วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 08, 2567

ทำไม ชลธิชา แจ้งเร็ว ควรได้รับการกย่องว่าปกปักรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ใช่การเป็นจำเลยคดี 112 หรือผู้ล้มล้างระบอบนี้

https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/7427034917363283?ref=embed_post
Thanapol Eawsakul
7h ·

บันทึกไปให้การพยานจำเลยคดี 112 ของชลธิรา แจ้งเร็ว
ชลธิชา แจ้งเร็ว ควรได้รับการกย่องว่าปกปกปักรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ไม่ใช่การเป็นจำเลยคดี 112 หรือผู้ล้มล้างระบอบนี้
.....
(1)
วันนี้ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ผมได้เดินทางไปให้การในฐานะพยานจำเลยคดี 112 ของชลธิชา แจ้งเร็ว ซึ่งปัจจุบันเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 จังหวัดปทุมธานี เขต 3 พรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566
ต้องบันทึกไว้ก่อนว่า ชลธิชา แจ้งเร็ว ชื่อของเธอปรากฎอยูในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 31มกราคม 2567 ที่ตัดสินว่าพรรคก้าวไกลล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วย เนื่องจากเป็น สส. พรรคก้าวไกลที่มีคดี 112 ติดตัวอยู่ เช่นเดียวกับปิยรัฐ จงเทพ สส. กทม. บางนา และรักชนก ศรีนอก สส.กทม. บางบอน
คดีนี้เริ่มต้นจากกรณีปราศรัยและชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังคดีการเมือง หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564 โดยมีจำเลยทั้งสิ้น 10 ราย แต่ชลธิชาเป็นเพียงคนเดียวที่ถูกยื่นฟ้องในข้อหาตามมาตรา 112 จากการปราศรัยในประเด็นเกี่ยวกับการที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกกฎหมาย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และการปล่อยให้มีการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เมื่อปี 2561
ส่วนจำเลยอีก 9 รายในคดีนี้ ได้แก่ พริม มณีโชติ, ศรีไพร นนทรีย์, สุนี ไชยรส, ธนพร วิจันทร์, วิปัศยา อยู่พูล, สุธิลา ลืนคำ, วิศรุต สมงาม, ไพศาล จันทร์ปาน และอาพร โพดภูธร ถูกฟ้องเฉพาะข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ฝ่าฝืนคำสั่งจังหวัดปทุมธานี เรื่องมาตรการป้องกันโควิด และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ต้องบันทึกไว้ด้วยว่าในขณะนั้นมีถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจําอําเภอธัญบุรี ตามหมายขังของศาลจังหวัด จำนวน 5 ราย ได้แก่ ณัฐชนน ไพโรจน์, “บอย” ธัชพงศ์ หรือ ชาติชาย แกดำ, “ฟ้า” พรหมศร วีระธรรมจารี, “ไมค์” ภานุพงศ์ จาดนอก และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ คดีนี้มี พ.ต.ท.ศราวุฒิ ทองภู่ รองผู้กำกับสืบสวน สภ.ธัญบุรี เป็นผู้กล่าวหา
ก่อนหน้านั้นมีพยานฝ่ายจำเลยมาเบิกความทางด้านยกฎหมายและเศรษฐกิจไปก่อนหน้านั้นแล้ว
วันนี้ผมมาเบิกความด้านประวัติศาสตร์และสถาบันกษัตริย์ และ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ขึ้นเบิกความเรื่องมาตรการโควิด
ดู
จับตา! สืบพยานนัดสุดท้าย ก่อนพิพากษาคดี ม.112 ของ “ลูกเกด ชลธิชา” เหตุปราศรัยใน #คาร์ม็อบ11กันยา64 หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี
(https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/797875862182886)
(2)
ก่อนหน้านี้ต้องบอกว่าผมเคยไปให้การคดี 112 ในฐานะพยานจำเลยของของทนายอานนท์ นำภา ในกรณีโพสต์เฟซบุค เมื่อต้นปี 2564
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=785564853413987&set=pcb.785568666746939)
แต่ผลปรากฏว่า
ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา คดี #ม112
(https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/786112776692528)
ผมมีเหตุจะต้องไปให้การเป็นพยานจำเลยของทนายอานนท์ นำภา อีกครั้งในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ในคดีปราศรัย harry potter ภาค 2 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564
ทุกครั้งในการให้การนั้นผมจะเขียนเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรไปก่อนและไปให้การเพิ่มเติมเป็นปากคำ
ในการให้การครั้งนี้ก็เช่นกันประเด็นที่ผมให้การมาเผยแพร่
(3)
ข้าพเจ้าติดตาม การปราศรัยและข้อเขียนของกลุ่มฟื้นฟูปะชาธิปไตย และกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมือง มาตลอด ซึ่งชลธิชา แจ้งเร็ว ก็เป็นหนึ่งในนักกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหาร 2557
ชลธิชา แจ้งเร็ว ก็เหมือนกับนักกิจกรรมทางการเมืองคนอื่นๆ ที่มีข้อเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นข้อเสนออยู่ในกรอบระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Monarchy พระมหากษัตริย์ปลอดพ้นไปจากการบริหารประเทศ หรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศและต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมือง คือ คณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ส่วนพระมหกษัตริย์ เป็นผู้ลงพระปรมาภิไธยตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ไม่ต้องรับผิด แต่รัฐมนตรีที่ลงนามรับสนองฯต้องเป็นผู้รับผิด
ดังที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ กล่าวไว้วาในระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ พระมหกษัตริย์ “ทรงปกเกล้า แต่ไม่ปกครอง”
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เพื่อไม่ให้พระมหากษัตริย์ต้องรับผิดชอบทางการเมืองและทางกฎหมาย ก็ต้องไม่ให้กษัตริย์มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินหรือประกอบธุรกิจ
เพราะในหลักการประชาธิปไตยเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจและใช้อำนาจต้องถูกตรวจสอบ มีความรับผิดชอบทั้งทางการเมืองและทางกฎหมาย ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจได้
พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญและอยู่เหนือการเมือง ในความหมายว่า พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจในทางบริหาร ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงพ้นไปจากคำวิจารณ์ โดยหน้าที่การบริหารนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ความหมายดังกล่าวนี้จึงจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ 2560 (และฉบับอื่น ๆ )ทีว่า
“องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”
อย่างแท้จริง
(4)
“เรามาพูดในฐานะของกัลยาณมิตร หรือราษฎรนะคะ ที่หวังดีกับกษัตริย์วชิราลงกรณ์นะคะ”
ข้อความดังกล่าวของชลธิชา แจ้งเร็ว สะท้อนให้เห็นสาระสำคัญของการปราศรัยในครั้งนี้ เพราะว่าชลธิชา แจ้งเร็ว ตระหนักดีว่าภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นได้สร้างความตึงเครียดให้กับสถาบันกษัตริย์กับประชาชนเป็นอย่างมาก (ดังที่จะกล่าวต่อไป)
ดังนั้นการที่ชลธิชา แจ้งเร็ว กล้าหาญมาเรียกร้องต่อสถาบันกษัตริย์ ให้ประพฤติปฏิบัติให้สอดคล้องในกรอบระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Monarchy พระมหากษัตริย์ปลอดพ้นไปจากการบริหารประเทศ หรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงสมควรที่ผู้ที่มีว่วนเกี่ยวข้องหรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ควรรับฟัง
อนึ่ง สำหรับคำว่ากัลยาณมิตร อ้างอิงตาม "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์". โดย พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).
“กัลยาณมิตร คือ มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นมิตรที่หวังดี มีสิ่งดี ๆ ให้กันด้วยความจริงใจ”
รวมทั้งสอดคล้องกับหลักศพิศราชธรรม สำหรับพระมหากษัตริย์ข้อที่ 5 คือ
ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เป็นกันเอง ไม่ดื้อดึงถือพระองค์แม้มีผู้ตักเตือนในบางอย่าง ด้วยความมีเหตุผลก็จะทรงพิจารณาโดยถี่ถ้วน ถ้าถูกต้องดีชอบก็ทรงอนุโมทนา และปฏิบัติตาม ทรงสัมมาคารวะอ่อนน้อมแก่ท่านผู้เจริญโดยวัยและโดยคุณ
(5)
“การที่รัฐบาลประยุทธ์ จันโอชา ออก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ 2560 เพื่อให้สถาบันกษัตริย์เนี่ยมีอำนาจนะคะ ใช้ตามพระราชอัธยาศัย หรือคำแปลเป็นภาษาชาวบ้านคือว่าใช้ตามอำเภอใจ”
พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 48 ก ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 โดยมี ผู้รับสนองพระราชโองการคือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และเราต้องเข้าใจด้วยว่า ในอีกฐานะหนึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาคือหัวหน้าคณะรํฐประหาร 2557 ที่ได้แต่งตั้งสภานิติบัญญัติที่ออกกฎหมาฉบับนี้ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นคามรับผิดชอบทั้งปวงที่เกิดขึ้นคือ ผลงานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ขณะเดียวกันข้าพเจ้าที่ศึกษา และตีพิมพ์ผลงานศึกษาเกี่ยวกับจัดการพระราชทรัพย์ของสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็เห็นสอดคล้องกับที่ชลธิชา แจ้งเร็ว ว่า การกระทำของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาทให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียและไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Monarchy พระมหากษัตริย์ปลอดพ้นไปจากการบริหารประเทศ หรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(4)
“รัฐบาลพลเอกประยุทธ์นะคะ ยังปล่อยให้มีการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปี ๒๕๖๑ ... สิ่งที่เคยเป็นส่วนตัวหรือเคยเป็นส่วนรวมก็ไปเป็นของสถาบัน ก็กลายเป็นของเจ้า... ซึ่งการแก้กฎหมายดังกล่าวเนี่ย ยังเป็นการเปิดทางให้มีการโอนที่ดินและหุ้นบริษัทจำวนมาก ที่แต่เดิมสถาบันพระมหากษัตริย์เคยถือหุ้นไว้ ให้กลายเป็นกษัตริย์วชิราลงกรณ์เป็นผู้ถือหุ้นนะคะ สิ่งที่มันเกิดขึ้นควรถูกตั้งคำถามก็คือว่า กษัตริย์ ควรอยู่ในฐานะของกษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ แต่ ณ ตอนนี้มันไม่ใช่ มันถูกพ่วงท้ายด้วยคำว่ากษัตริย์นักลงทุน”
ผมได้ยกตัวอย่างภาพถ่ายสนามหลวงเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 ภายหลังที่จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 การที่สำนักพระราชวังได้เอาป้ายมาปิด บริเวณสนามหลวงพร้อมกับการทำรั้วเพื่อกีดกันการใช้ประโยชน์ของประชาชนนั้นถึงแม้จะสอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 แต่ก็ตามด้วยการวิพาษ์วิจารณ์มากมาย เช่นบทความ “จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ” ประชาไท 9 กุมภาพันธ์ 2563 (https://prachatai.com/journal/2020/09/89468)
และทั้งหมดนี้เองก็ได้นำมาสู่การชุมนุมเรียกร้อง ทวงคืนสนามหลวง และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไปพร้อมกันในวันที่ 19 กันยายน 2563
ในประเด็น “ กษัตริย์นักลงทุน” ผมยกตัวอย่างหลังจาก พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 บังคับใช้ กรณีการที่ ดังเช่น
- บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) เดิมผู้ถือหุ้นใหญ่คือสำนักงานทรัพย์สbนส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำรวน 403,647,840 หุ้นหรือ คิดเป็น 33.64%
- บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือเดิมคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
เดิมผู้ถือหุ้นใหญ่คือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกลายมาเป็นถือหุ้นใหญ่ อันดับ 1 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 793,832,359 หรือคิดเป็น 23.58 %
การมีพระนามของพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักการระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Monarchy พระมหากษัตริย์ปลอดพ้นไปจากการบริหารประเทศ หรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อย่างชัดเจน
ตำปราศรัยของชลธิชา แจ้งเร็ว ไม่เพียงแต่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เท่านั้น แต่ยังเป็นการรักษาสถาบันกษัตริย์ให้อยู่คู่กับระบอบประชาธิปไตยให้สมกับคำว่า “ปกเกล้า แต่ไม่ปกครอง” และพ้นไปจากการวิจารณ์ใด ๆ
(5)
นอกจากนั้นในการไปให้การเป็นปากคำผมได้พูดกับผู้พิพากษาว่า
ในการพิจารณาคดี 112 หรือคดีอื่นๆก็ตามที่เป็นการแสดงทัศนคติเราไม่ควรที่จะหยิบยกเอาถ้อยคำหนึ่งถ้อยคำใดมาเพื่อจะบอกว่าถ้อยคำดังกล่าวนั้นเข้าข่ายดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายหรือไม่
แต่เราควรดูบริบททั้งหมดของผู้พูดด้วย
กรณีชลธิชา แจ้งเร็ว ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นั้นดำเนินไปภายใต้กรอบ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในความหมายว่าให้กษัตริย์อยู่พ้นไปจากการบริหารไม่ว่าจะเป็นการเมืองหรือเศรษฐกิจ
การที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นจะนำมาสู่การติฉินนินทาได้
ชลธิชา แจ้งเร็ว ควรได้รับการกย่องว่าปกปักรักษาระบอบนี้ไว้ ไม่ใช่การเป็นจำเลยคดี 112 หรือผู้ล้มล้างระบอบนี้
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผมคิดว่าผู้พิพากษาที่ศาลธัญบุรีมีแนวโน้มที่จะรับฟังกว่าที่อื่นๆดูได้จากการบันทึกข้อความ
ดังนั้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการอ่านคำพิพากษาในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567
ผลจะไม่ออกมาเลวร้าย