วันจันทร์, มีนาคม 13, 2566

ชาวสุวรรณคูหา เดือด ค้านโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูน ฝากคำถามถึงกรมชลประทานและ สทนช.


ดาวดิน สามัญชน Daodin Commoners
1d
ชาวสุวรรณคูหา เดือด ค้านโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูน
หนองบัวลำภู ; วันที่ 14 มีนาคม ของทุกๆปี เป็นวันหยุดเขื่อนโลก ซึ่งทางเครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขงอีสาน ได้ติดตามนโยบายและผลกระทบจากการดำเนินการสร้างเขื่อนในภาคอีสาน พบว่า เขื่อนคือตัวปัญหาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของชุมชน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ชี มูน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม
นายมานิต อ่อนทาว อายุ 46 ปี ชาวบ้านสุวรรณคูหา กล่าวว่า ทางกลมชลประทานได้อธิบายถึงเรื่องที่กรมชลประทานและ สทนช. ใช้งบประมาณเยอะมากในการศึกษาและใช้เวลามากซึ่งไม่คุ้มทุน กล่าวได้ว่าโครงการนี้ยังส่งผลต่อ BCG หรืออุตสาหกรรมหมุนเวียนสีเขียวที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายที่ อาทิเช่น ขอนแก่น อุดร เป็นต้น ซึ่งจุดประสงค์ของโครงการนี้ใช้เพื่อภาคเกษตรนั้นไม่คุ้มค่า เนื่องจากโครงการผันน้ำโขงเลยชีมูนโดยแรงโน้มถ่วงนี้เป็นท่อคาดว่าคงไม่ได้ใช้เพราะเป็นของกรมชลประทาน และหากมีการใช้น้ำ กรมชลประทานอาจมีการเรียกเก็บเงินจากชาวบ้าน แล้วมีครั้งหนึ่งนายมานิต ได้ไปสอบถามกรมชลประทานที่โรงเรียนแห่งหนึ่งเกี่ยวกับน้ำที่มาท่วมที่บ้าน มันไม่ใช่น้ำจากแม่น้ำโขงที่เข้ามาท่วมมันคือ น้ำฝนที่ตกลงมาท่วมซึ่งในภาษาชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า น้ำสระหัวข้าว คือน้ำที่เข้ามาท่วมแล้วก็ลดลงภายใน 3-5 วัน แล้วถ้าหากโครงการนี้สามารถทำสำเร็จอำเภอสุวรรณคูหาก็คงเป็นทะเลถ้าเป็นเช่นนี้บ่งบอกถึงการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดีหรือการรวมศูนย์อำนาจการจัดการน้ำ ซึ่งก่อนกล่าวจบได้ฝากคำถามถึงกรมชลประทานและ สทนช. คือ
1. น้ำโขงที่มีคือ 80,000 ลบ.ม. แต่น้ำที่เข้าเขื่อน 30,000 ลบ.ม. แล้วอีก 50,000 จะทำอย่างไร
2. ดินที่ไม่ได้ใช้จากการขุดท่อจะนำไปใช้อย่างไร
3. น้ำที่มีเป็นทุนเดิม จำเป็นไหมต้องเอาน้ำโขงเข้ามา
4. น้ำที่มีเป็นทุนเดิม น้ำโขงจะแน่นอนไหม
ซึ่งทางกรมชลประทานและ สทนช. ได้ตอบคำถามแบบเรียงข้อไล่ตามลำดับ
1. กรมชลประทานจะใช้เกินแก้ปัญหาเรื่องน้ำ 50,000 ลบ.ม. ที่เกิดไม่ได้เข้าเขื่อน โดยจำนวนเงินที่ใช้แก้ปัญหาประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท
2. กรมชลประทานจะนำกองดินและกองหินที่เป็นชั้นนำมากองกันให้เป็นภูเขากองดิน
3. กรมชลประทานใช้การประมาณน้ำที่เอาน้ำโขงเข้ามาเพราะมีการร่วมมือจากจีนและลาวให้ปล่อยน้ำจากบนลงสู่ล่าง ส่วน สทนช กล่าวว่ามันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ไม่แน่นอนผสมรวมกับอากาศที่แปรปรวนทำให้ฝนไม่แน่นอนจึงเป็นความเสี่ยงที่รัฐพยายามจะควบคุมทำให้ไม่แล้ง
4. การผันน้ำเข้ามาจะมีการจัดการโดยใช้คลองและท่อควบคุมไม่ให้ท่วม
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้สอบถามกรมชลประทานและ สทนช. ว่า 1.น้ำที่ผันมาจากน้ำโขงผันมาจากไหน และ 2.ถ้าหากมีคลองชักน้ำแบบเปิดแล้วชาวบ้านที่มีที่นาอยู่พื้นที่ฝั่งตรงข้ามคลองจะทำเช่นไร ซึ่งทาง สทนช. ได้ตอบกลับตามลำดับ 1. ให้ดูพื้นที่โดยวางจากคลองผันน้ำในฤดูฝนและฤดูแล้ง 2. จะให้บริษัทที่ปรึกษากลับไปทบทวนผลกระทบและกลับไปปรับแนวคลองเพื่อให้เหมาะสมกับการสร้างคลองผันน้ำ สุดท้ายบริษัทที่ปรึกษาจะลงไปสำรวจพื้นที่อีกรอบ
นายอภิรัฐ มุกขะกัง อายุ 43 ปี ชาวบ้านสุวรรณคูหา กล่าวว่า จากที่ได้รับฟังข้อมูลจากกรมชลประทานและ สนทช. ในเรื่องของโครงการโขง เลย ชี มูน จะมีประโยชน์ต่อชาวบ้านในจังหวัดเลย และสุวรรณคูหา ทำไมต้องเสียสละรับโครงการนี้แทนคนทั้งภาคอีสานในเมื่อต้องเสียแล้วต้องให้ชาวเลยได้ใช้น้ำฟรีสิ
และที่ดิน สปก. ถึงเวรคืนที่ดินจึงได้นิดเดียว ทำไมถึงไม่เปลี่ยนที่ดิน สปก. ให้เป็นโฉนดให้ชาวบ้านสุวรรณคูหา หรือพื้นที่ป่าไม้ไม่ให้เป็นโฉนดให้แก่ชาวบ้านเมืองเลย แล้วเมื่อเลยหรือเชียงคาน
สทนช. กล่าวกับนายอภิรัฐ ว่า ท่อน้ำนื่อคืออยู่ใต้ดินตรงบริเวณภูเขาดินที่ 1 คือ เลยได้รับประโยชน์ และกรมชลประทานบอกว่ายุ่งแค่ป่าไม้กับภูเขา ส่วนสุวรรณคูหาเป็นคลองเปิดชาวบ้านสุวรรณคูหาได้รับประโยชน์อยู่แล้ว ส่วนเรื่องจะต้องชำระเงินเรื่องค่าใช้จ่ายน้ำกรมชลประทานจะชำระให้อยู่แล้วแต่ถ้าไม่ใช่ฤดูหน้าการเกษตร กรมชลประทานจะเก็บเงินจากชาวบ้านในราคาน้ำหน่วยละ 8 บาท และหากโครงการฯ เสร็จสมบูรณ์ถ้าเกษตรกรต้องการใช้น้ำชลประทานก็จะไม่ขายให้
นายสิริศักดิ์ สะดวก อายุ 43 ผู้ประสานงานเครือข่ายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน กล่าวว่า ผลกระทบจากโครงการที่เคยเกิดขึ้นที่น้ำชี
ปัญหาจากเขื่อนที่ส่งผลกระทบอย่างวงกว้างต่อชาวบ้านริมน้ําชี
1. น้ําท่วม
2.เปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ํา ผลกระทบจากเขื่อนน้ําชี
- ด้านสังคม
1. โยกย้ายไปทํางานต่างถิ่นเพิ่มขึ้น
2. เดินทางลําบาก
3. ผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน
4. ชุมชนบางหมู่บ้านถูกน้ําท่วม
5. อพยพขึ้นไปอยู่บนพนัง
- ด้านเศรษฐกิจ
1. อาชีพทํานาปีเปลี่ยนแปลงเพราะถูกน้ําท่วมพื้นที่การเกษตร นาน 3-4 เดือน
2. อาชีพเลี้ยงวัวและควาย เพราะไม่มีพื้นที่เลี้ยง
3. หนี้สินเพิ่มขึ้น
4. ปลาบางชนิดเริ่มสูญพันธุ์
- ด้านวัฒนธรรม
1. บุญกุ้มข้าวใหญ่เปลี่ยนไป
2. วิถีดํานาหายไป
3. วิถีเกี่ยวข้าวหายไป
- ด้านทรัพยากร
1. ป่าบุ่ง/ป่าทามหดหาย
2. ทิศทางไหลของน้ําชี , ห้วย , กุด เปลี่ยนไป
3. สมุนไพร/พันธุ์พืช/ปลา/กบ/หอย/สัตว์/แมลง บางชนิดหายไป
4. ตลิ่งพัง/ทรุด
ในระยะเวลากว่า 30 ปี ชาวบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำต้องย้ายที่อยู่ ชุมชนแตกสลาย สูญเสียที่ดินทำกิน ปัญหาที่กล่าวมากลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากหน่วยงานภาครัฐแต่อย่างใด ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบต้องลุกขึ้นมาชุมนุม ประท้วง เพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานรัฐจนถึงวันนี้
ดังนั้น ทางเครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขง จึงมีข้อเสนอดังนี้
1. 14 มีนาคม วันหยุดเขื่อนโลก เอาเขื่อนออกไป เอาระบบนิเวศคืนให้ชุมชน
2. ไม่เอาโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูน (กระบวนการรับฟังความคิดเห็น EIA ฉบับ Zoom)
3. ต้องสนับสนุนรูปแบบการจัดการน้ำที่หลากหลาย ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่
4. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเขื่อนเก่า โดยเฉพาะโครงการโขง ชี มูน