ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่พบ #ซีเซียม137 เคยมีการตรวจพบการลักลอบขน #ซีเซียม137 เตรียมส่งออกจากท่าเรือแหลมฉบังมาแล้ว จึงเป็นคำถามตัวโตๆว่ายังมีวัตถุอันตราย วัสดุกัมตรังสีที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมตะวันออกอีกจำนวนเท่าไหร่ที่มีผลอันตรายต่อผู้คนสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม pic.twitter.com/paE4ukyBXx
— Bencha Saengchantra (@BenchaMFP) March 20, 2023
พบกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ลักลอบส่งออกในตู้คอนเทนเนอร์ท่าเรือแหลมฉบัง
14 พ.ย. 2561
Work Point Today
เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ซีเซียม-137 กัมมันตรังสีผิดกฎหมาย น้ำหนัก 200 กรัม ในตู้คอนเทนเนอร์ที่แหลมฉบัง แจ้งประเทศปลายทางอินเดีย พร้อมดำเนินคดีผู้ส่งออก
เมื่อวันที่ 13 พ.ย.61 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (สทบ.) ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) และ สถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับการตรวจจับวัสดุกัมมันตรังสีผิดกฎหมาย ซึ่งศุลกากรได้ตรวจพบตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าเพื่อส่งออกประเทศปลายทางอินเดีย ผ่านทางท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ปส. โดยละเอียดพบวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม – 137 (Cs-137) น้ำหนักประมาณ 200 กรัม และ เจ้าหน้าที่ สทน. ได้ทำการเก็บกู้ซีเซียม-137 ซึ่งกำกับดูแลความปลอดภัยโดย ปส. เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป ยืนยันกับประชาชนว่าไม่มีสารอันตรายตกค้างในพื้นที่
โดยศุลกากรได้ตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าหมายเลข INLU2105838 ตามใบขนสินค้าขาออกเลขที่ A018-1610906119 สำแดงสินค้าประเภทเศษอลูมิเนียม น้ำหนัก 26,340 KGM ประเทศปลายทางอินเดีย โดยตู้สินค้าดังกล่าวผ่านการตรวจสอบโดยอุปกรณ์ Radiation Portal Monitor (RPM) พบการแผ่รังสีเกินกว่าค่ามาตรฐานจึงไม่สามารถรับบัตรผ่านเข้าทำเนียบท่าเรือเพื่อนำตู้คอนเทนเนอร์สินค้าเข้าวางเพื่อรอส่งออกได้ จึงต้องนำตู้คอนเทนเนอร์สินค้าดังกล่าวมาตรวจสอบยังสถานีตรวจสอบขั้นที่ 2 (Secondary Inspection Station)
การตรวจสอบสารกัมมันตรังสีโดยอุปกรณ์ Spectroscopic Portal Monitor (SPM) ณ สถานีตรวจสอบขั้นที่ 2 (Secondary Inspection Station : SIS) พบการแผ่รังสีของ ซีเซียม- 137 (Cs-137) และได้ใช้อุปกรณ์ตรวจวัดกัมมันตรังสีแบบมือถือ เพื่อยืนยันผลการตรวจสอบในตู้สินค้า
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedures) โดยได้ทำการประสานงานกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และปฏิบัติตามคำแนะนำโดยนำตู้คอนเทนเนอร์สินค้าดังกล่าว ไปอายัดไว้บริเวณ Safety Zone จากนั้นได้ดำเนินการแจ้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทราบถึงการตรวจพบ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง, สำนักงานควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล กรมเจ้าท่า ผู้ส่งออก และท่าเรือ B4
จากการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าว ตรวจพบ วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม – 137 (Cs-137) น้ำหนักประมาณ 200 กรัม โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ส่งมอบให้ สทน. เก็บรักษาเพื่อความปลอดภัยและรอการดำเนินการขั้นต่อไป
กรณีที่ตรวจพบเป็นการพยายามส่งออกซึ่งวัสดุกัมมันตรังสีโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดตามมาตรา 202 และ 244 ประกอบมาตรา 252 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร และมาตรา 76 ประกอบมาตรา 78 และ 79 แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ จึงดำเนินคดีกับผู้ส่งออก
สำหรับคุณสมบัติทางรังสี ของซีเซียม-137 ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ เครื่องวัดการไหลของของเหลว ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีเพื่อรักษามะเร็ง
2)ของเสียอันตรายที่ต้องถูกส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง สูญหายกลายเป็นลักลอบนำไปทิ้งมากกว่าปีละเกือบล้านตัน ชาวบ้านตะวันออกเขาได้รับผลกระทบจากกากสารเคมีอุตสาหกรรม ที่ปนเปื้อนในดิน น้ำ ไม่มีแม้อากาศสะอาดให้หายใจมายาวนานแล้ว #ซีเซียม137
— Bencha Saengchantra (@BenchaMFP) March 20, 2023
55555 นักข่าวถามว่า #ซีเซียม137 นี่มันไปอยู่ที่โรงงานได้ยังไง ตำรวจก็นะ เหตุเกิดมา 3 อาทิตย์ แต่ก็ตอบว่า "ยังอยู่ในระหว่างสืบสวนสอบสวน" ละตอบแบบสีหน้าเนี่ยรู้เลยว่าโดนด่าแน่ๆ ก็โดนด่าไปแหละ สมควรแร้ว pic.twitter.com/jUGaJMjW3M
— 🌻dei (@webdevxp) March 20, 2023