@BadStudent_
·9h
"แต่งไปรเวทไปโรงเรียน" 17:39 - สี่แยกอุรุพงษ์
— นักเรียนเลว (@BadStudent_) November 30, 2020
นักเรียนลุยไฟ
สยามสแควร์ !
—#1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ #จะแต่งอะไรมันก็เรื่องของกู #นักเรียนเลว pic.twitter.com/nP7Evu8yZh
Sky walk ปทุมวัน ตอนนี้!
— นักเรียนเลว (@BadStudent_) November 30, 2020
——#1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ #จะแต่งอะไรมันก็เรื่องของกู #นักเรียนเลว pic.twitter.com/fq0UZw6MWv
"จะแต่งอะไรไปเรียนมันก็เรื่องของกู"
— นักเรียนเลว (@BadStudent_) November 30, 2020
16:42 - ประตูน้ำ
——#1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ #จะแต่งอะไรมันก็เรื่องของกู #นักเรียนเลว pic.twitter.com/J8ZlIMKFro
ทุกคนครับ แจงตามนี้นะครับผม https://t.co/YM38rk270H #1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ #hwfact pic.twitter.com/ISVe054UXA
— horwong movement (@hwmovemvnt) November 30, 2020
ประชาสัมพันธ์ สพฐ.
10h ·
สพฐ. แจงกรณีนักเรียนนัดใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียน 1 ธ.ค.
.
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียนได้เชิญชวนกันไม่แต่งชุดเครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนในวันที่ 1 ธันวาคม โดยให้แต่งชุดไปรเวทไปแทนนั้น ในเรื่องนี้นายอัมพรกล่าวว่า สพฐ. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นว่าควรปฏิบัติตามกฎระเบียบและกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการแต่งชุดเครื่องแบบนักเรียน รวมถึงลักษณะของเครื่องแบบนักเรียน วิธีการแต่ง เงื่อนไขในการแต่ง และการยกเว้นไม่ต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียน ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ซึ่งตนเห็นว่า เจตนารมณ์ของระเบียบนี้ไม่ได้ต้องการที่จะลิดรอนสิทธิเสรีภาพของนักเรียน แต่มองในเรื่องของความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพราะเมื่อใส่ชุดนักเรียนก็จะมีความแตกต่างจากบุคคลทั่วไป หากเกิดอันตรายขึ้นเครื่องแบบนักเรียนจะสามารถระบุได้ว่ามาจากโรงเรียนไหน ระดับชั้นอะไร อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างระเบียบวินัยผ่านเครื่องแต่งกาย ให้เด็กมีความรับผิดชอบแต่งกายให้ถูกระเบียบตามกฎกติกา เป็นการเริ่มต้นสร้างวินัยให้คนในชาติ
.
นายอัมพรกล่าวต่อไปว่า การแต่งเครื่องแบบยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำภายในโรงเรียน เพราะนักเรียนทุกคนได้แต่งเครื่องแบบที่เหมือนกัน ทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน เป็นการสร้างอัตลักษณ์และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งในแต่ละโรงเรียนมีเด็กที่มาจากครอบครัวที่แตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ หากมีกติกากลางที่ใช้ร่วมกันก็จะเป็นการสร้างวินัยให้อยู่ร่วมกันในสังคมโรงเรียนได้อย่างสงบสุข และส่งผลถึงการใช้ชีวิตในสังคมภายนอกต่อไป
.
ส่วนในเรื่องของการนัดกันแต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียนในวันที่ 1 ธันวาคมนั้น ตนเห็นว่าเป็นการเชิญชวนในลักษณะที่ยังไม่ได้มีการแก้ไขกฎระเบียบ ซึ่งเปรียบเสมือนเชิญชวนให้นักเรียนไม่ปฏิบัติตามกฎกติกา โดยส่วนตัวเชื่อว่านักเรียนมีวิจารณญาณได้เองว่าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือจะปฏิบัติตามคำเชิญชวนดังกล่าว ซึ่งหากต้องการแก้ไขกฎระเบียบในส่วนนี้ ตนเห็นว่านักเรียนมีสิทธิ์ที่จะเสนอความคิดเห็นหรือความต้องการที่ต่างจากกฎระเบียบเดิมได้ แต่ในการเสนอความคิดเห็นนั้นควรเข้าสู่กระบวนการแก้ไขกฎหมายตามระเบียบปฏิบัติ จึงจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ดังนั้นหากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ต้องนำเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงระเบียบ เมื่อปรับปรุงระเบียบเสร็จเรียบร้อยแล้วเสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วย และคนในประเทศเห็นชอบด้วย ก็เข้าสู่กระบวนการแก้ไข เมื่อแก้ไขกฎระเบียบแล้วก็ปฏิบัติตามได้ต่อไป
.
“ทั้งนี้ หากในวันที่ 1 ธันวาคม มีนักเรียนที่ไม่ใส่เครื่องแบบและใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียน เราคงไม่สามารถห้ามนักเรียนให้เข้าเรียนได้ ต้องให้เด็กเข้าเรียนตามปกติ แต่คุณครูต้องสอบถามสาเหตุของนักเรียนด้วยว่าทำไมจึงไม่ใส่เครื่องแบบ โดยดูก่อนว่าเกิดจากเหตุจำเป็นหรือเจตนาที่จะไม่ใส่ ซึ่งหากนักเรียนเจตนาไม่ปฏิบัติตามกฎ ก็มีระเบียบที่เกี่ยวกับบทลงโทษกำหนดไว้แล้ว คุณครูจะไปลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุไม่ได้เพราะจะเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ต้องเข้าใจว่าตอนนี้ทั้งครูและนักเรียนต่างมีกฎหมายคุ้มครองเหมือนกัน ทุกคนต้องทำตามกฎกติกา ไม่ใช่ว่าครูจะทำอะไรก็ได้แล้วนักเรียนทำอะไรไม่ได้เลย เพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมืองเหมือนกัน” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว