Sustarum Thammaboosadee
February 25
บทความล่าสุดของผมในมติชนรายสัปดาห์
"โดนดูดเงินออนไลน์ ทำไมประชาชนต้องรับผิดชอบฝ่ายเดียว"
.
เวลาเกิดปัญหาโอนเงินออนไลน์ บางรายอาจสูญเสียเงินหลักพัน หลักหมื่น เหยื่อหลายรายได้รับผลกระทบถึงเงินที่เก็บมาทั้งชีวิตต้องสูญไป
.
บางทีธนาคารก็บอกว่าเกินอำนาจรับผิดชอบในเรื่องนี้ ทำได้แต่อายัดบัญชีปลายทางและฟ้องร้องตัวอาชญากรตัวจริงต่อไป
.
คําถามแรก คือความหละหลวมของการปกป้องข้อมูลและระบบป้องกันภัยของธนาคาร
.
ทุกวันนี้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีค่ามีราคา เพราะมันไม่ได้หมายถึงแหล่งการจับจ่ายของลูกค้าอย่างเดียว
.
ข้อมูลยังเป็นทุนสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ดังนั้น ข้อมูลจึงถูกซื้อขายแลกเปลี่ยนทั้งถูกต้องตามกฎหมาย สีเทาๆ หรือกระทั่งสีดำ
.
ข้อมูลของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นทางระบบออนไลน์ ระบบโทรศัพท์ถูกส่งต่อให้บริษัทการตลาดที่ถูกต้องบ้าง หรือมีการรั่วไหลอย่างมากโดยตั้งใจ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่สามารถตัดสินเรื่องนี้ได้
.
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ที่เราตั้งคำถามอยู่ตลอดว่า "มิจฉาชีพพวกนี้" รู้จักเบอร์เราได้อย่างไร มีข้อมูลได้อย่างไร ซึ่งไม่ได้เกิดจากการใช้งานของเราเพียงอย่างเดียว
.
เพราะเราเองก็มักได้รับข้อเสนอจากทางบริษัทประกัน ธนาคาร ค่ายมือถือ ที่เราไม่ได้รับการร้องขอหรือเกี่ยวข้องทางออนไลน์เสมอ
.
จุดนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่ปลอดภัยของการใช้ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่เราต้องได้รับการปฏิบัติ ในฐานะสิทธิส่วนตัวพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านอื่นๆ
.
ความลอยตัวของธนาคารและเจ้าหน้าที่รัฐ?
.
อ่านต่อ
https://www.matichonweekly.com/column/article_644075
.....
Thanapol Eawsakul
20h
บันทึกไว้หน่อยครับมี SMS จากเบอร์โทร 0947765633
ส่งเข้ามาเรื่องธนาคารอนุมัติวงเงินแล้วมีลิงค์ให้กดด้วย
ถ้ากดไปก็คงเป็นมิจฉาชีพดูดเงิน
คำถามก็คือเมื่อมีหมายเลขโทรศัพท์ชัดเจนขนาดนี้
องค์กรอย่าง กสทช. ที่มีเงินจากการประมูลคลื่นมือถือ คลื่นความถี่ หลักแสนล้าน
ไม่คิดจะทำอะไรหรือครับ