วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 05, 2564

ชาวพม่ารวมกลุ่มลงถนนชูป้ายประท้วงต้านรัฐประหารในมัณฑะเลย์ เลขาฯ ยูเอ็นวอนทั่วโลกร่วมกดดันกองทัพพม่า เพื่อให้ ‘รัฐประหาร’ ล้มเหลว


Secretary-General Antonio Guterres said Wednesday that the United Nations would work to mobilize key international actors to pressure Myanmar “to make sure” that the country’s military coup fails.


สำนักข่าวอาเซียน
10h ·

ชาวพม่ารวมกลุ่มลงถนนชูป้ายประท้วงต้านรัฐประหารในมัณฑะเลย์
.
รอยเตอร์ 4 ก.พ. - กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงชูป้ายและร้องตะโกนต่อต้านรัฐประหารในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่าในวันนี้ (4) ในการประท้วงบนถนนเป็นครั้งแรกเพื่อต่อต้านการยึดอำนาจของกองทัพในสัปดาห์นี้
.
ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่ปรากฏในสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กเผยให้เห็นชาวพม่าราว 20 คน รวมกลุ่มอยู่ด้านนอกมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มัณฑะเลย์ โดยป้ายประท้วงมีข้อความเขียนว่า “ประชาชนประท้วงต่อต้านรัฐประหาร”
.
“ผู้นำที่ถูกจับตัวไปของเรา ปล่อยตัวพวกเขาเดี๋ยวนี้ ปล่อยเดี๋ยวนี้” กลุ่มผู้ชุมนุมร้องตะโกน
.
กองทัพพม่าเข้ายึดอำนาจเมื่อวันจันทร์ (1) โค่นล้มนางอองซาน ซูจี ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเวลานี้ถูกควบคุมตัวและเผชิญกับข้อหานำเข้าอุปกรณ์สื่อสารผิดกฎหมาย จากข้อกล่าวหาว่าครอบครองเครื่องรับส่งวิทยุวอล์กกี้-ทอล์กกี้ 6 เครื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต
.
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลทหารมีประวัติการปราบปรามการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนอย่างนองเลือด.
.....

สำนักข่าวอาเซียน
16h ·

เลขาฯ ยูเอ็นวอนทั่วโลกร่วมกดดันกองทัพพม่า เพื่อให้ ‘รัฐประหาร’ ล้มเหลว
.
รอยเตอร์ 4 ก.พ. - อันโตนิโอ กูเตียร์เรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ให้คำมั่นวานนี้ (3 ก.พ.) ว่าจะรณรงค์ให้นานาชาติร่วมกันกดดันกองทัพพม่า “เพื่อให้การรัฐประหารครั้งนี้ล้มเหลว”
.
กองทัพพม่าได้จู่โจมเข้าควบคุมตัวนางอองซาน ซูจี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เมื่อเช้ามืดวันจันทร์ (1) โดยอ้างว่าทำไปเพื่อตอบสนองการทุจริตเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว พร้อมประกาศมอบอำนาจให้ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้กุมอำนาจบริหารบ้านเมือง และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี
.
“เราจะทำทุกวิถีทางเพื่อผนึกกำลังผู้เล่นสำคัญๆ และประชาคมโลก และสร้างแรงกดดันที่มากพอจะทำให้การรัฐประหารครั้งนี้ล้มเหลว” กูเตียร์เรส ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ “มันเป็นสิ่งที่รับไม่ได้จริงๆ หลังจากที่มีการเลือกตั้งไปแล้ว ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ผมเชื่อว่าไม่ได้มีอะไรผิดปกติ อีกทั้งยังมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านมานานพอสมควรแล้วด้วย”
.
การยึดอำนาจของกองทัพในครั้งนี้ทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยของพม่าถูกตัดขาดลงอย่างกะทันหัน และเรียกเสียงประณามอื้ออึงทั้งจากสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกอื่นๆ
.
ร่างญัตติประณามที่อังกฤษได้เสนอต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้ง 15 ประเทศ เรียกร้องให้กองทัพพม่าเคารพหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน รวมถึงคืนอิสรภาพให้แก่อองซาน ซูจี และบุคคลอื่นๆ ที่ถูกควบคุมตัวในทันที
.
อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงนี้จำเป็นจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ และนักการทูตเชื่อว่าคงจะต้องมีการขัดเกลาสำนวนภาษาให้ “นุ่มนวล” ลงอีก หากจะทำให้รัสเซียและจีนซึ่งเป็นชาติที่ปกป้องพม่าในเวทียูเอ็นมาโดยตลอดยอมร่วมมือด้วย
.
ล่าสุด ตำรวจพม่าได้ตั้งข้อหา ซูจี ฐานนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารผิดกฎหมายเมื่อวานนี้ (3)
.
“ถ้าเราจะกล่าวหาอองซาน ซูจีบางสิ่งบางอย่าง ก็คงจะเป็นเรื่องที่เธอใกล้ชิดกับกองทัพมากเกินไป, ปกป้องกองทัพมากเกินไป ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา” กูเตียร์เรส ระบุ
.
ปฏิบัติการกวาดล้างชาวโรฮิงญาที่รัฐยะไข่เมื่อปี 2017 ทำให้มีชาวโรฮิงญามากกว่า 700,000 คนอพยพหนีตายข้ามไปยังบังกลาเทศ และปัจจุบันคนเหล่านี้ก็ยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่แออัด
.
กูเตียร์เรส และชาติตะวันตกกล่าวหากองทัพพม่าว่ากระทำการอันเข้าข่ายกำจัดชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) ทว่ากองทัพพม่ายืนกรานปฏิเสธมาโดยตลอด
.
เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นเน้นย้ำว่า กองทัพพม่าจะต้องปลดปล่อยบุคคลที่ถูกควบคุมตัวระหว่างการทำรัฐประหารทันที และฟื้นฟูกฎระเบียบภายใต้รัฐธรรมนูญ
.
“ผมหวังว่ามันคงเป็นไปได้ที่เราจะทำให้กองทัพพม่าเข้าใจว่า นี่ไม่ใช่วิธีปกครองประเทศ และไม่ใช่หนทางที่จะก้าวไปข้างหน้า”.
.....
ข่าวเกี่ยวข้อง
'Unacceptable' Myanmar Coup Must Fail, UN Chief Says