส.ส. โดยไม่ได้พิจารณาในข้อเท็จจริงว่า บริษัทดังกล่าวได้เลิกทำกิจการสื่อมวลชนแต่ประการใด ในขณะที่ กรณี ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ศาลกลับพิจารณาถึงลักษณะการประกอบกิจการเป็นสำคัญและมีมติยกคำร้องในที่สุด
.
นับตั้งแต่การเลือกตั้งใน ปี 2562 เป็นต้นมา บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญถูกตั้งคำถามมากขึ้นจากคำวินิจฉัยของศาล เพราะหลายครั้งพบว่า คำวินิจฉัยของศาลล้วนแล้วแต่เป็นผลดีต่อฝ่ายรัฐบาล จนไม่สามารถที่จะเลี่ยงคิดถึงที่มาของศาลรัฐธรรมนูญได้
.
หากย้อนกลับไปหลังการรัฐประหารใน ปี 2557 จะพบว่า ในยุค “คสช.-1” มีการแทรกแซงองค์กรอิสระหลายครั้ง อย่างกรณีศาลรัฐธรรมนูญ คสช. เคยใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 57 ต่ออายุให้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน และมีการเห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่งผ่าน สนช. อีก 2 คน
.
ต่อมา หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งกำหนดให้ ส.ว. มาจากการสรรหาคัดเลือกโดย คสช. รวมถึงมีอำนาจในการเห็นชอบคนให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ส.ว. ชุดพิเศษของคสช. ได้แต่งตั้งคนเข้าไปอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 5 คน
.
เมื่อความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญถูกตั้งคำถาม ภาคประชาชนนำโดยไอลอว์ ได้มีความพยายามเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยหนึ่งในหลักการสำคัญ คือ เพื่อให้มีการ “เซ็ตซีโร่” ศาลรัฐธรรมนูญ หรือ ให้มีการสรรหาและคักเลือกใหม่ยกชุด และให้ผู้เห็นชอบองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ คือ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
///////////////////////////
ข้อมูลอ้างอิง
(https://ilaw.or.th/node/5476)
(https://ilaw.or.th/node/4808)
(https://ilaw.or.th/node/5589)
(https://ilaw.or.th/sites/default/files/%20รายมาตรา.pdf)