บีบีซีไทย - BBC Thai
12h·
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร คือ “ผู้ร้อง” ว่า พรรคก้าวไกล “ล้มล้างการปกครอง” จากการรณรงค์นโยบายแก้ไข ม.112 นำมาสู่การวินิจฉัยของศาลในวันนี้
.
เขาให้คำจำกัดความตัวเองในเอกสารคำร้องว่า “ทนายความอิสระ” ทว่าเขาเป็นที่รู้จักในฐานะทนายความของ สุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ
.
วันนี้ (31 ม.ค.) เขานั่งฟังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญด้วย ในขณะที่ทางผู้ถูกร้อง คือ พิธา และพรรคก้าวไกล รับฟังออนไลน์อยู่ที่อาคารรัฐสภา โดยหลังศาล รธน. วินิจฉัยเสร็จสิ้น นายธีรยุทธ เดินทางออกจากศาลในทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแต่อย่างใด
ย้อนทำความรู้จักเขามากขึ้น ทางนี้ https://bbc.in/3HFYtdG
.....
เปิดตัว ธีรยุทธ สุวรรณเกษร มือยื่นคำร้องกล่าวหาก้าวไกล “ล้มล้างการปกครอง” จากนโยบายแก้ ม.112
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร เป็นทนายความอดีตพระพุทธะอิสระมาอย่างน้อย 8 ปี ยืนยันว่าไม่รู้จักบรรดา “นักร้องรุ่นพี่” มาก่อน
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
30 กรกฎาคม 2023
ศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้ขยายเวลาการยื่นคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแก้ข้อกล่าวหาคดีล้มล้างการปกครองของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ตามที่พรรคร้องขอไป เป็นวันที่ 27 ส.ค. จากเดิมครบกำหนด 28 ก.ค.
ในขณะที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ก.ก. ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรค ก.ก. ผู้ถูกร้องที่ 2 มีเวลาเหลือไม่ถึงเดือน ในการแก้ข้อกล่าวหาคดีล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏตามคำร้องราว 20 หน้ากระดาษเอสี่
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความ ผู้ยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า เขาได้ยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 27 ก.ค. รวม 6 รายการ ในจำนวนนี้เป็นคำอภิปรายของ สส. และ สว. ในระหว่างการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกฯ เมื่อ 13 ก.ค. โดยสมาชิกรัฐสภาหลายคนได้อภิปรายแสดงความเป็นกังวลต่อการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของพรรค ก.ก. โดยมี สส. ก้าวไกลลุกขึ้นชี้แจง
เขาชี้ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พฤติกรรมของก้าวไกลเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ผลที่ตามมาคือ พรรค ก.ก. ไม่อาจเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ต่อสภาผู้แทนราษฎรได้อีกต่อไป และคำวินิจฉัยศาลจะเป็น “สารตั้งต้น” ที่นำไปสู่การยื่นคำร้องให้ยุบพรรค ก.ก. ได้
ธีรยุทธให้คำจำกัดความตัวเองในเอกสารคำร้องว่า “ทนายความอิสระ” ทว่าเขาเป็นที่รู้จักในฐานะทนายความของ สุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ
บีบีซีไทยพูดคุยกับธีรยุทธ มือยื่นคำร้องคดีล้มล้างการปกครองรายล่าสุด เพื่อสะท้อนบางแง่มุมความคิด-ชีวิตของเขา อะไรทำให้นักกฎหมายวัย 49 ปีลุกขึ้นมาท้าทายความหวังของผู้คน 14 ล้านคนที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคสีส้ม
กว่าจะเป็นทนายความอดีตพระพุทธะอิสระ
ธีรยุทธจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง ประกอบอาชีพทนายความมาแล้ว 23 ปี
เขาเริ่มว่าความตั้งแต่ปี 2543 โดยทำคดีทั่วไปเหมือนทนายรายอื่น ๆ ไม่ได้เชี่ยวชาญคดีลักษณะใดเป็นพิเศษ ลูกความของเขาก็เป็นประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากข้อพิพาททางกฎหมาย
ในปี 2556 เขาเข้าร่วมอุปสมบทหมู่ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ร. 9 ที่วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม โดยมีพระสุวิทย์ ธีรธัมโม หรือพระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาส (ชื่อและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นองค์บรรยายธรรม เมื่อครบกำหนด 2 เดือนก็ลาสิกขา แล้วกลับสู่ชีวิตฆราวาส-ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการว่าความดังเดิม
กระทั่งวันหนึ่ง ธีรยุทธได้รับการติดต่อจากเพื่อนนักเรียนสมัยมัธยมซึ่งปวารณาตัวเป็นโยมอุปัฏฐากของพระพุทธะอิสระว่า “หลวงปู่ประสงค์จะหาทนายความ” และชักชวนให้ไปพบเพื่อให้เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อยเห็นหน้า หลังก่อนหน้านั้นมีลูกศิษย์คนอื่น ๆ พาทนายหลายคนหลายสำนักไปให้พระพุทธะอิสระดู แต่ก็ยังไม่เมตตา-ไม่เลือกใช้งานใคร
“พอไปถึง มีเวลาสนทนากับท่านไม่ถึง 2 นาที ตอนท่านทดสอบ ท่านส่งเอกสารให้ดู 2 ฉบับ แล้วบอกว่าเดี๋ยวจะออกมาถามหลังจัดรายการธรรมะเสร็จ พอท่านออกมา ก็ถามว่าดูแล้วเป็นยังไงบ้าง ผมตอบไปประโยคเดียวว่า ‘เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครับ’ ท่านหันไปมองลูกศิษย์ที่เป็นเพื่อนผมแล้วพูดว่า ‘เดี๋ยววันจันทร์ มึงไปกะกู’” ธีรยุทธเล่า
สำหรับเอกสาร 2 ฉบับที่ “พระอาจารย์” ส่งให้ทนายความซึ่งเป็น “อดีตพระลูกวัด” คือพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี 2542 ที่ชี้ว่าวัดพระธรรมกายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้ปฏิบัติตามพระบัญชา ซึ่งในเวลานั้น พระพุทธอิสระได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ตรวจสอบวัดพระธรรมกายและมหาเถรสมาคม กรณีไม่ให้พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องปาราชิกขาดจากความเป็นพระสงฆ์
นั่นเป็นเพียงบททดสอบแรก ซึ่งตามมาด้วยกระบวนการทดสอบอีกหลายครั้ง ก่อนที่ธีรยุทธจะได้รับความไว้วางใจให้เป็นทนายความของพระพุทธอิสระและวัดอ้อน้อย
“ผมเริ่มเป็นทนายหลวงปู่จริง ๆ ประมาณปี 2558 หลังท่านกลับจากเวที กปปส. แล้ว เป็นงานของผมหมดเลยจนถึงปัจจุบัน” ธีรยุทธกล่าว
พระพุทธะอิสระ แกนนำ กปปส. เวทีแจ้งวัฒนะ นำมวลชนและชาวนาจำนวนหนึ่งไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 4 มี.ค. 2557 เพื่อให้ดำเนินคดีกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
สำหรับอดีตพระพุทธะอิสระ ได้เข้าร่วมกับอดีตนักการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจาก สส. แล้วไปเคลื่อนไหวบนท้องถนนในนาม “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” หรือ กปปส. เพื่อขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ระหว่างปี 2556-2557
ในช่วงแรก ๆ “หลวงปู่” ได้ขึ้นเวทีเพื่อแสดงธรรมและปลุกใจแนวร่วม กปปส. ก่อนยกระดับเป็นแกนนำควบคุมเวทีและมวลชนที่ ถ.แจ้งวัฒนะ ภายใต้ปฏิบัติการ “ชัตดาวน์กรุงเทพฯ” ในเดือน ม.ค. 2557 ก่อนตกเป็นผู้ต้องหา-จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ ล้มล้างระบอบการปกครอง มั่วสุมชุมนุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และอื่น ๆ อีกหลายข้อหา
ต่อมา 24 พ.ค. 2561 ตำรวจกองปราบปรามนำกำลังบุกจับเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อยภายในกุฏิ ตามหมายจับฐานเป็นหัวหน้าอั้งยี่ซ่องโจร และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ทำให้ต้องลาสิกขา และถูกคุมตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร แม้คำนำหน้าชื่อเปลี่ยนเป็น “นาย” แต่บรรดาศิษยานุศิษย์ก็ยังเรียกชายวัย 67 ปีที่พ้นสมณเพศไปแล้วว่า “หลวงปู่” อยู่ถึงทุกวันนี้
กลับมาที่ตัวธีรยุทธ แม้เป็นทนายความของอดีตพระนักเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เขาไม่เคยคิดว่าตัวเองสำคัญหรือยิ่งใหญ่
“ถ้ามีสิ่งที่ควรทำ ก็ทำเท่านั้นเอง เราไม่ได้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีบริวาร มีผู้ช่วยเหลือ มีแบ็ค (ผู้สนับสนุนข้างหลัง) ไปอวดตัวว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นทนายความสำคัญของประเทศ” ทนายความวัย 49 ปีกล่าว
วีรกรรมร้องทุกข์กล่าวโทษนักการเมือง-นักเคลื่อนไหว
บีบีซีไทยตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง พบว่า ธีรยุทธได้รับมอบหมายจาก สุวิทย์ ทองประเสริฐ ให้แจ้งความดำเนินคดีกับนักการเมืองและนักกิจกรรมการเมืองหลายคน หลังสุวิทย์ติดตามข้อมูลข่าวสารแล้วรู้สึก “ไม่สบายใจ” อาทิ
- แจ้งความดำเนินคดีกับ 3 แกนนำคณะก้าวหน้า ได้แก่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ พรรณิการ์ วานิช กรณีบรรยายเรื่องงบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล กรณีไลฟ์เฟซบุ๊กพูดถึง 3 ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมการเมืองเมื่อปี 2563 ในความผิดฐานร่วมกันยุยงปลุกปั่นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116
- แจ้งความดำเนินคดีกับนักเรียนชั้น ม. 6 อายุ 18 ปี (ขณะนั้น) สมาชิกกลุ่ม “คะน้าราดซอส” จากการปราศรัยที่ห้าแยกลาดพร้าว เมื่อ 2 ธ.ค. 2563 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 และอื่น ๆ รวม 8 ข้อหา
- แจ้งความดำเนินคดีกับ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ “รุ้ง” แกนนำ “ราษฎร” กับพวกอีก 5 คน กรณีตั้งโต๊ะแถลงข่าว "ต้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีล้มล้างการปกครอง" เมื่อ 13 พ.ย. 2564 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 113, 116
ปิยบุตร พรรณิการ์ และธนาธร (ซ้ายไปขวา) ก่อตั้งคณะก้าวหน้าเพื่อขับเคลื่อนวาระทางการเมืองและสังคม ภายหลังถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่และเพิกถอนสิทธิการเมือง 10 ปี
ธีรยุทธยังเป็นทนายความของ ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในคดีที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง วีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และฟ้อง อัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
เบื้องหลังคำร้องคดี “ล้มล้างการปกครอง”
ส่วนเหตุผลที่ทำให้เขาลุกขึ้นมายื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหา พิธาและพรรคก้าวไกลใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง จากนโยบายหาเสียงเลือกตั้งด้วยการเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 นั้น ธีรยุทธยืนยันว่าไม่มี “ใบสั่ง” จากใคร และไม่ได้ทำเพราะอยากดัง แต่ทำในฐานะนักกฎหมายซึ่งต้องทำหน้าที่ตามหลักการของกฎหมาย ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองในช่วงที่พรรค ก.ก. เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
“ถ้ามองว่าเป็นคดีธรรมดาก็จะธรรมดา ถ้าไปมองในลักษณะยกตัวเองขึ้น ก็จะรู้สึกว่าฉันอยากทำ อยากดัง อยากมีลูกความ หลักที่อยู่ในใจเราคือเราไม่ได้มีความโดดเด่นถึงขั้นนั้นอะครับ ผมก็เป็นแค่ทนายความหนึ่งคน”
“คำที่ผมพูดกับตัวเองเสมอคือ การจะทำงานให้ดี อย่าแสดงตัวมาก ให้ทำงานเงียบ ๆ ของเราไป ผมไปไหนก็จะเงียบ ๆ ผมพอใจที่จะอยู่ข้างหลัง” ทนายธีรยุทธระบุ
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม โปรยกระดาษที่มีเนื้อหา 10 ข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันฯ บนเวที 10 ส.ค. 2563 หลังอ่านข้อความจนจบ
ในการเขียนคำร้องกล่าวหาพรรคสีส้มล้มล้างการปกครอง ธีรยุทธได้นำคำร้องและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญใน 2 คดีดังมาอ่าน-ทบทวน-วิเคราะห์โดยละเอียด เพราะมองว่าคำวินิจฉัยใน 2 คดีมีความคล้ายคลึงกัน น่าจะถือเป็นแนวบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และมีผลผูกพันต่อทุกองค์กร
- มติศาลรัฐธรรมนูญ 7 มี.ค. 2562 สั่งให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 10 ปี จากกรณีนำเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรค เมื่อ 8 ก.พ. 2562 โดยชี้ว่า “เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์”
- มติศาลรัฐธรรมนูญ 10 พ.ย. 2564 ชี้ว่าการชุมนุม 10 ส.ค. 2563 หรือที่รู้จักในชื่อปรากฏการณ์ “ทะลุเพดาน” “มีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มิใช่เป็นการปฏิรูป" และสั่งให้ 3 แกนนำจัดกิจกรรมและกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกการกระทำในอนาคต
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คดียุบ ทษช. ที่อ้างถึง “เจตนา” เพียงแค่อาจเป็นปฏิปักษ์ก็ต้องห้ามแล้ว “เพื่อให้เป็นมาตรการป้องกันการเสียหายแก่สถาบันหลักของประเทศ เป็นนโยบายตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ไม่ให้กองไฟเล็กโหมไหม้ จนเป็นมหันตภัยที่มิอาจต้านทานได้" จึงปรากฏในท้ายคำร้องของธีรยุทธ เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยคดีพรรค ก.ก. กระทำการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง โดยระบุว่า “เพื่อเป็นมาตรการป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจจะเกิดแก่สถาบันหลักของประเทศไว้ก่อน อันเป็นรัฐประศาสโนบายที่จำเป็นเพื่อดับไฟกองใหญ่ไว้แต่ต้นลม”
“คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า ‘สถาบันพระมหากษัตริย์จะแยกออกจากชาติไม่ได้’ ระดับพรรคการเมืองเขาย่อมมีนักกฎหมายเก่ง ๆ จำนวนมาก เผลอ ๆ มีเป็นร้อย ถ้าตีความคำวินิจฉัยศาลไม่ชัด ก็ไม่อาจทำอะไรได้ เป็นสิทธิของประชาชนที่จะยื่น และพรรคการเมืองก็มีหน้าที่ต้องไปตอบศาลเอาเอง” ทนายธีรยุทธกล่าว
ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ โชว์เอกสารที่ยื่นต่อสำนักงาน กกต. เมื่อ 8 ก.พ. 2562 ปรากฏพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ในบัญชีของพรรค
หวังว่าวันหนึ่งจะมีโอกาสเดินเฉียด “นักร้องรุ่นพี่”
เมื่อถามถึงความสัมพันธ์กับ “นักร้องรุ่นพี่” ทั้ง ณฐพร โตประยูร ผู้ยื่นคำร้อง “คดีทะลุเพดาน” และ “คดีอิลลูมินาติ”, ศรีสุวรรณ จรรยา ผู้ยื่นคำร้อง “คดีหุ้นวี-ลัคฯ” ของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้ยื่นคำร้อง “คดีหุ้นไอทีวี” ของพิธา ธีรยุทธบอกว่า เห็นคนเหล่านี้ในสื่อ ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว ไม่มีเบอร์โทรศัพท์ และไม่มีใครเป็นไอดอลทางกฎหมาย แต่อาศัยฟังความเห็นของนักกฎหมายหลายคนที่พูดต่อสาธารณะ
“ผมไม่เคยพบตัวจริงทั้ง 3 ท่านที่พูดมา ก็หวังว่าวันหนึ่ง จะมีโอกาสเดินเฉียด ๆ ท่านเหล่านั้นบ้าง” ธีรยุทธกล่าวติดตลก
ส่วนที่ถูกมองว่าเป็น “นักร้องรุ่นน้อง” ธีรยุทธกล่าวว่า ก็อาจมีคนตั้งฉายาให้ แต่ยังไม่เห็นคนเรียกแบบนั้นมากนัก และยังพอใจที่หลายคนรวมถึงสื่อมวลชน “กรุณาเรียกผมว่าทนายความอิสระ”
“ทัวร์ลง”
พรรค ก.ก. ชนะเลือกตั้ง 14 พ.ค. ด้วยยอด ส.ส. 151 คน และกลายเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม 8 พรรค แต่สุดท้ายพิธาไปไม่ถึงทำเนียบรัฐบาล เมื่อ สว. และ สส. “ขั้วอำนาจเดิม” พร้อมใจกันงดออกเสียง-โหวตคว่ำชื่อพิธากลางรัฐสภา เพราะรับไม่ได้กับการแตะต้องมาตรา 112 ท่ามกลางความคับแค้น-โกรธเคืองจากผู้คนนอกสภาที่กากบาทเลือกพรรค ก.ก. ในคูหาเลือกตั้ง
สว. บางส่วนเริ่มฟ้องดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญากับผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลที่ถูกเรียกขานว่า “ด้อมส้ม” หลังถูกข่มขู่ คุกคาม ด่าทอ และขุดสาแหรกผ่านสื่อสังคมออนไลน์
ขณะที่สถานการณ์ของธีรยุทธยัง “สงบเงียบ” ทั้งในโลกออนไลน์และออนกราวด์ ซึ่งเขาเชื่อว่า ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ต้องมาจากแกนนำพรรค หรือ สส. ของพรรคที่มองว่าคำร้องกรณีล้มล้างการปกครองมีวิธีชี้แจงแก้ไขได้ ไม่น่าหนักใจ ต่างจากปมหุ้นสื่อของพิธาที่พรรคอาจเป็นกังวลมากกว่า เพราะเคยมีตัวอย่างในกรณีธนาธรมาแล้ว พอแกนนำหรือพรรคพูดคดีหุ้นสื่อบ่อย ๆ ก็เลยจุดประกายความเป็นห่วงให้แก่เอฟซี และนำไปสู่ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ตามมา
อย่างไรก็ตามมีพี่น้องเพื่อนฝูงของธีรยุทธโทรศัพท์และส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์แสดงความเป็นห่วงเขาบ้าง หลังเห็นหน้า-ชื่อของปรากฏตามสื่อ โดยบอกว่า “ถ้ามีอะไรบอกนะ จะให้มาเฝ้า (บ้าน) ก็มาได้”
“จริง ๆ เพื่อนบ้านผม เขาชื่นชอบพรรคก้าวไกลนะ เขาก็รู้ว่าผมเป็นคนไปยื่น (คำร้อง) แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ทุกวันนี้ก็ยังคุยกันตามปกติ เพราะเห็นหน้ากันมาตั้งแต่เด็ก ผมอยู่บ้านนี้มาค่อนชีวิตและไม่ได้คิดจะย้ายไปไหน” ธีรยุทธเล่า
หวังว่าวันหนึ่งจะมีโอกาสเดินเฉียด “นักร้องรุ่นพี่”
เมื่อถามถึงความสัมพันธ์กับ “นักร้องรุ่นพี่” ทั้ง ณฐพร โตประยูร ผู้ยื่นคำร้อง “คดีทะลุเพดาน” และ “คดีอิลลูมินาติ”, ศรีสุวรรณ จรรยา ผู้ยื่นคำร้อง “คดีหุ้นวี-ลัคฯ” ของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้ยื่นคำร้อง “คดีหุ้นไอทีวี” ของพิธา ธีรยุทธบอกว่า เห็นคนเหล่านี้ในสื่อ ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว ไม่มีเบอร์โทรศัพท์ และไม่มีใครเป็นไอดอลทางกฎหมาย แต่อาศัยฟังความเห็นของนักกฎหมายหลายคนที่พูดต่อสาธารณะ
“ผมไม่เคยพบตัวจริงทั้ง 3 ท่านที่พูดมา ก็หวังว่าวันหนึ่ง จะมีโอกาสเดินเฉียด ๆ ท่านเหล่านั้นบ้าง” ธีรยุทธกล่าวติดตลก
ส่วนที่ถูกมองว่าเป็น “นักร้องรุ่นน้อง” ธีรยุทธกล่าวว่า ก็อาจมีคนตั้งฉายาให้ แต่ยังไม่เห็นคนเรียกแบบนั้นมากนัก และยังพอใจที่หลายคนรวมถึงสื่อมวลชน “กรุณาเรียกผมว่าทนายความอิสระ”
“ทัวร์ลง”
พรรค ก.ก. ชนะเลือกตั้ง 14 พ.ค. ด้วยยอด ส.ส. 151 คน และกลายเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม 8 พรรค แต่สุดท้ายพิธาไปไม่ถึงทำเนียบรัฐบาล เมื่อ สว. และ สส. “ขั้วอำนาจเดิม” พร้อมใจกันงดออกเสียง-โหวตคว่ำชื่อพิธากลางรัฐสภา เพราะรับไม่ได้กับการแตะต้องมาตรา 112 ท่ามกลางความคับแค้น-โกรธเคืองจากผู้คนนอกสภาที่กากบาทเลือกพรรค ก.ก. ในคูหาเลือกตั้ง
สว. บางส่วนเริ่มฟ้องดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญากับผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลที่ถูกเรียกขานว่า “ด้อมส้ม” หลังถูกข่มขู่ คุกคาม ด่าทอ และขุดสาแหรกผ่านสื่อสังคมออนไลน์
ขณะที่สถานการณ์ของธีรยุทธยัง “สงบเงียบ” ทั้งในโลกออนไลน์และออนกราวด์ ซึ่งเขาเชื่อว่า ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ต้องมาจากแกนนำพรรค หรือ สส. ของพรรคที่มองว่าคำร้องกรณีล้มล้างการปกครองมีวิธีชี้แจงแก้ไขได้ ไม่น่าหนักใจ ต่างจากปมหุ้นสื่อของพิธาที่พรรคอาจเป็นกังวลมากกว่า เพราะเคยมีตัวอย่างในกรณีธนาธรมาแล้ว พอแกนนำหรือพรรคพูดคดีหุ้นสื่อบ่อย ๆ ก็เลยจุดประกายความเป็นห่วงให้แก่เอฟซี และนำไปสู่ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ตามมา
อย่างไรก็ตามมีพี่น้องเพื่อนฝูงของธีรยุทธโทรศัพท์และส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์แสดงความเป็นห่วงเขาบ้าง หลังเห็นหน้า-ชื่อของปรากฏตามสื่อ โดยบอกว่า “ถ้ามีอะไรบอกนะ จะให้มาเฝ้า (บ้าน) ก็มาได้”
“จริง ๆ เพื่อนบ้านผม เขาชื่นชอบพรรคก้าวไกลนะ เขาก็รู้ว่าผมเป็นคนไปยื่น (คำร้อง) แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ทุกวันนี้ก็ยังคุยกันตามปกติ เพราะเห็นหน้ากันมาตั้งแต่เด็ก ผมอยู่บ้านนี้มาค่อนชีวิตและไม่ได้คิดจะย้ายไปไหน” ธีรยุทธเล่า
ประชาชนหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มเสื้อหลากสี, ศ.ป.ป.ส., กองทัพธรรมสันติอโศก, ลูกศิษย์อดีตพระพุทธะอิสระ ร่วมให้กำลังใจและสนับสนุน สว. ในการต่อต้านแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคที่มีนโยบายแก้ไขมาตรา 112 บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อ 18 ก.ค.
“ทัวร์” เดียวที่เคยไปถล่มบ้านของทนายความวัยย่าง 50 หาใช่ใครอื่น หากแต่เป็นคนร่วมสายเลือด
“ตอนไปทำงานให้หลวงปู่ใหม่ ๆ ผมโดนคุณน้องสาวที่บ้านถล่มเลย เขาเป็นเสื้อแดง แบบแดงแจ๋เลย จัดรายการวิทยุชมชน เขาก็มาดุผมแรงเลย นี่เธอ ถ้าจะทำอย่างนี้กรุณาไปเปลี่ยนนามสกุลก็ได้นะ ผมก็ต้องอธิบายคุณน้องสาวไปว่าเราไม่ได้จะไปเกี่ยวข้องกับการเมืองนะ มาโดยสายศาสนาอย่างเดียวนะ มาเพราะเป็นลูกศิษย์ ถือว่าท่านคือครูบาอาจารย์ เมื่อเรียกใช้ ก็ต้องมา ต้องอธิบายกันอยู่นานเลย” ทนายธีรยุทธกล่าว
ไม่ต้องการให้ยุบพรรค แค่ “ทุบ” ให้เป็นสุญญากาศ
แม้คำร้องของธีรยุทธที่ส่งตรงถึงศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ขอให้มีคำสั่งยุบ “พรรค 14 ล้านเสียง” แต่ขอให้ศาลสั่งให้พิธา และพรรค ก.ก. 1. เลิกการดำเนินการใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 และ 2. เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ที่กระทำอยู่ และจะดำเนินการหรือกระทำต่อไปในอนาคต
ทว่าพลันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องคดีนี้ไว้พิจารณา เมื่อ 12 ก.ค. ก็ทำให้กระแสข่าวยุบพรรคสีส้มหนาหูขึ้น แม้แต่เกลอเก่าที่เป็นอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยเอกชน และเป็นผู้นิยมชมชอบในพรรค ก.ก. ก็ยังโทรศัพท์มาสอบถาม-ต่อว่าธีรยุทธ ทำให้เจ้าตัวต้องแจกแจงนาน 2 ชม.
- เพื่อน: นี่นาย ทำเรื่องจะให้ยุบพรรคเลยหรือ ตั้งข้อหาล้มล้างการปกครองเลยหรือ
- ธีรยุทธ: ไม่ใช่ เราขอแค่หยุดการกระทำ
- เพื่อน: หยุดอะไร
- ธีรยุทธ: เข้าใจสุญญากาศไหม ทุบแล้วหายไปเลย
- เพื่อน: สุญญากาศอะไร ไม่เข้าใจ
- ธีรยุทธ: ต้องยอมรับว่าคุณพิธามีผู้นิยมเขามาก เหมือนเป็นดารา พอไปปรากฏตัวที่ตลาดหรือที่ไหน คนก็แห่ไปดู ดังนั้นคำพูดและการแสดงความเห็นของเขาจะทรงพลังมาก ด้วยความทรงพลัง ถ้าเขาหยุดพูด ให้มันเป็นเหมือนสุญญากาศ เรื่องเหล่านั้นก็จะหายไปจากสังคมเอง แค่นั้นเอง เราต้องการแค่นี้
- เพื่อน: งง ไม่เข้าใจ
- ธีรยุทธ: ดูอย่างคดีธรรมศาสตร์ (คดีทะลุเพดาน) เหตุผ่านไปหมดแล้ว ศาลจะไปสั่งให้หยุดชุมนุมได้ยังไง เพราะชุมนุมจบไปหมดแล้วตั้งแต่ 10 ส.ค. 2563 ศาลจึงสั่งห้ามไม่ให้กระทำการเยี่ยงนี้อีกในอนาคตเพื่อตัดไฟที่จะลามไว้แต่ต้นลม เห็นไหม หลังศาลพิพากษา ก็ไม่เห็นแล้วว่ามีรถน้ำไปฉีดที่ไหน ทุกวันนี้แทบไม่มีใครพูดถึงสิ่งที่พูดเมื่อ 10 ส.ค. อีก กลายเป็นสุญญากาศไป กรณีนี้ให้หยุดใช้มาตรา 112 ในการหาเสียง แต่เมื่อวันนี้การหาเสียงเลือกตั้งจบไปแล้ว ก็ขอให้พรรคก้าวไกลหยุดแสดงความเห็น หยุดการเผยแพร่ใด ๆ ในเรื่องมาตรา 112
ประชาชนบางส่วนรวมตัวกันหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อ 10 พ.ย. 2564 เพื่อฟังคำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครอง
อย่างไรก็ตามคำอธิบายของธีรยุทธที่บอกกับสหาย ดูจะไม่สอดคล้องกับความเชื่อของชาวก้าวไกล นักวิชาการ และผู้คนบางส่วนในสังคมที่ประเมินว่าปรากฏการณ์ “ทะลุเพดาน” เมื่อ 10 ส.ค. 2563 ทำให้ประชาชนตื่นรู้ และ “ไม่มีใครสามารถปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือได้อีกต่อไป” แม้มีความพยายามจากผู้มีอำนาจในการทำให้ประชาชนชินชา-เงียบลงก็ตาม
นอกจากนี้ ธีรยุทธยังยื่นคำร้องต่อประธาน กกต. เมื่อ 22 พ.ค. ให้ตรวจสอบว่าการหาเสียงให้ยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 เป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุข ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 (1) (2) หรือไม่
บีบีซีไทยเข้าใจว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดคำร้องคดีแรกว่า พิธา และพรรค ก.ก. กระทำการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ก็จะเป็นฐานทางกฎหมายให้ กกต. พิจารณาคำร้องที่ 2 ที่คาอยู่ แล้วยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้สั่งยุบพรรค ก.ก. ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 92 ได้ ซึ่งธีรยุทธยอมรับว่าขั้นตอนทางกฎหมายเป็นเช่นนั้น
นั่นหมายความว่า “สุญญากาศ” ที่ธีรยุทธอ้าง ไม่น่าใช่เพียงการหยุดพูด-หยุดทำ-หยุดแก้มาตรา 112 แต่ไปถึงขั้นยุติสถานะพรรคการเมืองของก้าวไกล
อย่างไรก็ตามพรรค ก.ก. ยืนยันผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กเมื่อ 26 ก.ค. ว่า “สามารถชี้แจงทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหาได้อย่างมั่นใจ” โดยยึดหลักการว่าการแก้ไขมาตรา 112 เป็นสิ่งที่กระทำมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และจะต้องทำได้ต่อไป และย้ำว่า “แก้ไขไม่ใช่ล้มล้าง”
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อประธาน กกต. ขอให้ตรวจสอบพรรคก้าวไกล กรณีหาเสียงด้วยการเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 เข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองหรือไม่ เมื่อ 22 พ.ค.
“ความเลวร้าย-ไม่เลวร้ายอยู่ที่พฤติกรรมของก้าวไกล ไม่ใช่ผม”
รัฐธรรมนูญตีความคดีล้มล้างการปกครอง ทั้งต่อตัวเอง และต่อสังคมการเมืองไทย
คำตอบของเขาคือ ไม่เคยประเมินความเลวร้าย เพราะถ้าศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย ตรงนั้นก็เป็นอำนาจของศาล “ความเลวร้าย-ไม่เลวร้ายก็อยู่ที่พฤติกรรมของก้าวไกล ไม่ใช่ผม ต้องถามว่าคุณพิธากับพรรคก้าวไกลทำอะไรเลวร้ายไหม ถ้าไม่ทำ ก็ไปชี้แจงที่ศาล”
“ผมไม่ได้มีจิตต้องการไปประหัตประหารท่านพิธาและพรรคก้าวไกล หรือตั้งใจทำลายทำร้ายอะไรเขา ท่านไม่ได้มาทำอะไรผม ท่านมีแนวความคิด มีการแสดงความคิดเห็นออกมา แต่สิ่งที่ท่านจะทำ จะเปิดช่อง เปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลหรือใครฉวยไปทำอะไรหรือเปล่า ศาลก็จะวินิจฉัยตรงนั้น” ธีรยุทธกล่าว
ไม่ว่าจะถูกมองเป็น “องครักษ์พิทักษ์มาตรา 112” หรือ “ผู้ทำลายพรรคมวลชน 14 ล้านเสียง” ธีรยุทธไม่ได้คิดถึงประเด็นเหล่านี้ และยืนยันว่าตัวเองเพียงแต่ทำหน้าที่ “นักกฎหมายที่ต้องรักษาหลักการของกฎหมาย”