วันอังคาร, พฤษภาคม 30, 2566

ไม่ต้องไปเชื่อ ตรรกะบ้งๆ - ไม่ต้องยกเลิกนโยบายว่าที่รัฐบาลใหม่ก็เขียวทั้งกระดาน-ตลาดหุ้นไทยวันนี้เขียวแล้วนะ


ดร.ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์
14h ·
ตรรกะบ้งๆ
...
ไม่ต้องยกเลิกนโยบายว่าที่รัฐบาลใหม่ก็เขียวทั้งกระดาน-ตลาดหุ้นไทยวันนี้เขียวแล้วนะ แม้ว่าที่รัฐบาลไม่ต้องยกเลิกนโยบายทั้งหมดตามที่พี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิ กองทุนบัวหลวงแนะนำก็ตาม และปัจจัยการเมืองก็มีผลต่อตลาดน้อยลง หันไปรับผลบวกเรื่องสหรัฐตกลงเรื่องเพดานหนี้กันได้แทน
ผมให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นาที20นาทีเป็นต้นไปในคลิปนี้
https://fb.watch/kQkiRnlOiY/?mibextid=v7YzmG
.....
Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
20h
·
ยุ่งมากจนไม่มีเวลาตามข่าวหลายเรื่องและเขียนหลายเรื่องที่อยากเขียน แต่พอเห็นมุก "ยกเลิกทุกนโยบายของว่าที่รัฐบาล เขียวทั้งกระดานทันที" ของประธาน บลจ. ที่อดีตเป็นกรรมการ ตลท. ด้วย ที่คงโพสขำๆ แต่จากคอมเม้นมากมายก็ชัดเจนว่าหลายคนอยากเห็นสิ่งนี้จริงๆ (55) ก็คิดว่าควรแสดงความเห็นของตัวเองสักหน่อยนะคะ
ในฐานะคนที่เคยทำงานในแวดวงตลาดทุน ทำวิจัยเรื่องธรรมาภิบาลตลาดทุน และตอนนี้ก็เป็นนักลงทุนรายย่อย (แมงเม่า) ที่ตามดูนโยบายตลาดทุนอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ
(ไม่ได้ตั้งใจจะเรียบเรียงความเห็นต่อไปนี้เป็นเรื่องเป็นราว และอาจไม่มีเวลามาตอบทุกเม้น แต่ถ้าท่านไหนสนใจจะเอาข้อไหนไปขยายต่อ อภิปรายต่อ ก็จะยินดีมาก)
1. รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลประชาชนและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่มีรัฐบาลไหนมีหน้าที่ "ทำให้หุ้นขึ้น" (และก็ไม่มีหน้าที่ “พยุงตลาดหุ้น” ในภาวะตลาดขาลงด้วย) แต่แน่นอนว่า ถ้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะดี ตลาดหุ้นก็มีแนวโน้มจะเขียวเพราะนักลงทุนจะคาดหวังว่าบริษัทในตลาดหุ้นจะได้ประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ
2. นักลงทุนหลายคนกังวลว่า นโยบายต่างๆ ของพรรคก้าวไกลจะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ เพราะดูจะเน้นการสร้างรัฐสวัสดิการและ "กระจาย" ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (แบ่งเค้ก) มากกว่า "สร้างการเติบโต" (ขยายขนาดเค้ก) แต่ในความเป็นจริงสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากนโยบายก้าวไกลสามารถเพิ่มความเป็นธรรมในสนามแข่งขัน ขจัดส่วย ลดต้นทุนพลังงาน ลดต้นทุนสวัสดิการ (เพราะเพิ่มสวัสดิการภาครัฐ) ได้จริง สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยลดต้นทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจำนวนมาก อีกทั้งถ้า SMEs ได้ประโยชน์กันเยอะๆ ตลาดทุนก็น่าจะได้เห็น IPOs (การระดมทุนในตลาดหุ้นครั้งแรก) จากธุรกิจที่มีความหลากหลายและเข้มแข็งกว่าในอดีต
(ไม่ได้กำลังบอกว่านโยบายเหล่านี้จะสำเร็จหรือไม่มีอุปสรรคใดๆ แต่กำลังบอกว่า แม้แต่นโยบายแนวที่คนมองว่า "แบ่งเค้ก" ก็ส่งผลลัพธ์เชิงบวกกับหุ้นในตลาดได้ ไม่ใช่ไม่มีผลกระทบเลยหรือมีแต่ผลกระทบเชิงลบ)
3. ส่วนนโยบายที่หลายคนกังวลว่าจะส่งผลกระทบเยอะมากต่อธุรกิจในตลาดหุ้น เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อันนี้ก็ต้องถกเถียงค้นคว้าและหาแผนการลงมือทำที่ช่วยลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยต่อไป แต่ก็ไม่มีใครควรอนุมานง่ายๆ ว่า ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ -> เงินเฟ้อสูง -> ว่างงานสูง -> เศรษฐกิจแย่ เพราะตลาดแรงงานในไทยเป็น monopsony มากกว่า perfect competition อีกทั้งในภาวะที่เงินเฟ้อสูงเกิดจาก cost-push (ต้นทุนเพิ่ม) ไม่ใช่ demand pull การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็ยิ่งสำคัญใหญ่ในแง่วิธีคุ้มครองแรงงานรายได้น้อยจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงมาก และผลกระทบต่อเงินเฟ้ออาจมีเพียงเล็กน้อยและอยู่ไม่นาน คุ้มค่ากับการเพิ่มกำลังซื้อของแรงงานรายได้น้อย (ทั้งหมดนี้หมายเหตุว่านักเศรษฐศาสตร์ต้องออกมาถกกันต่อไป แค่จะบอกว่าอนุมานง่ายๆ ไม่ได้)
4. ถ้าอยากให้ตลาดทุนดึงดูดนักลงทุนมากกว่านี้ ก็ต้องให้ความสำคัญกับ "คุณภาพ" ของของในตลาด มากกว่าการอัด "โปรโมชั่น" ลดแลกแจกแถม และควรมองหากลไกต่างๆ ที่จะขยายฐานนักลงทุนด้วย
ตัวอย่างวิธีเน้น "คุณภาพ" ของของในตลาด เช่น เรียกร้องให้ ก.ล.ต. ทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ ตรงไปตรงมาไม่เลือกปฏิบัติ จัดการกับ "เจ้ามือ" และ "หุ้นปั่น" ทั้งหลายอย่างจริงจัง รวมถึงทบทวนกฎการบังคับถอดหุ้นออกจากตลาด (involuntary delisting rules) ให้เข้มกว่านี้ ไม่ใช่ปล่อยให้มีบริษัทห่วยๆ มากมายที่ไม่ได้ทำกิจการอะไรเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว งบการเงินไม่น่าเชื่อถือแล้ว เป็นเพียงบริษัทกล่องที่หลอกล่อแมงเม่ามาเชือด
กลไกต่างๆ ที่จะขยายฐานนักลงทุนให้กระจายประโยชน์สู่ประชาชนมากขึ้น มีอาทิ ส่งเสริมการตั้งกองทุนแบบ Bumiputera Fund ในมาเลเซีย หรือ unit trust ในสิงคโปร์ ที่ประชาชนสามารถซื้อได้ด้วยเงินจำนวนน้อยมากๆ
เห็นว่าประเด็นข้างต้นคือตัวอย่างของสิ่งที่นักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญตลาดทุนทั้งหลายควรช่วยกันอภิปราย คิดและนำเสนอรัฐบาลใหม่อย่างสร้างสรรค์ มากกว่าเล่นมุกที่อาจทำให้คนเข้าใจผิดค่ะ