.....
ย้อนดูศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเคยชี้เผารูปกษัตริย์เป็นเสรีภาพในการแสดงออก
2021-03-02
ประชาไท
ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในการประท้วงที่สเปน สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออก ไม่อาจตีความว่าเป็นการประทุษร้ายและแสดงความเกลียดชัง เป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรประบุว่าคำตัดสินของศาลสเปนในคดีเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ฆวน การ์ลอสที่ 1 และพระราชินีโซเฟีย ในการประท้วงที่เมืองกีโรนา ขัดต่อหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป และคำตัดสินดังกล่าวของศาลสเปนถือว่ามีนัยยะทางการเมือง
ย้อนกลับไปในเดือน ก.ย. 2550 ชายชาวสเปนจากแคว้นกาตาลุญญา 2 คน คือ อันริก สเติร์น และ เฆาเม่ โรอูร่า นำพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์ลอสที่ 1 และพระราชินีโซเฟียแห่งสเปนมาแขวนกลับหัวพร้อมจุดไฟเผาในการประท้วงซึ่งตรงกับช่วงที่ทั้ง 2 พระองค์เสด็จฯ เยือนประชาชนในเมืองกีโรนา ทางตะวันออกเฉียงของแคว้นกาตาลุญญา ซึ่งในขณะนั้น การเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนในแคว้นกาตาลุญญายังเป็นเพียงการเคลื่อนไหวกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น
หลังเหตุประท้วงดังกล่าว สเติร์นและโรอูร่าถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์ โดยทั้งคู่ถูกตัดสินจำคุก 15 เดือน ก่อนจะได้รับการลดโทษเหลือเพียงจ่ายค่าปรับคนละ 2,700 ยูโร (ประมาณ 98,000 บาท) ทั้งสเติร์นและโรอูร่าประสงค์จะยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลรัฐธรรมนูญของสเปนไม่รับเรื่อง ทำให้ทั้งคู่ต้องเปลี่ยนมายื่นเรื่องต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่มีเมืองสตราสบวร์ก ประเทศฝรั่งเศส โดยศาลฯ มีมติรับเรื่องไว้พิจารณาเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2558
ต่อมาในวันที่ 13 มี.ค. 2561 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีคำวินิจฉัยว่า การเผารูปกษัตริย์ไม่อาจตีความได้ว่าเป็นการกระทำที่มีจุดประสงค์เพื่อประทุษร้ายและแสดงความเกลียดชังต่อตัวของกษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศ นอกจากนี้ ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นการโจมตีโดยตรงต่อพระวรกายของกษัตริย์ และไม่ถือว่าเป็นการทุษร้ายด้วยวาจา (Hate Speech) แต่เป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์และวิจารณ์กษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ซึ่งเป็นเสรีภาพในการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย โดยผู้พิพากษาทั้ง 7 คนลงมติเห็นชอบคำวินิจฉัยนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ พร้อมมีคำสั่งให้ศาลสเปนคืนเงินค่าปรับทั้งหมด รวมถึงจ่ายเงินชดเชยจำนวน 9,000 ยูโร (ประมาณ 327,000 บาท) ให้แก่จำเลยทั้ง 2 คน
คำวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปในครั้งนี้สร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายใหม่ให้สังคมสเปน เพราะนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา การประท้วงด้วยการเผารูปกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ถือว่าทำได้ตามหลักเสรีภาพในการแสดงออก ไม่มีความผิดฐานกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ รวมถึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ต่อต้านกบฎล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2558
2021-03-02
ประชาไท
ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในการประท้วงที่สเปน สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออก ไม่อาจตีความว่าเป็นการประทุษร้ายและแสดงความเกลียดชัง เป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรประบุว่าคำตัดสินของศาลสเปนในคดีเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ฆวน การ์ลอสที่ 1 และพระราชินีโซเฟีย ในการประท้วงที่เมืองกีโรนา ขัดต่อหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป และคำตัดสินดังกล่าวของศาลสเปนถือว่ามีนัยยะทางการเมือง
ย้อนกลับไปในเดือน ก.ย. 2550 ชายชาวสเปนจากแคว้นกาตาลุญญา 2 คน คือ อันริก สเติร์น และ เฆาเม่ โรอูร่า นำพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์ลอสที่ 1 และพระราชินีโซเฟียแห่งสเปนมาแขวนกลับหัวพร้อมจุดไฟเผาในการประท้วงซึ่งตรงกับช่วงที่ทั้ง 2 พระองค์เสด็จฯ เยือนประชาชนในเมืองกีโรนา ทางตะวันออกเฉียงของแคว้นกาตาลุญญา ซึ่งในขณะนั้น การเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนในแคว้นกาตาลุญญายังเป็นเพียงการเคลื่อนไหวกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น
หลังเหตุประท้วงดังกล่าว สเติร์นและโรอูร่าถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์ โดยทั้งคู่ถูกตัดสินจำคุก 15 เดือน ก่อนจะได้รับการลดโทษเหลือเพียงจ่ายค่าปรับคนละ 2,700 ยูโร (ประมาณ 98,000 บาท) ทั้งสเติร์นและโรอูร่าประสงค์จะยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลรัฐธรรมนูญของสเปนไม่รับเรื่อง ทำให้ทั้งคู่ต้องเปลี่ยนมายื่นเรื่องต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่มีเมืองสตราสบวร์ก ประเทศฝรั่งเศส โดยศาลฯ มีมติรับเรื่องไว้พิจารณาเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2558
ต่อมาในวันที่ 13 มี.ค. 2561 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีคำวินิจฉัยว่า การเผารูปกษัตริย์ไม่อาจตีความได้ว่าเป็นการกระทำที่มีจุดประสงค์เพื่อประทุษร้ายและแสดงความเกลียดชังต่อตัวของกษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศ นอกจากนี้ ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นการโจมตีโดยตรงต่อพระวรกายของกษัตริย์ และไม่ถือว่าเป็นการทุษร้ายด้วยวาจา (Hate Speech) แต่เป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์และวิจารณ์กษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ซึ่งเป็นเสรีภาพในการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย โดยผู้พิพากษาทั้ง 7 คนลงมติเห็นชอบคำวินิจฉัยนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ พร้อมมีคำสั่งให้ศาลสเปนคืนเงินค่าปรับทั้งหมด รวมถึงจ่ายเงินชดเชยจำนวน 9,000 ยูโร (ประมาณ 327,000 บาท) ให้แก่จำเลยทั้ง 2 คน
คำวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปในครั้งนี้สร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายใหม่ให้สังคมสเปน เพราะนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา การประท้วงด้วยการเผารูปกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ถือว่าทำได้ตามหลักเสรีภาพในการแสดงออก ไม่มีความผิดฐานกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ รวมถึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ต่อต้านกบฎล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2558
ผู้ประท้วงในแคว้นกาตาลุญญาเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์เฟลิเปที่ 6 เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 63
ภาพจาก RUPTLY
การประท้วงด้วยการเผารูปบุคคลสำคัญกลายเป็นเรื่องปกติในสเปน นับตั้งแต่แนวคิดการแบ่งแยกดินแดนของชาวคาตาลันยกระดับสู่การเคลื่อนไหวที่จริงจังยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ.2559 กลุ่มนักการเมืองจากพรรค CUP หรือพรรคการเมืองท้องถิ่นของแคว้นกาตาลุญญาซึ่งมีแนวคิดซ้ายจัด พร้อมใจกันฉีกพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 กษัตริย์องค์ปัจจุบันของสเปน ระหว่างการแถลงข่าว เพื่อประท้วงที่อัยการสั่งฟ้องดำเนินคดีประชาชนที่ชุมนุมประท้วงด้วยการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์
เมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว กลุ่มผู้สนับสนุนกระบวนการแบ่งแยกดินแดนในแคว้นกาตาลุญญาออกมาประท้วงด้วยการเผาพระบรมฉายาลักษณ์กษัตริย์เฟลิเปที่ 6 เพียง 1 วันก่อนที่กษัตริย์เฟลิเปที่ 6 จะเสด็จฯ เยือนเมืองบาร์เซโลนา
ที่มา:
Burning King’s Picture Is Free Speech, European Court Warns Spain
Spanish King's Photos Burned In Barcelona Protest
Spanish King's Photos Burned In Barcelona Protest