วันศุกร์, มีนาคม 03, 2566

สร้างส้วมก่อน สร้างวัดที่หลัง


Ekkarin Tuansiri
12h
สร้างส้วมก่อน สร้างวัดที่หลัง (Toilet first Temple later)
คุณ อนิตา (Anita Narre) หญิงสาวชาวอินเดียได้แต่งงานและย้ายเข้าไปอยู่บ้านสามีได้เพียงแค่สองวัน จึงตัดสินใจกลับบ้านตัวเอง เพราะที่บ้านสามี "ไม่มีส้วม" เพราะจะไม่กลับไปบ้านสามี หากไม่มีส้วมให้เธอ
คนอินเดียสมัยก่อนและบางส่วนในปัจจุบัน เชื่อกันว่าไม่ควรมีห้องน้ำอยู่ในบ้าน เพราะเป็นสิ่งไม่มงคล ทำให้หลายบ้านไม่มีห้องน้ำเลย คนส่วนใหญ่ก็ไปขับถ่ายพื้นที่สาธารณะด้านนอก ซึ่งสำหรับผู้ชายแล้ว อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ลำบาก
แต่สำหรับผู้หญิงแล้ว การไม่มีห้องน้ำที่บ้าน ทำให้ผู้หญิงเกิดโรคลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร และโดนงูกัดบ่อย ๆ เพราะต้องกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไว้ไปขับถ่ายช่วงกลางคืน หรือช่วงเช้ามืด ก่อนแสงตะวันโผล่บนขอบฟ้า
ความน่าสนใจคือ คำอธิบายของอาจารย์ชัยวัฒน์คือ เรื่องนี้เป็นเรื่องความ"รุนแรงวัฒนธรรม" ที่ส่งต่อผู้หญิง โดยการยึดถือวัฒนธรรมความเชื่อที่ว่า การมีส้วมอยู่ที่บ้านเป็นสิ่งอัปมงคล และเป็นหนุนเสริมให้ระบบโครงสร้างสาธารณสุขของประเทศไม่ขยับเรื่องนี้ ทำให้คนอินเดียวจำนวนมาไร้ส้วม แง่มุมที่อาจารย์ชวนให้คิดทุกครั้งเวลาเรียนคือ การพยายามมองให้เห็นถึงอำนาจที่ซุกซ่อนอยู่ที่ต่าง ๆ และเผยให้เห็นออกมา ว่าหน้าตาของอำนาจเป็นอย่างไร
จนนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย ประกาศนโยบาย สร้างส้วมก่อน สร้างวัด (Toilet first Temple later)ให้ประชาชนมีการสร้างส้วมเป็นของตัวเอง
อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้หยิบยกเรื่องนี้มาอธิบายในคลาสวิชา ร.624 สัมมนาความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมือง ( 2 มีนาคม 2566)
โดยเล่าว่า บ้านญาติอาจารย์ชัยวัฒน์ ที่อินเดีย เป็นบ้านชั้นเดียวแต่แถวยาว มีห้องหับเป็นช่อง ๆ แบ่งห้องต่าง ๆ และท้ายสุดของบ้านคือห้องน้ำอยู่ที่สวนหลังบ้าน ซึ่งแกบอกว่าโชคดีหน่อยมีห้องน้ำ แต่ไม่ใช่กันทุกบ้าน
ป.ล. วันนี้เรียนสนุกเหมือนทุกๆสัปดาห์ มีเพื่อนร่วมคลาสนักศึกษาปริญญาโท คนหนึ่งที่ไม่ต้องไปนั่งฟังศาล แต่เข้ามาเรียนด้วยกันทัน เพราะศาลเลื่อนการพิจาณาคดี ม.112 จากการอ่านแถลงการณ์หน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563
อยากจะพูดสั้นเหมือนกันว่า "สร้างความยุติธรรมก่อน สร้างชาติที่หลัง"