วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 08, 2564

จับโกหกไทย "การจัดซื้อผ่าน COVAX จะทำให้ได้วัคซีนที่แพงกว่า" รัฐคิดว่าคนไทยกินหญ้า เหตุผลเดียวที่ไทยไม่เข้า #COVAX คือต้องการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทที่ไปทำสัญญาแบบทวิภาคีไว้ ต้องให้บอกชื่อเปล่า?


Pipob Udomittipong
12h ·

รบ.ไทยอ้างว่าที่ไม่สั่งวัคซีนโควิดผ่าน #Covax เพราะมี "ค่าธรรมเนียม" มากถึง 1.6 เหรียญ ซึ่งเท่ากับเกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของค่าวัคซีนที่ไทยซื้อตรงจาก #Astrazeneca

เป็นการโกหกแบบหน้าด้าน ๆ อีกครั้งหนึ่ง ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจากบุคลากรด้านสาธารณสุข เสียชื่อหมอหงวนมาก
มันเป็นไปไม่ได้หรอก กลไกนี้มีปท.ที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 170 ปท. แบ่งเป็นปท.รายได้ต่ำ+ปานกลาง 92 ปท.รายได้สูง 78 ถ้ามันเฮงซวยจะมีปท.เข้าร่วมเยอะแยะมากมายอย่างนี้หรือ ถ้ามันเฮงซวย #Unicef จะตกลงทำสัญญาจัดซื้อวัคซีนผ่านกลไกนี้มากถึง 1.1 พันล้านโด๊สหรือ
 
มันเป็นกลไกที่ช่วยเกลี่ยให้ทุกปท.เข้าถึงการรักษา ไม่ว่าจะเป็นปท.ร่ำรวยหรือยากจน ควรมีโอกาสเข้าถึงยาทั้งหมด เพราะไม่มีปย.ที่ปท.รวยจะเข้าถึงเท่านั้น เพราะโรคจะไม่หายไป
 
เหตุผลเดียวที่ไทยไม่เข้า #COVAX คือต้องการเอื้อประโยชน์ให้บางบริษัทที่ไปทำสัญญาแบบทวิภาคีไว้ ต้องให้บอกชื่อเปล่า?


Saiseema Phutikarn
22h ·
<ด้านหน้ากล้ามาก ที่แปลคำว่า "Upfront Payment"เป็น "ค่าธรรมเนียม">
 
อธิบายเหตุผลว่า ข้อ 1. การสั่งผ่าน Covax มี "ค่าธรรมเนียม" แล้วก็อาศัยความด้านหน้ากล้ามากแปลคำว่า "Upfront Payment" เป็นค่าธรรมเนียม 1.6$ ... แค่นี้ก็ทำให้คนอ่านเข้าใจไปว่า ค่าธรรมเนียมที่ Covax จะคิดเพิ่มจากราคาวัคซีนนั้นคือ 1.6$ ซึ่งนั่นมันเกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของค่าวัคซีนที่ไทยซื้อตรงจาก Astrazeneca เลยนิหว๋า แล้วเราจะไปยอมจ่ายค่าหัวคิวให้ไอ้ Covax หน้าเลือดนี่มันกินเปล่าทำไม ... ใช่ไหม?

สธ คงคิดว่า มันจะมีคนไทยสักกี่คนที่ขวนขวายไปอ่านคำอธิบายจากเว็บไซท์ Covax หรือถ้ามีคนไปอ่านมา คนไทยมันก็คงขี้เกียจ ไม่มีใครมาเสียเวลาอธิบายโต้แย้งหรอก ... ใช่ไหม?

ทั้งที่จริงแล้วไอ้เงินที่ต้องจ่ายตอนเซ็นสัญญา 1.6$ กับ 3.1$ (+0.4$ค่าประกันความเสี่ยง) มันก็คือ "ค่าจอง" หรือพูดภาษาซื้อบ้านซื้อรถก็คือ "เงินดาว" เหมือนกันนั่นแหละ ไม่ใช่ "ค่าธรรมเนียม" ... มันก็เหมือนกับเงินที่ สธ จ่ายให้ Astrazeneca ไป 3$ ต่อโดส หลังเซ็นสัญญาเมื่อเดือน พย 63 เป็นค่าจองซื้อวัคซีนนั่นแหละมันคือเงินดาวที่จ่ายค่าวัคซีนล่วงหน้าเหมือนกัน
https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained

สธ จะอ้างก็ควรอ้างไปตรงๆว่า ต้นทุนที่ Covax ประเมินมาจากวัคซีนหลายๆเจ้า จะอยู่ที่ประมาณ 11$ มันสูงว่าราคาที่ไทยซื้อจาก Astrazeneca (แล้วค่อยไปแกล้งลืมเรื่องที่จะซื้อ Sinovac ราคา 20$ ต่อโดส) ไม่ใช่มาแกล้งแปลผิดทำให้คนสับสนเข้าใจไปว่า Covax หน้าเลือดกินหัวคิวค่าธรรมเนียมโหดแบบนี้
***อัพเดต*** มีคนส่งบทความของไทยรัฐที่อธิบายเรื่อง COVAX ไว้ตั้งแต่วันที่ 30 มค 64 อย่างละเอียด ใครสนใจอ่านเพิ่มเติมตามนี้
https://www.thairath.co.th/news/politic/2022987

ข้อ 2. อธิบายว่าที่บอกว่าเลือกได้มันเลือกได้ไม่จริง เพราะถ้าเลือกไปแล้วรอบแลก รอบสองเปลี่ยนใจไม่เอาต้องเสียเงินจองทั้งหมด ซึ่งมันก็จริง แต่มันก็เหมือนกับที่ สธ ไปเซ็นสัญญากับ Astrazeneca ที่ก็ต้องจ่ายเงินจองพอๆกันคือ 3$ ต่อโดส (60% ของราคาวัคซีน) ให้บริษัทไปแล้วตั้งแต่เดือนแรกหลังเซ็นสัญญา ถ้าระหว่าง 7 เดือนที่รอวัคซีนทดลองผลิต เกิด สธ เห็นว่าวัคซีนของ J&J ดีกว่า แถมฉีดแค่โดสเดียวด้วย ราคาต่อคนก็จะพอๆกัน แถมสามารถจัดส่งได้เลย แล้วต้องการจะยกเลิกสัญญากับ Astrazeneca เขาจะยอมคืนเงินค่าจองให้?

ข้อ 3-4 อธิบายประมาณว่า ถ้าจองกับ Covax จะต่อรองเงื่อนไขไม่ได้ เพราะตอนนี้ความต้องการสูงกว่ากำลังการผลิตตลาดเป็นของผู้ขาย Covax เจรจามาได้อย่างไรไทยก็ต้องทำตาม สู้มาเจรจาตรงกับผู้ผลิตเองดีกว่า จะทำให้สามารถต่อรองราคา เงื่อนไขที่ดีกว่าได้ ...เฮ้ย เดี่ยวๆ ก็ตอนแรกบอกว่า "ตลาดเป็นของผู้ขาย" แต่กลับบอกว่า ไทยในฐานะผู้ซื้อรายจิ๋ว จะสามารถเจรจาได้เงื่อนไขดีกว่า Covax ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในโลก?... มันจะเป็นอย่างนั้นได้ ถ้าไม่ใช่ด้วยการจ่ายส่วน ก็ด้วยการขู่กรรโชก ซึ่ง Covax คงทำไม่ได้แน่ๆ

จริงๆเบื่อเรื่องวัคซีนมากแล้ว แต่เห็นที่ สธ ออกมาชี้แจงอย่างกับคนไทยกินหญ้าแบบนี้ก็อดไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_5896548