วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 07, 2564

รัฐบาลเฮงซวย เห็นภาพพี่น้องคนจน ต้องต่อคิวเพื่อรับเงินซื้อของจากบัตรคนจนแล้ว นึกสงสาร จนแล้วยังไม่มีศักดิ์ศรี แทนจะโอนเงินเข้าให้คนได้ไปทำงาน หรือทำประโยชน์อื่น เช่นดูหลานให้ลูกไปทำงาน แต่กลับต้องมาต่อคิวโง่ๆ เพื่อรอรับเงิน


Mark Ryder
4h ·
เห็นภาพพี่น้องคนจน ต้องต่อคิวเพื่อรับเงินซื้อของจากบัตรคนจนแล้ว นึกสงสาร จนแล้วยังไม่มีศักดิ์ศรี แทนจะโอนเงินเข้าให้คนได้ไปทำงาน หรือทำประโยชน์อื่น เช่นดูหลานให้ลูกไปทำงาน แต่กลับต้องมาต่อคิวโง่ๆ เพื่อรอรับเงิน รัฐบาล ฮซ
.....

CARE คิด เคลื่อน ไทย
9h ·

จาก "30 บาทรักษาทุกโรค" สู่ "คนไทยไร้จน"
.
............................................................
ภารกิจ (สร้างสันติภาพ) ทั้งหมดนี้จะไม่สิ้นสุดใน 100 วันแรก หรือจะไม่สิ้นสุดใน 1,000 วันแรก หรือในวาระของรัฐบาลชุดนี้ หรือแม้ชั่วชีวิตของเราบนโลกใบนี้...แต่ขอเรามาเริ่มต้นลงมือกันเถิด
- จอห์น เอฟ เคนเนดี้
วันที่ 20 มกราคม 2504
............................................................
.
กลางปี 2563 ผมได้รับคำถามจากผู้สื่อข่าวต่างประเทศหลายสำนักว่า อะไรคือเคล็ดลับแห่งความสำเร็จของไทยในการควบคุมโควิด-19
.
แน่นอน ผมตอบไปในทันทีว่า ไม่ใช่ผลงานของ ศบค.และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างที่รัฐบาลมักอวดอ้าง
.
แต่เป็นเพราะปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญ ซึ่งนอกเหนือจาก อากาศร้อน แสงยูวี วัฒนธรรมไทยที่ไม่คุ้นชินกับการสัมผัสโอบกอด และความร่วมมือในการ "ใส่หน้ากาก ล้างมือ กินร้อน ช้อนส่วนตัว" ของประชาชนทุกคนแล้ว
.
"อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)" กว่า 1 ล้านคนที่เอาจริงเอาจังในการป้องกันและควบคุมโรค ก็คืออาวุธลับอีกชิ้นหนึ่งที่ทรงอานุภาพ ควบคู่ไปกับ "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นโล่กำบังใหญ่คอยคุ้มภัยจากโรคระบาด
.
เพราะเมื่อมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การขยายการตรวจคัดกรองจึงทำได้อย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้เสี่ยงสัมผัสโรคไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจ และหากพบผลบวกก็เข้ารับการรักษาฟรีได้ทันที ทำให้เราพบผู้ป่วยแต่เนิ่นๆ ตอนอาการยังไม่รุนแรง แล้วเริ่มการรักษาที่จำเป็นได้เลย ลดอัตราการป่วยหนักและการเสียชีวิต รวมทั้งลดเวลาที่ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตกค้างและยังแพร่ระบาดในชุมชน
.
และเมื่อผมค้นข้อมูลในระดับโลก ก็พบว่า หากเปรียบเทียบประเทศที่มีระดับเศรษฐกิจใกล้เคียงกันและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ดีกว่าประเทศที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
.
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงเปล่งศักยภาพให้เห็นอย่างชัดเจนยามเผชิญวิกฤตโรคระบาดยิ่งกว่าในภาวะปกติ
.
อย่างไรก็ตาม โควิด-19 ไม่เพียงมีอำนาจทำลายล้างชีวิตคนไปแล้วกว่า 2.3 ล้านคน แต่คนอีกนับพันล้านคนยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงไม่แพ้กัน
.
คนตกงานทุกหย่อมหญ้า ธุรกิจปิดกิจการล้มระเนระนาด อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งสายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง พังพินาศยับเยิน
.
ความช่วยเหลือด้วยการเยียวยาจ่ายเงินระยะสั้นที่ทุกประเทศต่างดำเนินการนั้น เปรียบเสมือนเสื้อชูชีพให้คนจำนวนมากยังพอลอยคอกลางมหาสมุทรแห่งวิกฤตเศรษฐกิจได้เพียงช่วงเวลาหนึ่ง
.
แต่คำถามคือ คนทุกข์ยากทั้งหมดนั้นจะลอยคอต่อไปได้อีกนานเท่าไรกัน เพราะเงินเยียวยาระยะสั้นย่อมมีเวลาสิ้นสุด หลังจากนั้น พวกเขาจะตะเกียกตะกายต่อไปอย่างไร เพราะไม่มีใครรู้ว่า วันคืนแห่งชะตากรรมจากโควิด-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
.
ท่ามกลางมหาวิกฤตนี้เอง แนวคิดหนึ่งก็ผุดพรายขึ้นมาในระดับ "ปรากฎการณ์" ทั้งๆ ที่เคยมีการนำเสนอกันมานานขนาดนับย้อนไปได้ถึง 500 ปี สมัยเซอร์โธมัส มอร์ ผู้เขียนหนังสือ "ยูโทเปีย" ไล่เรียงมาถึงเมื่อ 2 ศตวรรษที่แล้ว ก็ถูกขยายความโดยโธมัส เพน ผู้เขียนหนังสือ Common Sense, มิลตัน ฟรีดแมน นักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของศตวรรษที่ 20, มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์, ริชาร์ด นิกสัน ส่วนในยุคปัจจุบัน อภิมหาเศรษฐีอัจฉริยะ อย่าง อีลอน มัสก์ และมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็ร่วมขบวนนำเสนอแนวคิดนี้ด้วย
.
แนวคิดที่ว่าคือ รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า หรือ Universal Basic Income (UBI) ซึ่งเป็นแนวคิดแห่งยุคสมัยและกำลังได้รับการถกเถียงกันมากที่สุด ด้วยอิทธิพลของโควิด-19
.
จากบทเรียนโควิด-19 สอนให้เรารู้ว่า "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)" เป็นกำแพงพิงหลังให้เราได้อย่างอุ่นใจ ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราต้องคิดกันอย่างจริงจังว่า ควรหรือไม่ ที่เราจะมี "UBI/รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า (คนไทยไร้จน)" เป็นเรือบดที่ช่วยให้คนไทยทุกคนประคองชีวิตกลางมหาสมุทรยามต้องเผชิญกับก้อนภูเขาน้ำแข็งยักษ์ทางเศรษฐกิจทั้งในวันนี้และวันหน้า เหมือนเรือบดที่ช่วยชีวิตผู้คนเมื่อครั้งเรือยักษ์อย่างไททานิคอับปางลงเพราะชน "ภูเขาน้ำแข็ง"
.
แต่ผมบอกได้เลยว่า เรื่อง UBI เมื่อเทียบเคียงกับเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น ยากกว่ามาก ยากยิ่งกว่าการเข็นครกขึ้นภูเขา และต้องใช้ความมุ่งมั่นยิ่งกว่าการฝนทั่งให้เป็นเข็ม เพราะจนบัดนี้ ยังไม่เคยมีประเทศใดทำสำเร็จอย่างยั่งยืนเลย
.
ที่ผ่านมา มีเพียงการวิจัยทดลอง หรือการทำในวงจำกัดทั้งพื้นที่และปริมาณประชากรที่เข้าร่วม ถึงวันนี้ ยังไม่มีรูปแบบที่รับประกันความสำเร็จ และไม่มีตัวอย่างการบริหารงบประมาณให้เรียนรู้
.
แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคที่ทำให้เราควรท้อถอย เพราะเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ก็ไม่เคยมีประเทศกำลังพัฒนาประเทศใดหาญกล้าริเริ่มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาก่อนเช่นกัน
.
ความสำเร็จของประเทศไทยเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค กลายเป็นต้นแบบที่ท้าทายความมุ่งมั่นของประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
.
ตอนเคนเนดี้ตัดสินใจส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ เขากล่าวว่า เขาตัดสินใจจะไปดวงจันทร์ให้ได้ภายใน 1 ทศวรรษ ไม่ใช่เพราะมันง่าย แต่เพราะมันยาก!
.
เคนเนดี้กล่าวปาฐกถาไปดวงจันทร์เมื่อ พ.ศ.2505 อีก 7 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2512 ยานอพอลโล 11 พานีล อาร์มสตรอง ลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ พร้อมกล่าววาทะแห่งประวัติศาสตร์ว่า "นี่คือก้าวเล็กๆ ของชายคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"
.
คนไทยไร้จน จะเป็นเพียงฝันเฟื่อง หรือสามารถเป็นเรื่องจริง จะเป็นเพียงลมปากของนักคิดนักฝันหรือจะเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญของสังคมมนุษย์...อยู่ที่พวกเราทุกคน
.
พบกับ Care Talk เรื่อง คนไทยไร้จน : ฝันเฟื่องหรือเรื่องจริง ถ่ายทอดสดทางเพจ Care คิดเคลื่อนไทย วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 13.30-16.30 น.
.
จุดประกายความฝันโดย : นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
.
#คนไทยไร้จน
#ฝันเฟื่องหรือเรื่องจริง
#คิดเคลื่อนไทย