วันจันทร์, ธันวาคม 28, 2563

รู้หรือไม่ว่า งบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 4,256 ล้าน สามารถซื้อวัคซีนโควิดได้ 27.9 ล้านโดส ใช้ได้เกือบ 14 ล้านคน - โอยย ! ต้องสมพระเกียรติ​ขนาดไหนจ๊ะ ?!?



กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG
11h ·

แม้ว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา ประชาชนจะสามารถต่อสู้จนผลักเพดานให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันกษัตริย์ในที่เปิดเผยได้อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน แต่หนึ่งในสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดคือการที่รัฐสภายังคงไม่ตรวจสอบการตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์อย่างที่ควรจะทำ
.
โดยในปีงบประมาณ 2564 มีการตั้งงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่งบหน่วยงานของกษัตริย์เองไปจนถึงงบโครงการที่อ้างชื่อสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 37,228 ล้านบาท
.
ตัวอย่างรายการใช้จ่ายแรกจากหน่วยงานที่สำคัญที่สุดนั่นคือส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งเป็นการรวบเอาหน่วยงานทั้งพลเรือนและทหารไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของกษัตริย์โดยตรง หน่วยงานดังกล่าวขึ้นชื่อในเรื่องของการแทบจะไม่เปิดเผยรายละเอียดการใช้งบใดๆ ทั้งสิ้น (แม้กระทั่งในคณะกรรมาธิการพิจารณางบ ที่ตัวแทนหน่วยงานจะต้องมาชี้แจง แต่ส่วนราชการฯ กลับให้สำนักงบประมาณชี้แจงแทน และตัดการเผยแพร่เสียงการประชุม) ในปี 2564 รับงบประมาณถึง 8,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 1,295 ล้านบาท หรือเกือบ 17%
.
ต่อกันด้วยงบของกรมโยธาธิการในโครงการ "สนับสนุนกิจกรรมพิเศษหลวง" ที่มีสาระสำคัญคือการก่อสร้างในเขตพระราชฐาน 6 แห่งให้มีความมั่นคง มีมาตรฐานสูงสุด สวยงาม สมพระเกียรติ แล้วเสร็จและเป็นไปตามพระราชประสงค์ โดยตั้งวงเงิน 15 ปีไว้ถึง 21,438 ล้านบาท เฉพาะในปี 2564 รับงบประมาณไป 1,700 ล้านบาท
.
อีกตัวอย่างหนึ่งกับโครงการประเภท "เทิดพระเกียรติ" ที่มีอยู่ในสารพัดหน่วยงานใน 11 กระทรวงซึ่งรวมถึงกองทัพทุกเหล่า แต่ละหน่วยงานก็มักใช้ชื่อคล้ายๆ กัน เช่น "พิทักษ์รักษา เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และปฏิบัติตามพระราชประสงค์", "เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์", "เสริมสร้างความจงรักภักดี" โครงการเหล่านี้ในปี 2564 รับงบประมาณไป 1,261 ล้านบาท
.
นี่คือตัวอย่างบางส่วนของการตั้งงบประมาณที่น่าสงสัยหรือให้เหตุผลไม่ได้ว่าจำเป็นจริงๆ หรือกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งสามตัวอย่างนี้เป็นจำนวน 4,256 ล้านบาท
.
เราลองมาเทียบกับงบประมาณที่ใช้ในการสั่งจองและซื้อวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 ซึ่งรัฐบาลลงนามสัญญากับบริษัท AstraZeneca ไปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา
- วงเงินการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้า 2,379 ล้านบาท ใช้งบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19
- วงเงินจัดซื้อวัคซีนที่ได้จากการจองล่วงหน้าเมื่อคู่สัญญาสามารถจัดหาให้ได้สำเร็จ 1,586 ล้านบาท รับผิดชอบโดยกรมควบคุมโรค
- รวมทั้งหมดเป็นเงิน 3,965 ล้านบาทในการจองและซื้อวัคซีน 26 ล้านโดสสำหรับคนไทย 13 ล้านคน (ใช้คนละ 2 โดส) หรือคิดเป็นโดสละ 152.5 บาท
.
นั่นหมายความว่าเงิน 4,256 ล้านบาทที่ใช้กับเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างน่ากังขาถึงความจำเป็นและเหมาะสม สามารถใช้จองและซื้อวัคซีนเพิ่มเติมได้อีกเกือบ 28 ล้านโดสสำหรับคนไทยเกือบ 14 ล้านคน
.
ในสถานการณ์ที่หลายคนต้องสู้ชีวิตอย่างยากลำบาก ประเทศไม่ควรใช้เงินอย่างไม่รู้คุณค่าเพียงเพื่อให้สถาบันหนึ่งได้มีอำนาจหรือมีหน้ามีตาท่ามกลางคนที่เดือดร้อนนับแสนนับล้าน นี่คือเรื่องที่เราจะต้องผลักดันกันต่อไปในปีหน้า
.
https://prachatai.com/journal/2020/08/89306
https://www.bbc.com/thai/55097716