วันอังคาร, พฤษภาคม 09, 2566

เมื่อการเมืองแห่งความกลัวเข้าครอบ การเรียกร้องให้ เกี๊ยะเซี๊ยะอเกน ก็โผล่หน้า 😏


Pigwidgeon @TuaMaple
เกี๊ยะเซี๊ยะอเกน
.....

Puangthong Pawakapan
8h
·
ขอสนทนากับบทวิเคราะห์ของอ.วาสนา ซึ่งมีทั้งที่เราเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
จริงๆ ถ้าจะดูการประนีประนอมกับระบอบอำนาจนิยม ตัวอย่างที่ดีที่ควรนำมาเปรียบเทียบกับกรณีเกาหลีใต้ด้วย ก็คือกรณีประเทศไทยนี่แหละ
เราเห็นด้วยว่าแทบจะทุกการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย มักต้องมีการประนีประนอมกับกลุ่มอำนาจเก่า เพราะแม้ว่าอำนาจของพวกเขาได้อ่อนแอลง แต่ก็ไม่ได้หมดไปในทันที โครงสร้างอำนาจยังถูกคนเหล่านี้กุมไว้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ตำรวจ ศาล ระบบราชการ ฯลฯ การจัดการอย่างถอนรากถอนโคนอาจทำให้พวกนี้ strike back จนระบอบประชาธิปไตยถูกล้มอีกครั้ง ฝ่ายประชาธิปไตยจึงมักยินยอมแชร์อำนาจด้วยการให้คนเหล่านี้เข้ามาร่วมกระบวนการประชาธิปไตยด้วย เราเรียกสภาวะแบบนี้ว่า “ประชาธิปไตยในระยะเปลี่ยนผ่าน” (Transitional democracy)
แต่ในหลายประเทศที่ประชาธิปไตยสามารถเปลี่ยนผ่านได้สำเร็จ เอาทหารออกจากการเมืองได้สำเร็จ ประเทศเหล่านี้ไม่ได้มีแต่การประนีประนอมอย่างเดียว แต่ประชาชนของพวกเขาไม่เคยยุติการเรียกร้องให้นำผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนมาลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเกาหลีใต้ อาร์เจนตินา ชิลี
การประนีประนอมของฝ่ายการเมืองก็ดำเนินไป แต่ความพยายามของประชาชนและนักการเมืองบางกลุ่มที่ต่อสู้เรียกร้องให้ยุติการลอยนวลพ้นผิด ก็ดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง
อยากยกตัวอย่างกรณีอาร์เจนตินา แม่ 2 คนที่เป็นแกนนำของขบวนการ Mothers of the Plaza de Mayo ถูกทหารอุ้มหายไปไปด้วยซ้ำ หนึ่งในแกนนำรู้ตัวก่อนด้วยว่าตัวเองกำลังเสี่ยงอันตราย เธอจึงบอกกับพวกแม่ๆ ในขบวนการว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอ ขอให้ทุกคนเดินหน้าเรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกๆ ต่อไป พวกเธอใช้เวลาต่อสู้เกือบสองทศวรรษกว่ากระบวนการยุติธรรมจะเริ่มต้นขึ้นได้ เราเรียกการต่อสู้นี้ว่า ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional justice) ซึ่งมักใช้เวลานานมาก เพราะฝ่ายอำนาจเก่ายังคงมีฤทธิ์เดชเหลืออยู่ แต่ฝ่ายประชาชนก็ไม่ยอมให้พวกมันลอยนวลพ้นผิดไปง่ายๆ เช่นกัน พวกเขาสู้กับทั้งทหารและรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่เอาแต่ประนีประนอม ด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กองทัพเสียเอง
ในกรณีของไทย เราได้เห็นสัญญาณที่พรรคเพื่อไทยต้องการประนีประนอมกับกลุ่มอำนาจเดิมมานานแล้ว เห็นมาตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เลยด้วยซ้ำ และในครั้งนี้ หากพลังประชารัฐได้ที่นั่งมากพอ เขาก็อาจจะจับมือกัน คำถามคือนี่คือปรากฏการณ์ใหม่ของการเมืองไทยหรือไม่
คำตอบคือ ไม่เลย แต่เป็นการปฏิบัติปกติที่กระทำกันมาเนิ่นนานแล้ว สังคมไทยเคยชินกับการประนีประนอมมากกว่าการแตกหักมานานแล้ว จนไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องผิดเลยด้วยซ้ำ ในสังคมนี้ ก่อนปี 2553 พรรคการเมือง รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ไม่เคยเคลื่อนไหวเรียกร้องให้นำคณะรัฐประหาร-รัฐบาลทหารขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมเลยด้วยซ้ำ
ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ หนึ่งในสมาชิกคณะรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 และ 20 ตุลา 2520 เป็นหัวหน้ารัฐบาลที่ตั้งขึ้นจากรัฐธรรมนูญที่คณะ รปห. 2520 ร่างขึ้นมาเอง แล้วจบด้วยการได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน ผู้ทำรัฐประหาร ก็ทำพรรคการเมือง ลงเลือกตั้ง พ่ายแพ้หมดรูป แต่ก็มีชีวิตสุขสบายต่อไป
หรือแม้แต่กรณีที่กองทัพเกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชน ก็ไม่เคยมีความพยายามเรียกร้องเอาผิดเลย ไม่ว่าจะเป็นกรณี 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519, พค.2535
หรือแม้แต่การปราบปรามประชาชนเสื้อแดงในปี 2553 ก็ยังยกเว้นไม่ฟ้องผู้นำกองทัพ แถมจบด้วยการออก พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง โดยพรรคเพื่อไทยเสียเอง
เพิ่งจะมีการปราบปรามประชาชนเสื้อแดงปี 53 นี่เอง ที่เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายประชาชนให้นำคนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อหวังว่าการลงโทษจะเป็นหนทางยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชนในอนาคต และหากกองทัพไม่สามารถใช้อาวุธที่มีในมือกับประชาชนได้ตามอำเภอใจอีก พวกเขาก็อาจต้องคิดหนักขึ้นหากจะทำรัฐประหาร
นอกจากนี้ ยังมีคณะนิติราษฎร์ที่เรียกร้องให้พรรคการเมืองต้องพยายาม “ลบล้างผลพวงของคณะรัฐประหาร 2549” ซึ่งรวมทั้งการแก้ไขมาตรา 112 และไม่ปิดกั้นการดำเนินคดีกับผู้ที่ฉีกรัฐธรรมนูญด้วย
กลับมาที่การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นไปได้ที่เพื่อไทยจะจับมือกับพลังประชารัฐ หากพวกเขาสามารถฟอร์มรัฐบาลเสียงข้างมากได้ ประชาชนอย่างเราก็คงวิจารณ์ แต่จะไม่เรียกร้องให้ทหารออกมาทำรัฐประหารแบบที่กลุ่มพันธมิตร และกปปส. ทำแน่ๆ แต่เราก็ไม่ควรด้อยค่าเสียงเรียกร้องของพรรคการเมืองและประชาชนที่ต้องการให้นำคนผิดมาลงโทษ เพราะบทเรียนจากสังคมไทยนี่แหละที่บอกเราว่า การประนีประนอมโดยยินยอมปล่อยให้ผู้มีอำนาจลอยนวลพ้นผิดครั้งแล้วครั้งเล่า คือเส้นทางหายนะของการเมืองไทยครั้งแล้วครั้งเล่านั่นเอง
การประนีประนอมต้องทำโดยมีเป้าหมายว่าจะสร้าง Rule of law และสถาปนาประชาธิปไตยที่เข้มแข็งให้กับสังคมไทยในอนาคตไปพร้อมๆ กันด้วย ไม่ใช่มุ่งแต่ผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองเท่านั้น
ลิงค์ของ อ.วาสนา https://www.facebook.com/wasana.wongsurawat/posts/pfbid0oLvBSGhV8BK6WHfNDQdKEEpM9y6nYUaQsRqVVeL5j9U8as8427AREFJatmuvuEREl
.....

สำนักพิมพ์สมมติ
·
❝อย่ากลัวที่จะคิดนอกรีต
เพราะทุกความคิดที่ได้รับการยอมรับ
ครั้งหนึ่งล้วนเคยนอกรีต❞ — Bertrand Russell

ในสังคมที่ความจริงถูกปิดกั้น มากไปกว่านั้นยังถูกบิดเบือน ใครก็ตามที่คิดนอกรีตนอกรอยถือเป็นบุคคลอันตราย!

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) กล่าวประโยคข้างต้นไว้ราว 100 ปีที่แล้ว แต่ประโยคนี้กลับยังใช้ได้ในปัจจุบัน รัสเซลล์เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ อาจารย์สอนวิชาปรัชญาที่วิทยาลัย Trinity ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาอพยพไปอเมริกาและเป็นศาสตราจารย์ชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยชิคาโกและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

นักปรัชญาคนนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นนักใฝ่สันติภาพที่ดีเด่นของโลก เขาสนใจปัญหาการเมืองและสังคมอย่างยิ่ง กระทั่งได้รับตำแหน่งหรือรางวัลพิเศษในระดับสากล เช่น 1. ได้รับเลือกเป็นราชบัณฑิตของอังกฤษ 2. ได้รับพระราชทานเป็นขุนนางเอิล 3. ได้รับเชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมวิชาการของอังกฤษ 4. ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้แถลงเหตุผลที่เขาได้รับรางวัลไว้ว่า …ท่านเป็นคนหนึ่งในสมัยของเราที่เป็นปากเสียงดังที่สุดให้กับปัญญาธรรมและมนุษยธรรม ท่านกล้าประท้วงเรียกร้องสิทธิในการพูดและการคิดอย่างอิสระในซีกโลกตะวันตก…

ผลงานแปลเป็นภาษาไทยของรัสเซลล์อาจจะไม่ได้มาก และยิ่งเป็นวรรณกรรมก็ยิ่งน้อยเข้าไปอีก แต่ปัจจุบันหากใครสนใจนิยายเล่มบางอ่านสนุก แฝงไปด้วยข้อคิดปรัชญาและสะท้อนสังคมจอมปลอม เราขอแนะนำ ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk) ใครคิดนอกรีตนอกรอยในเล่มนี้มีโทษถึงตาย

คำแนะนำ : เหมาะแก่การเป็นของขวัญมอบให้ ‘คนดีย์’

ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk)
เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล

ความหนา : 108 หน้า
ราคาปก 150 บาท
ISBN 978-616-562-033-8

สั่งซื้อออนไลน์เท่านั้น
ทัก inbox

หรือLine@ คลิก http://bit.ly/2IYW9jh (@sm.thaipublishing)

หรือคลิกผ่านทางเว็บไซต์ https://www.sm-thaipublishing.com/.../2828.../set-best-books